กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

สรุป จากการดำเนินงานโครงการ ตามวัตถุประสงค์โครงการดังนี้ 1.1 เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้รับความรู้ และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อไปต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในปัจจุบัน 1.2 เพื่อให้เด็กละเยาวชนในพื้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ

เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการจึงได้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานดังนี้ 1. ประชุมคณะกรรมการชมรมร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพดังนี้
  - จัดประชุมในวันที่ 1 กันยายน 2563 เพื่อวางแผนการดำเนินงาน การจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับเวลา ที่เยาวชนหรือเด็กที่อยู่ในวัยเรียนว่าง เวลาที่เหมาะสมในการจัดอบรม มีผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน 2. จัดอบรมหัวข้อเรื่อง “อยู่อย่างไรกับวัยเรียน เพื่อสุขภาพอันพึงประสงค์”   - จัดอบรมกลุ่มเด็กเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน ระดับประถมศึกษา ในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 50 คน ในวันที่ 15 กันยายน 2563 เพื่อให้เยาวชนได้มีความรู้ มีภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตที่ต้องก้าวให้ทันกับเหตุการณ์ การพัฒนาด้านสื่อและเทคโนโลยี ให้ทันกับกระแสการบริโภคด้านต่างๆ การปฏิบัติตัวเพื่อเป็นเด็กที่ดี เป็นที่รักของบิดา มารดา ผู้ปกครอง การบริโภคอาหารให้เหมาะสมกับวัย การปฏิบัติตัวเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ   - จากการอบรมพบว่า เยาวชนมีความตั้งใจ ในการเรียนรู้ มีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 100
    3. จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในยามเย็นในกลุ่มเด็กและเยาวชน(บูรณาการ การเล่นกีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล แชร์บอล ตะกร้อ และอื่นๆ) ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกาย โดยได้มีการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายในยามเย็นในกลุ่มเด็กวัยเรียน มีการบูรณาการ เล่นกีฬาประเภทต่าง เช่น การเล่นฟุตบอล วอลเลย์บอล แชร์บอล และตะกร้อ ฯลฯ เพื่อให้เด็กๆได้มีทักษะในกีฬาดังกล่าว ช่วยให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีสุขภาพร่างกาย จิตใจที่แข็งแรง เติบโตอย่างมีคุณภาพ

2. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 2.1 การบรรลุตามวัตถุประสงค์ /• บรรลุตามวัตถุประสงค์ • ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ เพราะ ............................................................................................................... ........................................................................................................................................................................................ 2.2 จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ...ทั้งหมด.........80...............................................คน 3. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ ...............12,000........... บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง ...............12,000........... บาท  คิดเป็นร้อยละ ......100.......... งบประมาณเหลือส่งคืนอบต. ...........................0........... บาท  คิดเป็นร้อยละ .............0.........
   


    ตามรายละเอียดดังนี้ 1. ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพในพื้นที่
          - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 20 คน        เป็นเงิน  500  บาท 2. จัดอบรมหัวข้อเรื่อง “อยู่อย่างไรกับวัยเรียน เพื่อสุขภาพอันพึงประสงค์”           - ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท x 50 คน              เป็นเงิน  3,000  บาท           - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 35 บาท x 2 มื้อ x 50 คน    เป็นเงิน  3,500  บาท
          - ค่าวิทยากร 500 บาท x 4 ชม.                  เป็นเงิน  2,000  บาท     3. จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว ขยับกายในยามเย็น           - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ 3,000 บาท (ลูกฟุตบอล ลูกวอลเล่ย์ ลูกตะกร้อ ลูกแชร์บอล อื่นๆ)
                                      รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  12,000 บาท
4. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน • ไม่มี     /• มี ปัญหา/อุปสรรค - การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 19 ส่งผลให้แผนการดำเนินงาน กิจกรรม ช้าตามกำหนด - ความไม่ตรงต่อเวลาของกลุ่มเป้าหมาย
- ประชาชนในพื้นที่เห็นปากท้องเป็นเรื่องสำคัญกว่าสุขภาพ ดังนั้นไม่ค่อยเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ - ผู้ปกครองเด็กส่วนใหญ่ทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน ทิ้งลูกให้อยู่ตามลำพังกับปู่ ย่า ตา ยาย หรือผู้ดูแลส่งผลให้ขาดความตระหนักในด้านสุขภาพของเด็ก
- ผู้ปกครองเด็กไม่อยู่บ้าน แนวทางการแก้ไข - หมู่บ้านหรือชุมชนจะเกิดความเข้มแข็งได้ก็ต่อเมื่อมีผู้นำที่มีจิตอาสา จิตสาธารณะ มีความสามัคคีเป็นหนึ่ง ระหว่างผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ชมรมเป็นตัวผลักดันที่สำคัญเพื่อให้ผู้นำฝ่ายต่างๆในหมู่บ้านเกิดการขับเคลื่อน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้รับความรู้ และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อไปต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในปัจจุบัน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีความรู้และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในปัจจุบัน
80.00 80.00 80.00

 

2 เพื่อให้เด็กละเยาวชนในพื้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 95 ของเด็กและเยาวชนในพื้นที่มีสุขภาพร่างกายจิตใจแข็งแรง
80.00 80.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80 80
กลุ่มวัยทำงาน 0
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เด็กเยาวชนในพื้นที่ได้รับความรู้ และมีภูมิคุ้มกันที่ดีต่อไปต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพในปัจจุบัน (2) เพื่อให้เด็กละเยาวชนในพื้นที่เติบโตอย่างมีคุณภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน (2) พัฒนาองค์ความรู้ (3) ส่งเสริมการขยับ เคลื่อนไหวทางกาย (4) ถอดบทเรียน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh