กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ ปี 2563 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ

ชื่อโครงการ โครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ ปี 2563

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-05-28 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 27 ธันวาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ ปี 2563 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ ปี 2563



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ ปี 2563 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 63-L6895-05-28 ระยะเวลาการดำเนินงาน 27 ธันวาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 60,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ปรากฎการณ์ที่ทำให้เกิดการหยุดชะงักอย่างรุนแรงของการปฏิบัติหน้าที่ของชุมชนหรือสังคม โดยก่อให้เกิดความสูญเสียของมนุษย์ วัตถุ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง ซึ่งเกินกว่าความสามารถของชุมชนหรือสังคมที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวจะรับมือได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ภัยพิบัติแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และภัยพิบัติที่มนุษย์สร้างขึ้น (MRC, 2556) สถานการณ์และแนวโน้มของภัยพิบัติในประเทศไทยปัจจุบันที่มีทั้งอุทกภัย วาตภัย ภัยจากไฟป่า แผ่นดินไหว ภัยแล้ง โรคระบาด และภัยอื่น เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้นที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม และพายุหมุนเขตร้อน ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในลักษณะเป็นศูนย์กลางของภาคพื้นเอเชีย-ตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีเขตแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศที่มีเหตุการณ์ไม่สงบสุข ทำให้เกิดปัญหาของภัยพิบัติจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ภัยจากกับระเบิด ภัยจากการอพยพ/ย้ายถิ่นฐานอย่างผิดกฎหมาย ภัยจากการก่อการร้าย เป็นต้น นอกจากนั้น การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจและด้านอุตสาหกรรม ได้ก่อให้เกิดภัยพิบัติจากการกระทำของมนุษย์อีกหลายประการ เช่น ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย ภัยจากการคมนาคมและขนส่ง อัคคีภัย เป็นต้น ซึ่งภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น มีระดับความรุนแรง ความล่อแหลม ความเสี่ยงภัย และการบริหารจัดการ (ศูนย์สารสนเทศสิ่งแวดล้อม, 2556) ภัยพิบัติสามารถส่งผลกระทบต่อความเสียหายทางกายภาพที่เห็นได้ชัดเจน เช่น เสียชีวิต บาดเจ็บ ไร้ที่อยู่ ขาดที่ทำกิน พิการ อุปกรณ์การทำงานสูญหาย กระทบต่อสภาพสังคม วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต รวมทั้งมีผลกระทบต่อจิตใจของผู้ประสบภัย นอกจากนี้ภัยพิบัติทำให้เกิดโรคระบาดหรือโรคติดต่อต่างๆ เช่น โรคติดต่อที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ โรคติดต่อที่นำโดยแมลง โรคติดต่อที่เกิดจากซากศพ โรคอื่นๆ ที่เป็นผลจากภัยพิบัติ ทางศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง จึงร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองกันตัง จัดทำโครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ ปี 2563 ขึ้น เพื่อรับมือโรคระบาดหรือภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในกรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ
  2. เพื่อให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ได้
  3. เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด และส่งเสริมสุขภาวะแก่ประชาชนเมื่อประสบภัยพิบัติ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำ
  2. กิจกรรมเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรค

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในกรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
  2. สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ได้
  3. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด และส่งเสริมสุขภาวะแก่ประชาชนเมื่อประสบภัย

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำ

วันที่ 12 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน
  • พิธีเปิด
  • บรรยายเรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และวิธีการดูแลตนเองให้ปลอดภัยโรคโควิด-19
  • การล้างมือ 7 ขั้นตอนพิชิตโรค/การใช้หน้ากากอนามัยแบบทางการแพทย์และแบบผ้า
  • แบ่งกลุ่มเข้าฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 1 สาธิตวิธีการทำแอลกอฮอล์ล้างมือ ตามแบบ WHO ฐานที่ 2 สาธิตและฝึกปฏิบัติการทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า ตามแบบกรมอนามัย
  • ตอบข้อซักถามและสรุปผลการเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดกิจกรรมอบรม เพื่อสร้างทีมวิทยากร หรือทีมครู ก ได้แก่ บุคคลากร เทศบาลเมืองกันตัง  ครูสังกัดเทศบาล ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้นำชุมชน อสม. แกนนำสุขภาพในชุมชน กลุ่มสตรี จิตอาสา ตัวแทนชมรมต่างๆ เช่น ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมสร้างสุขภาพ ประชาชนที่สนใจ  จำนวน 200 คน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม  2563  ณ  อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง  ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา 2019 และวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดโรค  การล้างมือ 7 ขั้นตอนพิชิตโรค  การใช้หน้ากากอนามัยแบบทางการแพทย์และแบบผ้า  โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง  การเข้าฐานการเรียนรู้ การธิตการทำแอลกอฮอล์ล้างมือ ตามแบบ WHO  โดยวิทยากรจากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง การสาธิตและฝึกปฏิบัติการทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า ตามแบบกรมอนามัย  โดยวิทยากรจิตอาสาเทศบาลเมืองกันตัง  พร้อมมอบแอลกอฮอล์ล้างมือ และหน้ากากอนามัยแบบผ้าที่ผู้เข้าร่วมประุมได้ฝึกปฏิบัติเย็บแก่ผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเป็นทีมประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  2. มีการประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมตอบกลับแบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 119 คน สามารถสรุปผลการประเมินได้ดังนี้  ผู้ประเมินมีความพึงพอใจต่อการจัดงานในระดับมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ 48.82  ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 45.8 และค่าเฉลี่ย 4.43 ระดับความพึงพอใจทั้งโครงการอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นเพิ่มเติมอื่นๆ
  3. ได้ความรู้ในการดูแลตนเอง และคนรอบข้าง มีความเข้าใจเรื่องไวรัสโคโรนา 2019
  4. อยากให้จัดโครงการแบบนี้อีก
  5. เป็นโครงการที่ดี เนื้อหาเหมาะสมเข้ากับสถานการณ์แพร่ระบาดองโรค
  6. สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามโครงการ  เป็นเงิน จำนวน 24,615  บาท รายละเอียด ดังนี้

- ค่าตอบแทนวิทยากร  เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าเอกสารประกอบการอบรม/แผ่นปลิว  เป็นเงิน  2,000 บาท - ค่าป้านยโครงการ/ป้ายประชาสัมพันธ์  เป็นเงิน 4,620 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 1,445  บาท - ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์  เป็นเงิน 8,750 บาท

 

150 0

2. กิจกรรมเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรค

วันที่ 19 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรค
  2. จัดตั้งจุดรับแจ้งผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล ต่างจังหวัด ที่เป็นพื้นที่ระบาดและเสี่ยง
  3. ลงทะเบียนและคัดกรองติดตามเฝ้าระวัง 14 วัน
  4. แจกหน้ากากอนามัย ให้ความรู้เรื่องโรค การล้างมือ
  5. ลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน 12 ชุมชน ร่วมกับ แกนนำสุขภาพชุมชน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่จากสถานีตำรวจกันตัง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรค
  2. ดำเนินการจัดตั้งจุดรับแจ้งผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล ต่างจังหวัด ที่เป็นพื้นที่ระบาดและเสี่ยง ที่ศูนย์บริการสาธารณศุข พร้อมรับแจ้งในชุมชนดำเนินการลงทะเบียนและคัดกรองติดตามเฝ้าระวัง 14 วัน แบบ Home Quarantine แจกหน้ากากอนามัย ให้ความรู้เรื่องโรค การล้างมือ ตั้งแต่วันที่  19  มีนาคม  2563 - 15 เมษายน  2663  รวม 276 คน  เป็นผู้ที่มาจากต่างประเทศ 26 คน จากกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 101 ราย และต่างจังหวัด รวม 149 ราย
  3. ร่วมดำเนินการลงพื้นที่เคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน 12 ชุมชน ร่วมกับ แกนนำสุขภาพชุมชน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่จากสถานีตำรวจกันตัง ตั้งแต่วันที่ 7 - 15 เมษายน 2563
  4. สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เป็นการจัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นเงิน 26,780 บาท

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ เพื่อสร้างทีมวิทยากร หรือ ทีม ครู ก ได้แก่ บุคลากร เทศบาลเมืองกันตัง ครูสังกัดเทศบาลเมืองกันตัง ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้นำชุมชน อสม. แกนนำสุขภาพในชุมชน กลุ่มสตรี จิตอาสา ตัวแทนชมรต่างๆ เช่น ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมสร้างสุขภาพ ประชาชนที่สนใจ จำนวน 200 คน เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง ในเรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรน่า 2019 และวิธีการป้องกันตนเองให้ปลอดโรค การล้างมือ 7 ขั้นตอนพิชิตโรค การใช้หน้ากากอนามัยแบบทางการแพทย์และแบบผ้า โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง การเข้าฐานเรียนรู้ การสาธิตการทำแอลกอฮอล์ล้างมือตามแบบ WHO โดยวิทยากรจากศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง การสาธิตและฝึกปฏิบัติการทำหน้ากากอนามัยแบบผ้า ตามแบบกรมอนามัย โดยวิทยากรจิตอาสาเทศบาลเมืองกันตัง พร้อมมอบแอลกอฮอล์ล้างมือ และหน้ากากอนามัยแบบผ้าที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้ฝึกปฏิบัติเย็บแก่ผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ และเป็นทีมประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความารู้ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
  2. มีการประเมินความพึงพอใจในการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมตอบกลับใบประเมิน จำนวน 119 คน สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ผู้ประเมินมีความพึงพอใจต่อการจัดงานในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 48.82 ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 45.8 และค่าเฉลี่ย 4.43 ระดับความพึงพอใจทั้งโครงการอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม/ความคิดเห็นเพิ่มเติมอื่นๆ 1). ได้รับความรู้ในการดูแลตนเอง และคนรอบข้าง มีความเข้าใจเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 2019 2). อยากให้จัดโครงการแบบนี้อีก 3). เป็นโครงการที่ดี เนื้อหาเหมาะสมเข้ากับสถานการณ์ปพร่ระบาดของโรค
  3. จัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรค
  4. ดำเนินการจัดตั้งจุดรับแจ้งผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศ กรุงเทพและปริมณฑลต่างจังหวัดที่เป็นพื้นที่ระบาดและเสี่ยง ที่ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองกันตัง พร้อมรับแจ้งจากจุดรับแจ้งในชุมชน ดำเนินการลงทะเบียนและคัดกรองติดตามเฝ้าระวังเป็นระยะเวลา 14 วัน แบบ Home Quarantine แจกหน้ากากอนามัยให้ความรู้เรื่องโรค การล้างมือ ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม – 15 เมษายน 2563 รวม 276 คน เป็นผู้ที่มาจากต่างประเทศ 26 คน จากกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 101 ราย และต่างจังหวัดรวม 149 ราย
  5. ร่วมดำเนินงานลงเคาะประตูบ้าน เพื่อคัดกรองและให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน 12 ชุมชน ร่วมกับแกนนำสุขภาพชุมชน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจกันตัง ตั้งแต่วันที่ 7 – 15 เมษายน 2563
  6. สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 51,395 .- บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในกรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของประชาชนที่เข้ารับการอบรม มีความรู้ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคในกรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ
0.00

 

2 เพื่อให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ได้
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ประชาชนได้รับการส่งเสริมสุขภาวะแก่เมื่อเกิดโรคระบาดหรือประสบภัยพิบัติ
0.00

 

3 เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด และส่งเสริมสุขภาวะแก่ประชาชนเมื่อประสบภัยพิบัติ
ตัวชี้วัด : ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดลดลง
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคในกรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติ (2) เพื่อให้สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรค  กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ได้ (3) เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด  และส่งเสริมสุขภาวะแก่ประชาชนเมื่อประสบภัยพิบัติ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่แกนนำ (2) กิจกรรมเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรค

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค กรณีเกิดโรคระบาดและภัยพิบัติในพื้นที่ ปี 2563 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-05-28

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด