กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิค เพื่อสุขภาพชุมชนเกาะหมี ประจำปีงบประมาณ 2563

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิค เพื่อสุขภาพชุมชนเกาะหมี ประจำปีงบประมาณ 2563
รหัสโครงการ 63- L7255 – 02 -36
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมรักสุขภาพชุมชนเกาะหมี
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2562
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2563 - 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 31,940.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมรักสุขภาพชุมชนเกาะหมี โดย นางรัตติกร ขุนรงค์ ประธานฯ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประเด็น
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล
  1. ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน ขนาด 20.00
  2. ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน) ขนาด 20.00
  3. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์) ขนาด 15.00
  4. ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ขนาด 35.00
  5. ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ขนาด 35.00
  6. กิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ(กิจกรรม) ขนาด 1.00

การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งต่อการมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ รวมทั้งภูมิต้านทานโรค สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลของประชาชน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เข้าร่วมการออกกำลังกายได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ลดการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง มีสุขภาพทางกายและจิตที่ดีและห่างไกลยาเสพติดพร้อมทั้งเป็นการเสริมสร้างความรักความสามัคคีและสัมพันธภาพที่ดีต่อกันของสมาชิกในชุมชนและครอบครัวซึ่งที่ผ่านมาชุมชนเกาะหมีและพื้นที่ใกล้เคียงได้จัดกิจกรรมคัดกรองสุขภาพและพบว่า มีประชาชนในพื้นที่ ดัชนีมวลกายเกิน จำนวน16คนเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 18 คนเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 14คนและมีภาวะโรคอ้วน จำนวน 12คน ซี่งการส่งเสริมให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นเป็นทางเลือกที่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
คณะกรรมการชุมชนเกาะหมี เครือข่ายสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห และประชาชนชุมชนเกาะหมี ได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชนจึงได้มีการจัดประชุมปรึกษาหารือระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพแบบยั่งยืนเน้นการสร้างสุขภาพและเล็งเห็นว่ากิจกรรมการส่งเสริมการเพิ่มกิจกรรมทางกาย ในรูปแบบแอโรบิกการออกกำลังกายแบบยืดเหยียดเพื่อสุขภาพสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และหลอดเลือดสมอง ทางชุมชนจึงมีมติให้จัดตั้งกลุ่มชมรมรักสุขภาพชุมชนเกาะหมี เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิก เพื่อสุขภาพชุมชนเกาะหมี ปีงบประมาณ 2563 เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยและ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและเพิ่มกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งสร้างแกนนำในการออกกำลังกายของชุมชนเองโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินงานจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น
  2. เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
  3. เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน
  4. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
  5. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  6. เพื่อเพิ่มกิจกรรมที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการควบคุมยาเสพติด ทั้งด้านการป้องกัน การรักษาในระยะเริ่มต้น ถึงการรักษาแบบการถอนพิษยาและการดูแลไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการตามจุดสำคัญในชุมชน และรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  2. กิจกรรมการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิก
  3. อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ
  4. กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการตามจุดสำคัญในชุมชน และรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  5. กิจกรรมการออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิก
  6. อบรมให้ความรู้และประเมินสภาวะสุขภาพ
วิธีดำเนินการ
  1. ประชุมกรรมการชุมชนเกาะหมี เครือข่ายสุขภาพเทศบาลเมืองคลองแห และประชาชนชุมชน เพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการ

  2. ประชาสัมพันธ์ในชุมชนถึงการดำเนินโครงการ “โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายโดยการเต้นแอโรบิก เพื่อสุขภาพชุมชนเกาะหมี ประจำปีงบประมาณ 2563” และ รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ

  3. ประเมินสภาวะสุขภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน รอบเอว  ก่อน - หลัง ดำเนินโครงการ

  4. อบรมให้ความรู้ในเรื่องการออกกำลังกายที่ถูกวิธี และเหมาะสมกับวัย

  5. ดำเนินการออกกำลังกายทุกวันและต่อเนื่อง จัดให้มีผู้นำการออกกำลังกายมานำการออกกำลังกายที่ถูกวิธีใน เวลา 18.00 น. - 19.30 น. อย่างน้อยสัปดาห์ละ ไม่น้อยกว่า 3 วัน โดยมีผู้นำออกกำลังกายวันละ 1 คน

  6. บันทึกจำนวนผู้มาเข้าร่วมกิจกรรมทุกวัน

  7. ประเมินผลก่อน – หลังดำเนินโครงการโดยการประเมินสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดความเสี่ยงและอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
  2. ประชาชนในชุมชนมีกิจกรรมทางกายโดยการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆเพิ่มขึ้น