กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

รวมพลัง ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รพ.สต. ควนโดน ปี 2563

คัดกรองภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทางตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด พร้อมทั้งประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk assessment) แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 130 คน23 กันยายน 2563
23
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.ควนโดน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

5.1 กิจกรรม คัดกรองภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทางตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด พร้อมทั้งประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk assessment) แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 130 คน
จากผลการดำเนินกิจกรรมมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการจำนวน 130 คน มีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นทาง ตา ไต เท้า หัวใจ สมอง และหลอดเลือด พร้อมอุปกรณ์ในการตรวจและคำอธิบาย กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจและร่วมมือเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังในเนื้อหา มีส่วนร่วมในกิจกรรมสันทนาการต่างๆ และมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค รวมทั้งแลกเปลี่ยนผลการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในปีนี้ของแต่ละคน และมีผู้ป่วยที่ดูแลตนเองได้ดี มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแนวทางการดูแลตนเอง เพื่อควบคุมโรคได้ ซึ่งการคัดกรองต่างๆในปีนี้ ได้รับการตรวจ ร้อยละ 100 ได้รับการส่งต่อ ไปยัง โรงพยาบาลควนโดน จำนวน 6 ราย ผลการ ตรวจไต ในผู้ป่วย ระยะที่ 1 จำนวน 44 คนคิดเป็นร้อยละ 33.85 ระยะที่ 2 จำนวน 64 คน คิดเป็นร้อยละ 49.23 ระยะที่ 3a จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 14.62 ระยะที่ 3b จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 2.31  ซึ่งได้ส่งต่อไปรับการรักษาต่อยังโรงพยาบาลควนโดน จากผลการตรวจผิดปกติ ไตอยู่ในระยะ 3b จำนวน 3 ราย ควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีจำนวน 2 ราย ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ไม่ดีจำนวน 1 ราย (ข้อมูลจากคลินิกโรคเรื้อรัง รพ.สต.ควนโดน)
ผลการตรวจตา ผลปกติ จำนวน 126 คน คิดเป็น ร้อยละ 96.92 ผลผิดปกติ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 3.08 ส่งต่อโรงพยาบาลควนโดน เพื่อลอกตา จากต้อกระจก ผลการตรวจเท้า ผลการตรวจเท้าเสี่ยงต่ำ จำนวน 113 คน คิดเป็นร้อยละ 86.92 เสี่ยงปานกลาง จำนวน 17 คน คิดเป็น ร้อยละ 13.08 และเสี่ยงสูง จำนวน 0 คน ร้อยละ 0 ซึ่งผลการตรวจร่างกายประจำปี 2563 นี้ ภาพรวม ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลการตรวจไต การตรวจตา และการตรวจเท้า ผลลัพธ์มีแนวโน้มเป็นที่น่าพอใจ ผลงานดีขึ้นกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมา ปี 2562 และผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อ มีจำนวนที่ลดลง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัด เกณฑ์ ปีงบประมาณ 2562 ปีงบประมาณ 2563      (ต.ค.62-ส.ค.63) จำนวน ร้อยละ จำนวน ร้อยละ จำนวนผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละ 40 20/38 52.63 19/35 54.29 จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 50 94/178 52.81 95/180 52.78 สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม กิจกรรมที่ 1 คัดกรองภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทางตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด พร้อมทั้งประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk assessment) แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 130 คน
จากผลการดำเนินงานในกิจกรรมนี้ สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ ผลการตรวจคัดกรองทางตา การตรวจตา การแปลผล จำนวน (คน) ร้อยละ หมายเหตุ ปกติ สามารถมองเห็นได้ปกติ 126 96.92
ผิดปกติ การมองเห็นมีปัญหา 4 3.08 รอตัดสินใจ รายละเอียดความผิดปกติ
ต้อกระจก เป็นต้อกระจก 4 100 รอตัดสินใจ ต้อหิน เป็นต้อหิน 0 0
รวม 130 100
ผลการตรวจคัดกรองเท้า
การตรวจเท้า การแปลผล จำนวน (คน) ร้อยละ หมายเหตุ เสี่ยงต่ำ ประสาทรับความรู้สึกปกติ 113 86.92
เสี่ยงปานกลาง ประสาทรับความรู้สึกเริ่มผิดปกติ ตั้งแต่ 1 จุดขึ้นไป 17 13.08
เสี่ยงสูง ข้อ 2 + มีแผลที่เท้า 0 0
รวม 130 100
ผลการตรวจคัดกรองทางไต การทำงานของไต ระยะ คำจำกัดความ จำนวน (คน) ร้อยละ หมายเหตุ มากกว่าหรือเท่ากับ 90 1 พบพยาธิสภาพที่ไต แต่ไต ยังทำงานปกติ 44 33.85
60 - 89 2 พบพยาธิสภาพที่ไต แต่ไต เริ่มทำงานผิดปกติ 64 49.23
30 - 59 3 ไตทำงานผิดปกติปานกลาง 3a=19,3b=3 14.61,2.31 3b ส่งต่อ รพ.ควนโดน 15 - 29 4 ไตทำงานผิดปกติมาก 0 0
น้อยกว่า 15 5 ไตวายระยะสุดท้าย 0 0
รวม 130 100
ผลการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD Risk assessment) (ข้อมูลเฉพาะผู้เข้าร่วมโครงการ)

โอกาสเสี่ยง ค่าที่ได้ การแปลผล จำนวน (คน) ร้อยละ หมายเหตุ สีเขียว น้อยกว่า 10% เสี่ยงต่ำ 72 55.38
สีเหลือง 10 - น้อยกว่า 20% เสี่ยงปานกลาง 38 29.23
สีส้ม 20 - น้อยกว่า 30% เสี่ยงสูง 13 10.00 เฝ้าระวังความเสี่ยง สีแดง 30 - น้อยกว่า 40% เสี่ยงสูงมาก 5 3.85 เฝ้าระวังความเสี่ยง สีแดงเข้ม มากกว่า 40 % เสี่ยงสูงอันตราย 2 1.54 เฝ้าระวังความเสี่ยง รวม 130 100
ค่าระดับความดันโลหิต (ข้อมูลเฉพาะผู้เข้าร่วมโครงการ)

ค่าระดับความดันโลหิต mmHg. การแปลผล จำนวน (คน) ร้อยละ หมายเหตุ
น้อยกว่า139/89 เสี่ยง สีเขียว 79 60.77
140-159/90-99 สูง สีเหลือง 42 32.31
160-179/100-109 สูงมาก สีส้ม 8 6.15 เฝ้าระวัง มากกว่า 180/110 สูงอันตราย สีแดง 1 0.77 เฝ้าระวังและส่งต่อ รวม 130 100

ค่าระดับน้ำตาลในเลือด (อดอาหาร 8 ชม.) (ข้อมูลเฉพาะผู้เข้าร่วมโครงการ) ค่าระดับน้ำตาลในเลือด Mg% การแปลผล จำนวน (คน) ร้อยละ หมายเหตุ น้อยกว่า 100 ปกติ สีขาว 56 43.08
101 - 125 เสี่ยง สีเขียว 42 32.31
126 - 154 สูง สีเหลือง 25 19.23
155 - 182 สูงมาก สีส้ม 5 3.84
มากกว่า 183 สูงอันตราย สีแดง 2 1.54 ส่งต่อ รพ.ควนโดน
รวม 130 100
จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มสีเขียว รองลงมาคือ สีเหลือง สีส้ม และกลุ่มที่เสี่ยงสูงอันตราย ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงที่มีภาวะเครียดที่ส่งผลต่อผลการตรวจ การไม่ได้ควบคุมเรื่องพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การขาดยา การไม่ได้ไปตามนัด การขาดการออกกำลังกาย บางรายยังมีการสูบบุหรี่อยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่  ท้าทายมาก ในการที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านี้ ให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสมกับโรค สามารถเปลี่ยนกลุ่ม จาก สูงอันตราย มาเป็นกลุ่มสีเขียวได้ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็น และมีสุขภาวะที่ดีต่อไป
ค่าระดับไขมันในเลือด Cholesterol ค่าระดับไขมันในเลือด การแปลผล จำนวน (คน) ร้อยละ หมายเหตุ น้อยกว่า 200 ปกติ 53 40.77
201 - 250 เริ่มสูง 46 35.38
251 – 300 สูงกว่าปกติ 28 21.54
มากกว่า 300 สูงมาก 3 2.31
รวม 150 100
ค่ารอบเอว ค่ารอบเอว (ซม.) การแปลผล จำนวน (คน) ร้อยละ หมายเหตุ ผู้หญิง
น้อยกว่า 80 ซม. ปกติ 34 26.15
มากกว่า 80 ซม. รอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน 66 50.77
ผู้ชาย
น้อยกว่า 90 ซม. ปกติ 11 8.46
มากกว่า 90 ซม. รอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน 19 14.62
รวม 130 100
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ จะมีระดับไขมันในเลือด น้อยกว่า 250 รองลงมาคือ 251-300 และน้อยที่สุดคือ มากกว่า 300 ผลที่ได้จากการตรวจร่างกายครั้งนี้ มีผลงานดีกว่าปีที่ผ่านมา กลุ่มเป้าหมายให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อน ในส่วนของรอบเอว ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเกินเกณฑ์มาตรฐาน ในเพศหญิง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้มากกว่ากลุ่มปกติ ซึ่งเป็นส่วนน้อย ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดเสี่ยง ลดโรค ลดภาวะแทรกซ้อน และเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ สำหรับเพศชายกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม อยู่ในกลุ่มปกติ คิดเป็น 8.46 และรอบเอวเกินมาตรฐาน ร้อยละ 14.62 ซึ่งผลที่ได้ มีความแตกต่างกันเล็กน้อย จึงยังต้องส่งเสริมเรื่องการออกกำลังกาย ควบคุมพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ พร้อมแนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดย ต้นแบบที่สามารถลดพุง ลดโรคได้ มาเป็นแบบอย่าง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน และสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง มีสุขภาพที่ดีขึ้นต่อไป