กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการสานพลังสตรี ร่วมใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2563 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ

ชื่อโครงการ โครงการสานพลังสตรี ร่วมใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2563

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-01-05 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 13 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสานพลังสตรี ร่วมใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2563 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสานพลังสตรี ร่วมใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2563



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสานพลังสตรี ร่วมใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2563 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 63-L6895-01-05 ระยะเวลาการดำเนินงาน 13 มกราคม 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 34,380.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 และ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย พบอัตราการเกิดโรคสูงในช่วงอายุ 30 - 50 ปี โดยทุกๆ 2 นาที จะมีผู้หญิงเสียชีวิต 1 คน มีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 7 คนต่อวัน เป็น 14 คน ต่อวัน โดยโรคมะเร็งเต้านม มีสาเหตุโดยตรงจากปัจจัยทางพันธุกรรม ส่วนมะเร็งปากมดลูกพบว่า ประมาณ 70% ของผู้ป่วยโรคนี้ มีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูกจากการติดเชื้อไวรัส HPV การป้องกันโรคมะเร็งเต้านม โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเอง หรือการตรวจเอ็กซเรย์ Mammogram ปีละ 1 ครั้งในกลุ่มเสี่ยง และการป้องกันมะเร็งปากมดลูก ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ซึ่งมีการคัดกรอง 2 วิธี คือ 1) Pap smear เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด เพราะใช้เวลา 2 - 5 นาที และรู้ผลภายใน 2 – 4 สัปดาห์ 2) VIA เป็นวิธีที่ง่าย ค่าใช้จ่ายต่ำ รู้ผลทันที ซึ่งปัญหาโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก  แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ดังนั้นหากสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก ก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง กอรปกับหญิงวัยเจริญพันธุ์กลุ่มเป้าหมายไม่ค่อยมารับบริการ ทั้งนี้เพราะสตรีเป็นเพศที่มีความละอายไม่กล้า และความอดทนที่มีอยู่นี้ก็อาจจะเป็นทั้งคุณและโทษในคราวเดียวกันได้ เช่น เมื่อมีความผิดปกติเกี่ยวกับเรื่องของอวัยวะเพศแล้วไม่กล้าพูด ไม่กล้าบอกใครถึงเจ็บปวดก็มีความอดทน  สิ่งนี้หากเป็นโรคร้ายก็อาจสายเกินแก้ที่ไม่สามารถช่วยได้ในภายหลัง สำหรับในเขตเทศบาลเมืองกันตัง  พบว่ามีผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม รวมจำนวน 39 รายเป็นรายใหม่ 2 ราย และผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก รวมจำนวน 19 ราย เป็นรายใหม่ 1 ราย ดังนั้น  การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จึงมีความสำคัญและจำเป็น แม้จะเป็นงานยากต่อการปฏิบัติ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อลดอัตราการเกิดโรคอัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายในเขตเทศบาลเมืองกันตัง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้แกนนำสตรี ได้รับความรู้โรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
  2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
  3. เพื่อให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อีกทั้งได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมให้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
  2. กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนำสตรีในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก มีทักษะสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งสามารถให้ คำแนะนำ/ติดตาม/ชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมคิดเป็นร้อยละ 90
  3. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคิดเป็นร้อยละ 20
  4. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่เหมาะสมร้อยละ 100

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 21 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน/ประเมินความรู้ก่อนอบรม
  • บรรยายเรื่อง โรคมะเร็งปากมดลูก
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง โรคมะเ็งเต้านมและสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • บรรยาย เรื่อง เทคนิคการเชิญชวนเข้าร่วมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • แบ่งกลุ่มฝึกปฎิบัติและประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 3 กลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชน จำนวน 100 คน ให้มีความรู้ และตระหนักถึงความสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก  อีกทั้งสามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเองและให้นำไปขยายผลต่อกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-70 ปี ในชุมชนได้ ในวันที่ 21 ม.ค.2563 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง
  2. ทดสอบความรู้ก่อน-หลังการอบรม ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ดังนี้

- ก่อนอบรม ได้แบบประเมินคืน 88 ชุด พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนสูงสุดอยู่ที่ 14 คะแนน จำนวน 2 คน 13 คะแนน จำนวน 5 คน 12 คะแนน จำนวน 17 คน 11 คะแนนจำนวน 27 คน 10 คะแนน จำนวน 21 คน 9 คะแนน จำนวน 10 คน 8 คะแนน จำนวน 2 คน 7 คะแนน จำนวน 4 คน - หลังอบรม ได้รับแบบประเมินคืน 81 ชุด พบว่า คะแนนสูงสุด 15 คะแนน จำนวน 9 คน 14 คะแนน จำนวน 13 คน 12 คะแนน  จำนวน 16 คน 11 คะแนน จำนวน 8 คน 10 คะแนน จำนวน 11 คน 9 คะแนน จำนวน 10 คน

 

100 0

2. กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. คัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปี
  2. คัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. หญิงอายุ 30-70 ปี กลุ่มเป้าหมายเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2563 จำนวน 136 ราย พร้อมให้สุขศึกษาและสาธิต แนะนำวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่กลุ่มเป้าหมาย
  2. เปิดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในวันหยุดราชการ แก่กลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในวันเวลาราชการได้ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายไ้เขาถึงการบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ในวันที่ 16,23 กุมภาพันธ์ วันที่ 15,29 มีนาคม 2563 ส่วนเดือนเมษายน 2563 ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จึงไม่ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก รวมผู้รับบริการในวันหยุดดังกล่าว จำนวน 35 ราย พร้อมป้ายเซลล์ส่งสไลด์ตรวจมะเร็งปากมดลูกส่งทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลตรัง รอรับผลส่งตรวจเพื่อส่งข้อมูลให้ผู้รับบริการต่อไป โดยค่าใช้จ่ายทางห้องปฎิบัติการเบิกจ่ายจากเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกันตัง
  3. บันทึกข้อมูลการให้บริการลงโปรแกรม HosXp_PCU พร้อมส่งข้อมูลเป็นแบบ E-Electronic file แก่สำนักงานสาธารณศุขอำเภอกัตัง
  4. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อใช้ในการรณรงค์คัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  5. ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการส่งต่อจากโรงพยาบาลกันตัง 2 ราย สรุปค่าใช้จ่ายในกิจกรรมที่ 2-3 รายละเอียดดังนี้
  6. ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ไวนิล จำนวน 12 ผืนๆละ 240 บ. เป็นเงิน 2,880 บาท
  7. ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานวันหยุดราชการ จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 6,720 บาท

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชนจำนวน 100 คนให้มีความรู้  และตระหนัก ถึงความสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก อีกทั้งสามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมได้ด้วยตนเองและให้นำไปขยายผลต่อกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-70 ปี ในชุมชนได้ ในวันที่ 21 มกราคม 2563 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง 2.ทดสอบความรู้ก่อน-หลังเข้ารับการอบรมซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก (คำถามแบบกากบาทหน้าข้อความ จำนวน15 ข้อๆ ละ 1 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 15 คะแนน) สามารถสรุปผลการประเมินได้ ดังนี้
    • ก่อนการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 88 ชุด พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 14 คะแนน จำนวน 2 คน รองลงมาคือ 13 คะแนน จำนวน 5 คน 12 คะแนน จำนวน 17 คน 11 คะแนน จำนวน 27 คน 10 คะแนน จำนวน 21 คน 9 คะแนน จำนวน 10 คน 8 คะแนน จำนวน 2 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 7 คะแนน จำนวน 4 คน จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 11 คะแนนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.38 รองลงมาคือ 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 23.86, 12 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 19.32, 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 11.37 ,13 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 5.68 , 7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 4.55 และ 14และ 8 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 2.2 ตามลำดับดังตาราง
    • หลังการอบรม ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน จำนวน 81 ชุด พบว่าผู้เข้าอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่ 15 คะแนน จำนวน 9 คน รองลงมาคือ 14 คะแนน จำนวน 13 คน  13 คะแนน จำนวน 14 คน 12 คะแนน จำนวน 16 คน 11 คะแนน จำนวน 8 คน 10 คะแนน จำนวน 11 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่ 9 คะแนน จำนวน 10 คน จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน 12 คะแนนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 19.75 รองลงมาคือ 13 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 17.28 , 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 16.05 , 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 13.58 , 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 12.35, 15 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 11.11 และ 11 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 9.88 ตามลำดับ -ประเมินทักษะแกนนำสุขภาพสตรีในการเข้ากลุ่มฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองสามารถ สรุปผลการประเมินทักษะได้ว่า แกนนำสุขภาพสตรีสามารถผ่านการประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
  2. หญิงอายุ 30-70 ปี กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก /มะเร็ง เต้านมในเดือนรณรงค์กุมภาพันธ์-มีนาคม 2563 จำนวน 136 ราย -ป้ายเซลล์ส่งสไลด์ตรวจมะเร็งปากมดลูกส่งทางห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลตรัง รอรับผลส่งตรวจ เพื่อส่งข้อมูลให้ผู้รับบริการต่อไป โดยค่าใช้จ่ายทางห้องปฏิบัติการเบิกจ่ายจากเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกันตัง -ให้สุขศึกษาและแนะนำวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่กลุ่มเป้าหมาย
    4.เปิดบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในวันหยุดราชการแก่กลุ่มเป้าหมาย ส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและปากมดลูกในวันเวลาราชการได้  เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงการบริการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ในวันที่ 16,23 กุมภาพันธ์ และ 15,29 มีนาคม 2563 มีผู้รับบริการจำนวน 35 ราย
  3. สรุปผลการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ตุลาคม 62 – กรกฎาคม63
    1. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี จำนวน 1795 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จำนวน 178 คน คิดเป็นร้อยละ 9.92 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการมี ดังนี้
    • ปกติ จำนวน 171 คน
    • ฝ่อ จำนวน  7 คน
    1. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-70 ปี จำนวน 2,478 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม จำนวน 2,407 คน คิดเป็นร้อยละ 97.13 ผลการตรวจมีดังนี้
    • ปกติ จำนวน 2,405 คน
    • ผิดปกติพบก้อน จำนวน 2 คน
    • ส่งต่อ จำนวน 2 คน ในรายที่พบความผิดปกติส่งต่อไปโรงพยาบาลกันตัง เพื่อรับการรักษาต่อไป
  4. ติดตามเยี่ยมบ้าน ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ จำนวน 2 คน เพื่อติดตามอาการและเสริมสร้างกำลังใจ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้แกนนำสตรี ได้รับความรู้โรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว
ตัวชี้วัด : 1. สตรีอายุ 30-60 ปี จำนวน 356 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 2. สตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 2,210 คน ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
0.00

 

3 เพื่อให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อีกทั้งได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมให้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 1. สตรีที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาจากแพทย์ทุกราย
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 100 100
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้แกนนำสตรี ได้รับความรู้โรคมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง (2) เพื่อค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว (3) เพื่อให้ผู้ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม อีกทั้งได้รับการดูแลติดตามเยี่ยมให้เข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (2) กิจกรรมรณรงค์ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสานพลังสตรี ร่วมใจป้องกันภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2563 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-01-05

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด