กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและรายละเอียดของโครงการ 1 ม.ค. 2563 23 มี.ค. 2563

 

วิธีดำเนินการ
1.จัดประชุมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมโครงการ และวางแผนเพื่อจัดกิจกรรม 2.ประชาสัมพันธ์ในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อรับสมัครเข้าร่วมโครงการ 3.จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานแก่ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 4.ประชาชนในแต่ละครัวเรือนร่วมกันดำเนินกิจกรรมพัฒนา ปรับปรุงทำความสะอาดบ้านเรือน ให้สะอาดถูกสุขลักษณะ ตามหลักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐาน 5.คัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ ประกาศผลการประกวดบ้านสะอาด มอบเกียรติบัตร

 

โครงการบ้านน่าอยู่ ชุมชนสะอาด ทำกิจกรรมต่างๆขอลบุคคลในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตและสภาพของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การทำงานที่รีบเร่งแข่งกับเวลา ทำให้ประชาชนละเลยต่อสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว และไม่มีการจัดการดูแลที่พักอาศัยที่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องของสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานในครัวเรือน เช่น ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การปรุงประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ น้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดและเพียงพอ การจัดการมูลฝอย น้ำเสีย รวมทั้งสัตว์และแมลงพาหะนำโรค หรือละเลยการสร้างพฤติกรรมกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ก็อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหารที่มีอาหารและน้ำเป็นสือ ไวรัสตับอักเสบ โรคไขเลือดออก เป็นต้น โรคต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการจัดการด้ารการสุขาภิบาลที่พักอาศัย การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องแหละเหมาะสม
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใสเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลบ้านเรือนให้สะอาดและปลอดจากโรค จึงได้จัดทำโครงการบ้านหน้าอยู่ ชุมชนสะอาดขึ้น เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการสุขาภิบาลที่พักอาศัย การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานในครัวเรือ ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกัน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งภายในบ้านและบริเวณบ้านโดยรอบ ให้ถูกต้องและเหมาะสม ตามหลักสุขาภิบาล รวมทั้ง สร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีตลอดจนการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน นับเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในครัวเรือน ให้มีความใส่ใจต่อสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ระดับครัวเรือนและขยายผลสู่ชุมชนต่อไป