กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลการดำเนินโครงการพบว่า

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา
การดำเนินการกิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา โดยคัดเลือกแกนนำประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง กลุ่มเป้าหมาย คือ แกนนำ (ประชาชน เด็ก/เยาวชน และบุคลากรสถานศึกษา) ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 60 คน ซึ่งมีผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

  1. การสร้างแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังในชุมชนและสถานศึกษา

จากการขอความอนุเคราะห์ผู้นำชุมชนในการคัดเลือกแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน เพื่อจัดตั้งเป็นแกนนำดังกล่าว โดยจะเน้นการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน ประกอบด้วย กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ผู้นำศาสนา ตัวแทนครูจากสถานศึกษาในชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตัวแทนเด็กและเยาวชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และตัวแทนประชาชน หมู่บ้านละ 10 คน ซึ่งชุมชนได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้เกิดเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน ตลอดจนแกนนำของชุมชนได้ให้ความสำคัญและพร้อมผนึกกำลังเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนต่อไป และในส่วนของสถานศึกษาทางสถานศึกษาได้แต่งตั้งให้คณะกรรมการสถานศึกษาเป็นแกนนำอาสาสมัครและเครือข่าย ที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษาของแต่ละสถานศึกษา ซึ่งจากการดำเนินกิจกรรมก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ผ่านตัวชี้วัดความสำเร็จที่คาดไว้ คือ ร้อยละ 100 ของชุมชนมีแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติด

  1. อบรมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ดังต่อไปนี้

1.) สถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบัน พร้อมสอดแทรกความรู้เรื่องยาเสพติด

1.1 ) ความหมายสิ่งเสพติดหรือยาเสพติด

1.2 ) ประเภทของยาเสพติด

1.3 ) สาเหตุที่ทำให้ติดสารเสพติดหรือยาเสพติด

1.4 ) วิธีสังเกตผู้ติด สิ่งเสพติดหรือยาเสพติด

1.5 ) โทษของ สิ่งเสพติดหรือยาเสพติด


2.) การบำบัด รักษา ฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด

๓.) การป้องกันยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา

๔.) ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ในชุมชนและสถานศึกษา พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์

สำหรับการประเมินผลในการอบรม มีเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินผลจากการทดสอบความรู้ คือ ข้อที่ตอบถูกได้ ๑ คะแนน ข้อที่ตอบผิดได้ ๐ คะแนน และกำหนดเกณฑ์การผ่านการทดสอบต้องได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ ๘๐ (คะแนนตั้งแต่ ๑๐ คะแนนขึ้นไป ของคะแนนเต็ม ๑๒ คะแนน) ซึ่ง พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความรู้น้อยกว่าร้อยละ 80 (ไม่ผ่านเกณฑ์) จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 75.47 และมีความรู้มากกว่าร้อยละ 80 (ผ่านเกณฑ์) จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 24.53 และหลังการอบรมผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมดมีความรู้มากกว่าร้อยละ 80 (ผ่านเกณฑ์) คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งจากการทดสอบความรู้ก่อน - หลังอบรม พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม มีคะแนนหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม จึงสรุปได้ว่าการจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดที่วางไว้ คือ แกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษามีความรู้ ร้อยละ 80

กิจกรรมที่ 2 ประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา

การดำเนินการกิจกรรมประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา ซึ่งมีผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1) ประชุมชี้แจงผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบงานยาเสพติดของโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
การดำเนินการประชุมชี้แจงผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบงานยาเสพติดของโรงเรียนในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนในเขตพื้นที่เป็นอย่างดี โดยได้ร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงานยาเสพติดในสถานศึกษา พร้อมทั้งการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการจัดทำกิจกรรมในสถานศึกษา ตลอดจนกำหนดการประชุมเพื่อสร้างมาตรการเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษา

2) ประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติด พร้อมสร้างมาตรการและติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด

การดำเนินกิจกรรมประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติด ซึ่งในส่วนของสถานศึกษาได้จัดประชุมชี้แจงผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบงานยาเสพติดของโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง โดยให้ทางสถานศึกษาสร้างมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษาของแต่ละสถานศึกษา และสำหรับชุมชน ได้ให้ทางชุมชนร่วมกันสร้างมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในของชุมชนแต่ละชุมชน ซึ่งร้อยละ 100 ของชุมชนและสถานศึกษา ได้มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังยาเสพติด

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โปสเตอร์ให้ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับชุมชนและสถานศึกษาในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง เพื่อใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในการป้องกันยาเสพติดในพื้นที่ต่อไป ซึ่งชุมชนและสถานศึกษาในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง ได้รับสื่อประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 100

กิจกรรมที่ 4 ติดตามดูแล ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ที่ผ่านการบำบัดรักษา
การดำเนินกิจกรรมติดตามดูแล ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ที่ผ่านการบำบัดรักษา โดยขอรายชื่อผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ที่ผ่านการบำบัดรักษา จากศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอละงู เพื่อติดตามดูแลผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนให้ความรู้และทักษะชีวิต ระหว่างผู้ติดตามและผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ตลอดจนการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดในร่างกายของผู้ที่ผ่านการบำบัด หากพบสารเสพติดประสานเจ้าหน้าที่เพื่อส่งต่อเข้ารับการบำบัดรักษาแบบสมัครใจ ทั้งนี้ทางศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอละงูไม่สามารถให้ข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2560 หมวด 2 มาตรา 15 อนุ (5) คือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคล ทั้งนี้อาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง และจากการสอบถามในชุมชน ก็ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมติดตามดูแล ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษาได้

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในชุมชนและสถานศึกษา
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนผู้ผ่านการบำบัดรายใหม่ลดลง 2. ร้อยละ 100 ของชุมชนและสถานศึกษามีแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติด 3. แกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษามีความรู้ ร้อยละ 80 4. ร้อยละ 100 ของชุมชนและสถานศึกษา มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังยาเสพติด
0.00 100.00

 

2 เพื่อลดอัตราการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 100 ของผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติดได้รับการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง 2. ร้อยละ 20 ของผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติดไม่กลับไปเสพสารเสพติดซ้ำ
0.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 75 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -
ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ที่ผ่านการบำบัดรักษา 15
แกนนำ (ประชาชน เด็ก/เยาวชน และบุคลากรสถานศึกษา) 60 60

บทคัดย่อ*

ปัญหายาเสพติดของประเทศไทยในปัจจุบันจัดได้ว่าอยู่ในขั้นวิกฤต ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีการผลิตยาเสพติดทั้งภายในประเทศ และมีการลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศมากมายหลายชนิด ซึ่งยาเสพติดที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดในประเทศไทยยังคงเป็นยาบ้า รองลงมา คือ ไอซ์และกัญชา ตามลําดับ ถึงแม้เจ้าหน้าที่ ได้ปราบปรามจับกุมการค้ายาเสพติดอย่างเข้มงวดและจริงจัง แต่ก็ไม่ทำให้การแพร่ระบาดของยาเสพติดลดลง แต่กลับทำให้ผู้ผลิตได้พัฒนายาเสพติดให้ออกฤทธิ์ได้แรงขึ้นและการตรวจพบสารเสพติดในตัวผู้เสพได้ยากขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่จับกุมได้ยากยิ่งขึ้น จากสภาพปัญหาดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากละเลยไว้จะก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ ทางสังคมอย่างรุนแรงจนไม่สามารถแก้ไขได้ สถานการณ์ยาเสพติดในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง พบว่า ผู้ที่ได้รับการบำบัดปี 2560 - 2562 ส่วนใหญ่อายุระหว่าง 20-24 ปี และกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการใช้ยาเสพติดและสารเสพติดมากที่สุด คือ กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา รองลงมา คือ กลุ่มผู้ว่างงาน กลุ่มรับจ้างทั่วไป และมีแนวโน้มของผู้เสพรายใหม่ในกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น จึงเห็นสมควรที่ทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งหามาตรการในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ให้บรรลุผลอย่างจริงจัง ทั้งในชุมชนตลอดจนสถานศึกษา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด ตลอดจนการเพิ่มมาตรการทางสังคม และหาแนวทางปฏิบัติในเชิงนโยบายของชุมชนหรือการสร้างข้อตกลงร่วมกัน  ในการเฝ้าระวังยาเสพติดของคนในชุมชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ได้เล็งเห็นถึงปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง ที่นับวันยิ่งมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้กลุ่มผู้ใช้สารเสพติดส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มประชากรที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ เพื่อดำเนินงานการสร้างความเข้มแข็งในการป้องกันยาเสพติดในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ควบคุม ป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา เพื่อสกัดกั้นผู้เสพรายใหม่ในวัยเด็กและเยาวชนและเพื่อลดอัตราการกลับมาเสพซ้ำของผู้ผ่านการบำบัดเมื่อคืนกลับชุมชน


ผลการดำเนินโครงการพบว่า

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา
การดำเนินการกิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา โดยคัดเลือกแกนนำประจำหมู่บ้านในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง กลุ่มเป้าหมาย คือ แกนนำ (ประชาชน เด็ก/เยาวชน และบุคลากรสถานศึกษา) ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 60 คน ซึ่งมีผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1.การสร้างแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังในชุมชนและสถานศึกษา

จากการขอความอนุเคราะห์ผู้นำชุมชนในการคัดเลือกแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน เพื่อจัดตั้งเป็นแกนนำดังกล่าว โดยจะเน้นการมีส่วนร่วมของหลายภาคส่วน ประกอบด้วย กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ผู้นำศาสนา ตัวแทนครูจากสถานศึกษาในชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตัวแทนเด็กและเยาวชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และตัวแทนประชาชน หมู่บ้านละ 10 คน ซึ่งชุมชนได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้เกิดเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน ตลอดจนแกนนำของชุมชนได้ให้ความสำคัญและพร้อมผนึกกำลังเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนต่อไป และในส่วนของสถานศึกษาทางสถานศึกษาได้แต่งตั้งให้คณะกรรมการสถานศึกษาเป็นแกนนำอาสาสมัครและเครือข่าย ที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษาของแต่ละสถานศึกษา ซึ่งจากการดำเนินกิจกรรมก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ผ่านตัวชี้วัดความสำเร็จที่คาดไว้ คือ ร้อยละ 100 ของชุมชนมีแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติด

2.อบรมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา โดยมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ดังต่อไปนี้

1.) สถานการณ์ยาเสพติดในปัจจุบัน พร้อมสอดแทรกความรู้เรื่องยาเสพติด

1.1 ) ความหมายสิ่งเสพติดหรือยาเสพติด

1.2 ) ประเภทของยาเสพติด

1.3 ) สาเหตุที่ทำให้ติดสารเสพติดหรือยาเสพติด

1.4 ) วิธีสังเกตผู้ติด สิ่งเสพติดหรือยาเสพติด

1.5 ) โทษของ สิ่งเสพติดหรือยาเสพติด


2.) การบำบัด รักษา ฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด

๓.) การป้องกันยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา

๔.) ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ในชุมชนและสถานศึกษา พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์

สำหรับการประเมินผลในการอบรม มีเกณฑ์การให้คะแนนการประเมินผลจากการทดสอบความรู้ คือ ข้อที่ตอบถูกได้ ๑ คะแนน ข้อที่ตอบผิดได้ ๐ คะแนน และกำหนดเกณฑ์การผ่านการทดสอบต้องได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ ๘๐ (คะแนนตั้งแต่ ๑๐ คะแนนขึ้นไป ของคะแนนเต็ม ๑๒ คะแนน) ซึ่ง พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความรู้น้อยกว่าร้อยละ 80 (ไม่ผ่านเกณฑ์) จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 75.47 และมีความรู้มากกว่าร้อยละ 80 (ผ่านเกณฑ์) จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 24.53 และหลังการอบรมผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมดมีความรู้มากกว่าร้อยละ 80 (ผ่านเกณฑ์) คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งจากการทดสอบความรู้ก่อน - หลังอบรม พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม มีคะแนนหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม จึงสรุปได้ว่าการจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดที่วางไว้ คือ แกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษามีความรู้ ร้อยละ 80

กิจกรรมที่ 2 ประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา

การดำเนินการกิจกรรมประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชนและสถานศึกษา ซึ่งมีผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

1) ประชุมชี้แจงผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบงานยาเสพติดของโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง
การดำเนินการประชุมชี้แจงผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบงานยาเสพติดของโรงเรียนในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนในเขตพื้นที่เป็นอย่างดี โดยได้ร่วมกำหนดแนวทางการดำเนินงานยาเสพติดในสถานศึกษา พร้อมทั้งการกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการจัดทำกิจกรรมในสถานศึกษา ตลอดจนกำหนดการประชุมเพื่อสร้างมาตรการเฝ้าระวังยาเสพติดในสถานศึกษา

2) ประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติด พร้อมสร้างมาตรการและติดตามผลการดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด

การดำเนินกิจกรรมประชุมแกนนำอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเฝ้าระวังยาเสพติด ซึ่งในส่วนของสถานศึกษาได้จัดประชุมชี้แจงผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบงานยาเสพติดของโรงเรียนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง โดยให้ทางสถานศึกษาสร้างมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในสถานศึกษาของแต่ละสถานศึกษา และสำหรับชุมชน ได้ให้ทางชุมชนร่วมกันสร้างมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดในของชุมชนแต่ละชุมชน ซึ่งร้อยละ 100 ของชุมชนและสถานศึกษา ได้มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวังยาเสพติด

กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ประชาสัมพันธ์เชิงรุกเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โปสเตอร์ให้ความรู้ เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้กับชุมชนและสถานศึกษาในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง เพื่อใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในการป้องกันยาเสพติดในพื้นที่ต่อไป ซึ่งชุมชนและสถานศึกษาในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง ได้รับสื่อประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 100

กิจกรรมที่ 4 ติดตามดูแล ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ที่ผ่านการบำบัดรักษา
การดำเนินกิจกรรมติดตามดูแล ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ที่ผ่านการบำบัดรักษา โดยขอรายชื่อผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ที่ผ่านการบำบัดรักษา จากศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอละงู เพื่อติดตามดูแลผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนให้ความรู้และทักษะชีวิต ระหว่างผู้ติดตามและผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด ตลอดจนการตรวจปัสสาวะหาสารเสพติดในร่างกายของผู้ที่ผ่านการบำบัด หากพบสารเสพติดประสานเจ้าหน้าที่เพื่อส่งต่อเข้ารับการบำบัดรักษาแบบสมัครใจ ทั้งนี้ทางศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอละงูไม่สามารถให้ข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2560 หมวด 2 มาตรา 15 อนุ (5) คือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคล ทั้งนี้อาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง และจากการสอบถามในชุมชน ก็ไม่สามารถให้ข้อมูลได้ เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว จึงทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมติดตามดูแล ผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติดที่ผ่านการบำบัดรักษาได้

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh