กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการก่อแก่น แกน RDU เทศบาลตำบลยะหริ่ง

กิจกรรมกที่ 2 พัฒนาร้านชำในชุมชนให้เป็น "ร้านชำคุณภาพ" โดยเครือข่ายชุมชน28 กันยายน 2563
28
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลยะหริ่ง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

2.1 ประชุมหารือสถานการณ์ปัญหาการขายยาอันตรายในร้านชำ และวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับเครือข่าย
2.2 ประชุมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำเกี่ยวกับการเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ปลอดภัย เชื่อมโยงกับหลักการทางศาสนา
2.3 ประชุมวางแผนการตรวจเฝ้าระวังร้านชำในชุมชน เพื่อความเข้าใจทั้งภาครัฐและผู้ประกอบการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผลการประชุมปัญหาสถานการณ์ปัญหาการขายยาอันตรายในร้านชำ พบว่า มี 17 ร้าน เข้าร่วมจากร้านชำทั้งหมด 59 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 28.81 โดยได้มีคืนข้อมูลปัญหาผลกระทบจากการใช้ยาจากร้านชำ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขายยาอันตรายในร้านชำ รวมถึงมุมมองของศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้อง และได้มีการประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุผล จำนวน 25 คน โดยในแบบสอบถามแบ่งเป็น 6 ตอน ได้แก่
ตอนที่ 1 : ข้อมูลทั่วไป
ตอนที่ 2 : การใช้ยาตามฉลากและซองยา (6 ข้อ)
ตอนที่ 3 : การรู้ทันสื่อโฆษณา (7 ข้อ)
ตอนที่ 4 : การเลือกซื้อและใช้ยา (5 ข้อ)
ตอนที่ 5 : การเข้าใจความหมายของคำศัพท์ (10 ข้อ)
ตอนที่ 6 : การเข้าถึงข้อมูล ( 2 ข้อ) จำนวนทั้งหมด 30 ข้อ พบว่า ร้อยละของผู้เข้าร่วมที่ได้คะแนนรวมในแต่ละตอนมากที่สุด ได้แก่ ตอนที่ 1 ร้อยละ 4 (1/25) คะแนนสูงสุด 6 คะแนน , ตอนที่ 2 ร้อยละ 24 (6/25) คะแนนสูงสุด 5 คะแนน , ตอนที่ 4-6 ร้อยละ 8 (2/25) คะแนนสูงสุด 10 คะแนน จะเห็นได้ว่า ความรอบรู้ด้านการใช้ยาสมเหตุผลของผู้เข้าร่วมยังน้อยกว่าร้อยละ 50 ของแบบทดสอบ 2. มุมมองอิสลามที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของร้านชำที่มีต่อผู้บริโภค ได้แก่
“นบีกล่าวว่าพ่อค้าที่สัจจริงและซื่อสัตย์ จะพำนักพร้อมกับนบี ชาวศิดดีก และชาวชะฮีดในสวรรค์” “อย่าสร้างความเดือนร้อน ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น”