กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กแบบเชิงรุกเทศบาลเมืองคอหงส์ประจำปี ๒๕๖๓

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็กแบบเชิงรุกเทศบาลเมืองคอหงส์ประจำปี ๒๕๖๓
รหัสโครงการ 63-L7257-1-01
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ พยาบาลวิชาชีพปฎิบัติการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์
วันที่อนุมัติ 18 มีนาคม 2563
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 23 มีนาคม 2563 - 30 กันยายน 2563
งบประมาณ 613,300.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเดชา วิมาลัย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ประเด็น
แผนงานอาหารและโภชนาการ
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

งานอนามัยแม่และเด็กในประเทศไทย ยังเป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันแก้ไข ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลอนามัยแม่และเด็ก พบปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อสุขภาพของมารดาและเด็กอายุ ๐-๕ ปี ในหลายประเด็น ได้แก่ ปัญหาการขาดสารไอโอดีนและภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ร้อยละ (ไม่เกินร้อยละ ๑๐) อัตราทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ร้อยละ ๘.๗ (ไม่เกินร้อยละ ๗) อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน ขั้นต่ำ (ร้อยละ ๑๔.๕) ปัญหาเหล่านี้คือเป็นปัญหาของงานแม่และเด็กที่ต้องช่วยแก้ไข การส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก เป็นการดูแลสุขภาพให้แก่มารดาและทารกเริ่มตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์หลังคลอด ระยะให้นมบุตรและการบริบาลทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนวัยเรียน การดูแลสุขภาพแม่และเด็กให้มีคุณภาพ โดยเริ่มต้นตั้งแต่ตั้งครรภ์ต้องรู้จักการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อให้ทารกที่คลอดมีน้ำหนักมากกว่า ๒,๕๐๐ กรัม และจะต้องดูแลบุตรอย่างถูกต้อง เช่น การเลี้ยงดูทารกด้วยนมแม่ ส่งเสริมสายสัมพันธ์ระหว่างแม่และทารก ซึ่งเด็กที่ดื่มนมแม่จะมีค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญา (IQ) ที่ดี ส่งผลต่อการพัฒนาการของเด็กให้สมวัย และฉลาดมากขึ้น การสนับสนุนให้แม่รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ส่งผลให้มีน้ำนมแม่เพียงพอที่จะเลี้ยงดูบุตร ตลอดจนการได้รับภูมิคุ้มกันโรคครบตามระยะเวลาที่เหมาะสม งานส่งเสริมสุขภาพ ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแม่และเด็กอันส่งผลให้เด็กเกิดมามีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์และเติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคต จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. หญิงตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์ ๑๒ สัปดาห์เพิ่มขึ้น
  2. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการติดตามดูแล โดยเยี่ยมหลังคลอดและได้รับคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
  3. หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลทารก
  4. หญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีชีวิต
  5. หญิงตั้งครรภ์คลอดบุตรโดยบุตรมีน้ำหนัก มากกว่า ๒,๕๐๐ กรัม
  6. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการตามเกณฑ์
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 1 ครั้ง
  2. มอบวัสดุในการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด กลุ่มหญิงตั้งครรภ์
  3. มอบวัสดุในการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด กลุ่มหญิงหลังคลอด
  4. อบรมแกนนำผู้ดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
  5. สรุปรายงานผลการดำเนินงาน
วิธีดำเนินการ

ขั้นตอนที่ ๑ ก่อนดำเนินการ
๑. จัดพิมพ์แบบฟอร์ม คำร้อง คูปอง
๒. ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน
ขั้นตอนที่ ๒ ดำเนินการตามโครงการ
๑. ประชุมชี้แจงและให้ความรู้ อสม. ในการลงเยี่ยมกลุ่มเป้าหมาย
๒. รับลงทะเบียนในกลุ่มเป้าหมาย ทุกวันที่ ๑-๕ ของทุกเดือน (ตารางการลงทะเบียน)
๓. นัดรับคูปอง วันศุกร์สัปดาห์ที่ ๔ ของเดือน
๔. รับนม-ไข่ วันศุกร์-เสาร์ สัปดาห์ที่ ๔ ของเดือน
๕. จัดทำเอกสารเพื่อนำหลักฐานเบิกค่าใช้จ่ายแต่ละงวด
ขั้นตอนที่ ๓ ดำเนินการกลุ่มเป้าหมาย
ตรวจเยี่ยมแม่และเด็กเพื่อประเมินสุขภาวะ เช่น ภาวะโภชนาการ,วัคซีน,นมแม่และพัฒนาการเด็ก
๑. ออกเยี่ยมผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑ ครั้ง/ราย
๒. ประเมินผลความเปลี่ยนแปลงผู้เข้าร่วมโครงการที่ได้รับวัสดุส่งเสริมสุขภาพ
๓. ติดตามภาวะน้ำหนักของทารกแรกเกิด - ๖ เดือนที่เข้าร่วมโครงการ
ขั้นตอนที่ ๔ สรุปผลการดำเนินงาน
๑. สรุปผลการรับ นม-ไข่
๒. สรุปปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน
๓. ประเมินผลโครงการ หลักฐานการสมัคร
๑. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนมารดาที่ตั้งครรภ์
๒. สำเนาทะเบียนบ้าน (หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ไม่น้อยกว่า ๓ เดือน)
๓. สำเนาสูติบัตร
๔. สำเนาทะเบียนบ้าน (เด็กทารกมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตเทศบาลเมืองคอหงส์)
๕. สำเนาสมุดฝากครรภ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภ์มีการฝากครรภ์ ๑๒ สัปดาห์เพิ่มขึ้น
  2. หญิงหลังคลอดได้รับการติดตามดูแล โดยเยี่ยมหลังคลอดและได้รับคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตรด้วยนมแม่
  3. มารดาและผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลทารก
  4. หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และผู้ดูแลมีความรู้ในการดูแลทารก
  5. หญิงตั้งครรภ์ คลอดบุตรโดยบุตรมีชีวิต และมีน้ำหนักบุตรมากกว่า ๒,๕๐๐ กรัม
  6. เด็กแรกคลอด - ๑ ปี ได้รับการดูแลจาก อสม. อย่างต่อเนื่อง