กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

การดูแลตนเองยามปกติในผู้สูงอายุ คือ การทำให้ชีวิตมีสุขภาพที่ดี ซึ่งแนวทางการมีสุขภาพที่ดีสามารถปฏิบัติตามหลัก 10 อ. ประกอบด้วย 1. อาหาร ผู้สูงอายุยังคงต้องการสารอาหารต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับวัยผู้ใหญ่ แต่ควรลดอาหารประเภทไขมันและคาร์โบโฮเดรตลง ส่วนอาหารประเภทโปรตีนควรเป็น เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลาและไข่ขาว ส่วนไข่แดงควรกินไม่เกินสัปดาห์ละ 3 ฟอง นอกจากนี้ควรกินผักและถั่ว รวมทั้งผลไม้ให้มาก แต่ควรเป็นผลไม้ที่ไม่มีรสหวานจัด จนเกินไปเพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค เช่น โรคเบาหวาน ได้ 2. ออกกำลังกาย เพื่อให้มีร่างกายแข็งแรง สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งจะทำให้การทรงตัวดีขึ้น ไม่หกล้มง่าย ผู้สูงอายุจึงควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง 3. อนามัย ผู้สูงอายุควรรู้จักสังเกตการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบขับถ่าย ควรพยายามลด ละ เลิกสิ่งที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เหล้า บุหรี่ และพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ สำหรับผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี 4. อุจจาระ ปัสสาวะ ผู้สูงอายุจะต้องให้ความสนใจเรื่องการขับถ่ายให้มากเป็นพิเศษ หากมีปัญหาขับถ่ายยาก ถ่ายลำบาก หรือกลั้นการขับถ่ายไม่ได้ ก็ควรรีบแก้ปัญหาไปตามเหตุ 5. อากาศ และแสงอาทิตย์ ผู้สูงอายุควรได้อยู่ในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นธรรมชาติ มีอากาศบริสุทธิ์ และควรได้รับแสงแดดบ้าง 6. อารมณ์ ผู้สูงอายุจะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย เช่น หงุดหงิด โมโห โกรธง่าย ทำให้ขาดสติในการพิจารณาไตร่ตรองเหตุผล ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับบุคคลอื่นได้ ง่าย และต้องหาวิธีควบคุมอารมณ์ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การทำสมาธิ การศึกษาธรรมะ จะช่วยให้ผ่อนคลาย มีสติมากขึ้น 7. อดิเรก ผู้สูงอายุควรหางานอดิเรกทำเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจหรือลดการหมกหมุ่นในสิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 8. อบอุ่น การเป็นบุคคลที่มีบุคคลิกโอบอ้อม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือสามาชิกในครอบครัวและบุคคลอื่น เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน 9. อุบัติเหตุ ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น สายตายาวต้องใส่แว่นสายตา ได้ยินไม่ชัดเจนต้องไปตรวจหูเพื่อแก้ไข ถ้ามีสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสมต้องไปปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม 10. อนาคต ผู้สูงอายุต้องเตรียมเงินและที่อยู่อาศัยเพื่อเป็นหลักประกันในการดำเนินชีวิต ปัญหาและวิธีรับมือการดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุประกอบด้วยการเรียนรู้และความเข้าใจวิธีดูแลที่ถูกต้อง โดยต้องใสใจการดูแลสุขภาพและจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุ นอกจากนี้ การดูแลผู้สูงอายุมีปัญหาสำคัญที่บุคคลในครอบครัวต้องเตรียมรับมือคือผู้สูงอ่ายุมักไม่ยอมให้สมาชิกภายในบ้านดูแลตนเอง ผู้ใกล้ชิดที่ทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัวคนอื่นควรทำความเข้าใจสาเหตุและรับมือกับปัญหาดังกล่าว จากการทำกิจกรรมโครงการดังกล่าว พบว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ซึ่งคณะทำงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ได้สรุปไว้ดังนี้ 1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ตั้งแต่เริ่มต้นของโครงการผู้สูงวัย ใส่ใจสุขภาพ จนถึงวันปิดการฝึกอบรม 2. วิทยากร ให้ความเป็นกันเองและให้ความรู้อย่างทั่วถึง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจร้อยละ 90
0.00

 

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง ร้อยละ 90
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ (2) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมคณะกรรมการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อวางแผนการทำงาน (2) กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในวัยสูงอายุ                และความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตใน  วัยผู้สูงอายุ  กิจกรรมที่ 2 การออกกำลังกายและกายภาพเบื้องต้น และส่งเสริมสุขภาพจิตด้วยการฟังธรรมมะ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh