กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 2563 – L8010 – 1 - 04
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2562
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2562 - 31 สิงหาคม 2563
งบประมาณ 86,595.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์สุขภาพชุมชน โรงพยาบาลละงู
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ประเด็น
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

ชุมชน/ท้องถิ่นเป็นฐานหลักของสังคม แนวคิดการพัฒนาระดับชุมชนและท้องถิ่นให้เข้มแข็ง น่าอยู่ ปลอดภัย มีพัฒนาการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งด้านสังคม การศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม จะส่งผลให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดี และหากทุกชุมชน/ท้องถิ่นมุ่งมั่นดำเนินการอย่างกว้างขวาง ประเทศไทยก็จะพัฒนาอย่างมีทิศทาง เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดชุมชนจะเข้มแข็ง น่าอยู่ และพึ่งตนเองได้ ต้องอาศัยความรับผิดชอบ การเรียนรู้ ร่วมคิดร่วมทำ ตลอดจนอาศัยความร่วมมือและข้อมูลทางวิชาการจากหน่วยงานในท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับพฤติกรรมการผลิตและการบริโภคโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รักษาสิ่งแวดล้อม เน้นการพึ่งตนเอง เป็นสังคมเอื้ออาทร พึ่งพาอาศัยกันได้ และไม่ทอดทิ้งกัน หลักการสำคัญ คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน ให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รู้สึกเป็นเจ้าของ พึ่งตนเองด้านสุขภาพได้และเข้ามาร่วมช่วยเหลืองานด้านสาธารณสุข ทั้งด้านกำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มิได้หมายถึงชุมชนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการพัฒนา หากแต่หมายถึงประชาชนในชุมชนนั้น เป็นผู้ตระหนักถึงปัญหาของชุมชนของตนเป็นอย่างดี จึงเป็นผู้กำหนดปัญหาสาธารณสุขของชุมชนนั้นเองเป็นผู้วิเคราะห์ปัญหา ตลอดจนแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชน ทั้งนี้โดยชุมชนมีความสามารถในการแยกแยะได้ว่า วิธีการแก้ปัญหาใด ประชาชนในชุมชนสามารถแก้ไขได้วิธีการใดอยู่นอกเหนือความสามารถของชุมชน ก็ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคลหรือ องค์กรภายนอกเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา รูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนมีได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุข การคัดเลือกและฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) เพื่อให้บุคคลเหล่านี้เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมอนามัยของเพื่อนบ้านในชุมชน นอกจากนี้ ยังมีการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในงานสาธารณสุขด้วย เป็นเทคนิควิธีการที่ง่าย ไม่ซับซ้อน เหมาะสมกับแต่ละสภาพท้องถิ่น และประชาชนสามารถปฏิบัติได้ เทคนิควิธีการนี้หมายรวมตั้งแต่วิธีการค้นหาปัญหา ขบวนการในการแก้ไขปัญหา จนกระทั่งถึงเทคนิคในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง เทคนิคเหล่านี้ อาจเป็นภูมิความรู้ดั้งเดิมในชุมชนที่มีการถ่ายทอดในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของตนเองมาเป็นเวลาช้านานหรืออาจเป็นภูมิความรู้ใหม่ๆที่ชุมชนได้เรียนรู้เพิ่มเติมว่าเหมาะสมกับชุมชนในการแก้ปัญหา โดยมีกระบวนการจัดการอย่างเป็นขั้นตอนและอาศัยความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อให้เกิดหมู่บ้านที่มีการจัดการด้านสุขภาพได้ อันส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านเข้มแข็ง เป็นฐานสู่เมืองไทยแข็งแรง
พื้นที่ตำบลกำแพง เป็นชุมชนกึ่งเมืองและชนบท มีอัตราความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ค่อนข้างสูง ประชากร 18,282 คน12 หมู่บ้านปัญหาทางสุขภาวะที่เป็นประเด็น คือ 1. ปัญหาด้านการบริโภคหวาน มัน เค็ม ส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน563 ราย โรคความดันโลหิตสูง 1513รายโรคหลอดเลือดสมอง 49 ราย โรคหลอดเลือดหัวใจ74ราย โรคมะเร็ง 15 ราย และโรคอื่นๆ 73 ราย 2.ปัญหาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะขยะ ที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้พยายามบริหารจัดการได้ในระดับหนึ่ง แต่ประเด็นขยะยังขาดการมีส่วนร่วมจากชุมชนและครัวเรือน อีกทั้งยังขาดแกนนำในชุมชนในการขับเคลื่อนกิจกรรม ให้สามารถร่วมสร้างกระบวนการที่มีส่วนร่วมและยั่งยืนได้
ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง โรงพยาบาลละงู จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูลนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำให้มีความรู้ ทักษะและขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพของชุมชน
  2. เพื่อสร้างกลไก กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมที่ 1 อบรมทีมพี่เลี้ยง
  2. กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมู่บ้านจัดการสุขภาพ
  3. กิจกรรมที่ 4 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  4. กิจกรรมที่ 2 อบรมทีมผู้นำชุมชน/ภาคีเครือข่าย
วิธีดำเนินการ

วิธีดำเนินการ ( ออกแบบให้ละเอียด )

ขั้นเตรียมการ

1.เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพขององค์การบริหารส่วน ตำบลกำแพง

2.จัดเตรียมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ

3.ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ดังนี้

ขั้นดำเนินการ

กิจกรรมที่ 1 อบรมทีมผู้นำชุมชน

กิจกรรม 2 วัน วันที่ 1

1.เรียนรู้ภายใน check in ความรู้สึกและความคาดหวัง

2.สันทนาการสร้างสัมพันธภาพ

3.สถานการณ์ภาวะสุขภาพตำบลกำแพง

4.บรรยายเรื่อง “วิกฤติ โอกาส และการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนละงู”

5.บรรยายเรื่อง “สถานการณ์โลก ความซับซ้อน (Complexity) ของปัญหา”

6.เรียนรู้ภายใน ด้วยสติตื่นรู้

7.กิจกรรม “ ผู้นำสี่ทิศ

8.กิจกรรม “ สายธารชีวิต ”

วันที่ 2

1.เรียนรู้ภายใน check in แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงาน

2.สันทนาการสร้างสัมพันธภาพ

3.กิจกรรม “การทำงานเป็นทีม”

4.กิจกรรม “มองให้เห็นความเชื่อมโยง”

5.เรียนรู้ภายใน ด้วยสติตื่นรู้

6.กิจกรรมกลุ่ม“ร่วมคิด ร่วมพลัง กำหนดเส้นทางสู้วิกฤติเพื่อคุณภาพชีวิตชาวกำแพง” หมู่บ้านสรุปประเด็นปัญหาสุขภาพ และจัดทำโครงการแก้ปัญหาโดยการของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมู่บ้านจัดการสุขภาพ

2.1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมู่บ้านจัดการสุขภาพ จำนวน 1 วัน

ขั้นสรุปผล

กิจกรรมที่ 3 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

3.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำชุมชน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้และทักษะในการขับเคลื่อนการดำเนินงานสุขภาพในชุมชน

  2. ชุมชน/หมู่บ้าน ร้อยละ 50 ขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ แก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน

  3. เกิดหมู่บ้านจัดการสุขภาพ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

  4. ปัญหาทางสุขภาวะลดลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

- ปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต หลอดเลือดในสมอง หัวใจ มะเร็ง และอื่นๆ ลดลง
- ปัญหาด้านการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมลดลง
5. ชุมชน/หมู่บ้านมีการจัดการสุขภาพด้วยตนเอง ร้อยละ 90