กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการจัดเวที/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารกองทุนฯ "กิจกรรมการคีย์ข้อมูลโครงการสู่ระบบกองทุนสุขภาพตำบล" ประจำปีงบประมาณ 2563

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และกลุ่มองค์กรประชาชนมีประสบการณ์ในการวางแผนด้านสุขภาพ เขียนโครงการ และคีย์ข้อมูลโครงการเข้าระบบได้
ตัวชี้วัด : หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และกลุ่มองค์กรประชาชนมีประสบการณ์ในการวางแผนด้านสุขภาพ เขียนโครงการ และคีย์ข้อมูลโครงการเข้าระบบได้
100.00

 

2 เพื่อให้หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และกลุ่มองค์กรภาคประชาชน รู้ระเบียบกฎเกณฑ์และสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมและวางแผนด้านสุขภาพ
ตัวชี้วัด : หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และกลุ่มองค์กรภาคประชาชน รู้ระเบียบกฎเกณฑ์และสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมและวางแผนด้านสุขภาพ
100.00

 

3 เพื่อให้หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และกลุ่มองค์กรภาคประชาชนสามารถเขียนโครงการตามหลักวิชาการได้ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : หน่วยบริการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข หน่วยงานอื่น และกลุ่มองค์กรภาคประชาชนสามารถเขียนโครงการตามหลักวิชาการได้ถูกต้อง
100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

องค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม ได้ดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ในการดำเนินกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ ตาม พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 “ตามมาตรา 47 เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนฯ “โดยได้รับการจัดสรรเงินสนับสนุนจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 45 บาท ต่อ ประชากร 1 คน และองค์การบริหารส่วนตำบลเนินงามจะต้องสมทบให้กองทุนฯ อีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของเงินจัดสรรจาก สปสช. เงินกองทุนฯ สามารถใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติมี 5 ประเภท ดังนี้ 1) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ เน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลเชิงรุก 2) เพื่อสนับสนุนให้องค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่นในพื้นที่ ดำเนินงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค 3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคการฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมเชิงรุก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน หรือศูนย์ชื่ออื่น เป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายรับของกองทุนฯ ในแต่ละปีงบประมาณ 4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ ให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของรายรับของกองทุนฯ ในแต่ละปีงบประมาณ และ 5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ซึ่งการจัดโครงการทั้ง 5 กิจกรรม ยึดถือปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และแนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น นั้น ซึ่งการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ที่มุ่งหวังในการตอบสนองความต้องการในด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ กลุ่มองค์กร และชุมชน หรือประชาชนในพื้นที่ ไม่มีประสบการณ์และความรู้ในการเขียนโครงการ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณของกองทุนฯ เป็นไปตามเจตนารมณ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพในการดูแลสุขภาพประชาชนให้ครบทุกองค์รวม โดยกำหนดให้มีเงินคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2562 ไม่เกินร้อยละ 10 จึงจัดทำโครงการจัดเวที/กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารกองทุนฯ “กิจกรรมการคีย์ข้อมูลโครงการเข้าสู่ระบบกองทุนสุขภาพตำบล” ให้กับกลุ่มต่างๆในตำบลขึ้น

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh