กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
1.อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 16 ก.ค. 2563 16 ก.ค. 2563

 

1.จัดกิจกรรมอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและ ความดันโลหิตสูง โดยแบ่ง 3 ฐาน ฐานที่ 1 การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง ฐานที่ 2 การออกกำลังกาย ฐานที่ 3 การจัดการอารมณ์และความเครียด

 

จากการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ จะมีการจัดในรูปแบบเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยแบ่งออกเป็น 3 ฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 1 การรับประทานอาหารเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังฐานที่ 2 การบริหารร่างกายและการออกกำลังกายที่ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ ฐานที่ 3 การจัดการอารมณ์และความเครียด ซึ่งได้รับความสนใจและความร่วมมือจากลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 80 คน ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรม ยังไม่เข้าใจถึงสาเหตุ อาการ และวิธีการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเท่าที่ควร การให้ความรู้จึงจะเน้นการให้ความรู้ในเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยหลักการ 3 อ. 2 ส. 1  ซึ่งก่อนและหลังการให้ความรู้ได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประเมินความรู้ พบว่าก่อนให้ความรู้มีผู้ตอบถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 50.62 และหลังให้ความรู้มีผู้ตอบถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ 86.0 แสดงว่ากลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มมากขึ้น

 

2.ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 30 ก.ค. 2563 30 ก.ค. 2563

 

ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 3 ครั้ง เพื่อประเมินสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะทำการตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้นของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง คำนวณดัชนีมวลกาย (BMI) วัดความยาวรอบเอว วัดความดันโลหิต และตรวจน้ำตาลในเลือด หลังจากประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ก็มีการนัดต่อเนื่อง 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 วันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ครั้งที่ 2 วันที่ 12 สิงหาคม 2563 ครั้งที่ 3 วันที่ 18 กันยายน 2563 โดยระหว่างที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะมีกิจกรรม “อาสาฯช่วยเปลี่ยน” โดย อสม. 1 คนจะช่วยเป็นครูพี่เลี้ยงและดูแลในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2-3 คน เพื่อให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

การดำเนินติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง       ก่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 80 คน มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 7.5 มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 30 และมีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 62.5     หลังการทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และมีการติดตามจำนวน 3 ครั้ง ผลการติดตามครั้งสุดท้ายพบว่า ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้าร่วมโครงการโดยส่วนใหญ่
ผลการดำเนินงาน

สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ดี สุขภาพแข็งแรงขึ้น โดยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิต จนอยู่ในระดับปกติ จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 81.25 ส่วนอีก 15 คน (ร้อยละ 18.75 ) ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้ ความดันโลหิตยังสูง จึงส่งพบแพทย์ และให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเคร่งครัด         สำหรับระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด จนอยู่ในระดับปกติ จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 87.5 ส่วนอีก 10 คน (ร้อยละ 12.5 ) ยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้ ความดันโลหิตยังสูง จึงส่งพบแพทย์ และให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเคร่งครัดเช่นกัน         ปัจจัยที่ส่งผลให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้สำเร็จ โดยส่วนใหญ่มาจากการรับประทานอาหาร ซึ่งวัฒนธรรมการทานอาหารของชุมชนปิยามุมังนั้น มักจะเป็นอาหารจำพวกแกงกะทิ อาหารทอด มัน เค็ม และหวาน ซึ่งตามหลักวิชาการแล้ว อาหารเหล่านี้ล้วนเป็นอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ขึ้นกับความถี่ ช่วงเวลาของการรับประทานอาหาร และมีความสัมพันธ์กับอารมณ์และการออกกำลังกายอีกด้วย