กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2563 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นายอาธร อุคคติ

ชื่อโครงการ โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2563

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-01-16 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2563 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2563



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2563 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 63-L6895-01-16 ระยะเวลาการดำเนินงาน 5 กุมภาพันธ์ 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 61,190.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และนวัตกรรมสะท้อนให้เห็นว่ามีผลกระทบต่อ ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านอาหารซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การได้รับอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต ของประชาชน การดำเนินงานด้านอาหารปลอดภัยจึงเป็นวาระสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมาโดยตลอด จากการเฝ้าระวังของกรมอนามัยในปี 2557 โดยการสุ่มประเมินความปลอดภัยอาหารใน ตลาดสดและตลาดนัด ด้านเคมี (บอแรกซ์ สารฟอกขาว สารกันรา ฟอร์มาลิน และน้ำมันทอดซ้ำ) พบปัญหาการใช้น้ำมันทอดซ้ำมากที่สุดและตรวจด้านชีวภาพ (โดยใช้ SI-2) พบว่า การปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 60 และสุ่มประเมินร้านอาหารด้านเคมี พบการปนเปื้อนยาฆ่าแมลงในอาหาร ร้อยละ 25.97 และตรวจด้านชีวภาพ (โดยใช้ SI-2) พบว่า อาหารจะมีการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียมากที่สุดร้อยละ 63.39 รองลงมาคือภาชนะมีการปนเปื้อนร้อยละ 49.21 ทางเทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคอาหารในตลาด ดังนั้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยปราศจากการปนเปื้อน กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองกันตัง จึงได้จัดทำโครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปี 2563 ขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองและได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัย และสามารถดำรงชีวิตได้โดยมีคุณภาพชีวิตที่ดี

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง และตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง
  2. เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้
  2. กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร
  3. กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ประกอบการค้ามีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักสุขาภิบาลอาหาร
  2. ตลาดสดปลอดการใช้สารปนเปื้อนในอาหาร ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอกขาว สารฟอร์มาลิน สารเร่งเนื้อแดง และยาฆ่าแมลง ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  3. ตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตังปลอดเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ภาชนะสัมผัสอาหารและมือผู้สัมผัสอาหาร มีความสะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภค
  4. สัตว์และแมลงพาหะนำโรคไม่ให้รบกวนและก่อความรำคาญภายในตลาดสด มีจำนวนลดลง ไม่ก่อให้เกิดโรคติดต่อ เช่น โรคฉี่หนู เป็นต้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

วันที่ 11 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

เช้า - ลงทะเบียนรับเอกสาร - พิธีเปิด/ชี้แจงนโยบายการจัดระเบียบตลาดต้องชมถนนกันตัง - หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติในการจำหน่ายสินค้าตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง - มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร - การเลือกตั้งประธานและคณะกรรมการชมรมผู้ประกอบการตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง - ชี้แจงการต่ออายุใบอนุญาติการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ บ่าย - ลงทะเบียนรับเอกสาร - ชี้แจงนโยบายการจำหน่ายสินค้าตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง - การจัดระเบียบแผงลอยตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง - สถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารและสุขาภิบาลอาหาร - มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมอบรมผู้ประกอบการค้าเพื่อสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร โดยได้จัดกิจกรรมขึ้นในวันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ อาคารคอซิมบี๊ มีผู้ประกอบการค้าจากตลาดสด เทศบาลเมืองกันตังเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 ราย และผู้ประกอบการค้าจากตลาดต้องชม ถนนคนเดินกันตังเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 127 คน

 

150 0

2. กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร

วันที่ 13 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ตรวจสารปนเปื้อนในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กิจกรรมการตรวจสารปนเปื้อนในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง โดยได้เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อสุ่มตรวจหาสารปนเปื้อน จำนวน 48 ตัวอย่าง กรดซาลิซิลิค (สารกันรา) 5 ตัวอย่าง สารฟอร์มาลิน (น้ำยาดองศพ) 11 ตัวอย่าง สารบอแรกซ์ 4 ตัวอย่าง สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ 11 ตัวอย่าง (สารฟอกขาว) ยาฆ่าแมลง 8 ตัวอย่าง สารเร่งเนื้อแดง 9 ตัวอย่าง จากผลการตรวจสารปนเปื้อนพบว่ามีการตรวจพบสารฟอร์มาลินในอาหารทะเล จากการสอบถามพบว่ามีที่มาจากแหล่งเดียวกัน จึงได้ให้คำแนะนำเรื่องอันตรายจากการใช้สารฟอร์มาลินแช่อาหารทะเลที่ผู้บริโภคอาจจะได้รับ พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสารปนเปื้อนให้กับผู้ประกอบการค้าทราบ
  2. กิจกรรมตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารและมือผู้สัมผัสอาหารในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง เก็บตัวอย่างได้ทั้งหมด 84 ร้าน

 

0 0

3. กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค

วันที่ 23 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค มีการดำเนินการดังนี้ 1.1 การควบคุมและป้องกันหนู ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังมีการทำความสะอาดเดือนละ 2 ครั้งคือทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจะใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดหนูวางไว้ในจุดมืดและบริเวณที่มีมูลของหนูอยู่ 1.2 การควบคุมนกพิราบ จากการศึกษาพฤติกรรมของนกพิราบพบว่านกจะบินเข้า – ออกทางหลังคาด้านนอกจึงใช้อวนดักบริเวณทางเข้า – ออกดังกล่าว พบว่านกพิราบที่อาศัยบริเวณหลังคาตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังมีปริมาณน้อยลง

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.1 กิจกรรมอบรมผู้ประกอบการค้าเพื่อสร้างเสริมความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร โดยได้จัดกิจกรรมขึ้นในวันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.00 – 16.30 น. ณ อาคารคอซิมบี๊ มีผู้ประกอบการค้าจากตลาดสด เทศบาลเมืองกันตังเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 ราย และผู้ประกอบการค้าจากตลาดต้องชม ถนนคนเดินกันตังเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 127 คน
1.2 กิจกรรมการตรวจสารปนเปื้อนในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง โดยได้เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อสุ่มตรวจหาสารปนเปื้อน จากผลการตรวจสารปนเปื้อนพบว่ามีการตรวจพบสารฟอร์มาลินในอาหารทะเล จากการสอบถามพบว่ามีที่มาจากแหล่งเดียวกัน จึงได้ให้คำแนะนำเรื่องอันตรายจากการใช้สารฟอร์มาลินแช่อาหารทะเลที่ผู้บริโภคอาจจะได้รับ พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสารปนเปื้อนให้กับผู้ประกอบการค้าทราบ 1.3 กิจกรรมตรวจหาเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารและมือผู้สัมผัสอาหารในตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง เก็บตัวอย่างได้ทั้งหมด 84 ร้าน
1.4 กิจกรรมควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค มีการดำเนินการดังนี้ 1.4.1 การควบคุมและป้องกันหนู ตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังมีการทำความสะอาดเดือนละ 2 ครั้งคือทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจะใช้ผลิตภัณฑ์กำจัดหนูวางไว้ในจุดมืดและบริเวณที่มีมูลของหนูอยู่ 1.4.2 การควบคุมนกพิราบ จากการศึกษาพฤติกรรมของนกพิราบพบว่านกจะบินเข้า – ออกทางหลังคาด้านนอกจึงใช้อวนดักบริเวณทางเข้า – ออกดังกล่าว พบว่านกพิราบที่อาศัยบริเวณหลังคาตลาดสดเทศบาลเมืองกันตังมีปริมาณน้อยลง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง และตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150 177
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 177
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารให้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสดเทศบาลเมืองกันตัง  และตลาดต้องชมถนนคนเดินกันตัง (2) เพื่อคุ้มครองประชาชนที่ไปซื้อสินค้าในตลาดให้ได้รับสินค้าและอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ (2) กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร (3) กิจกรรมป้องกันและควบคุมสัตว์พาหะนำโรค

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการตลาดดีมีมาตรฐาน ปีงบประมาณ 2563 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-01-16

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายอาธร อุคคติ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด