กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางนุชรี หยังหลัง

ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-01-29 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 30 มีนาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 63-L6895-01-29 ระยะเวลาการดำเนินงาน 30 มีนาคม 2563 - 31 สิงหาคม 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 127,040.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศจีน เริ่มจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหู่เป่ย และองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น“ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” เนื่องจากเชื้อไวรัสดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019”เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหู่เป่ย สาธารณรัฐประชาชนจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างจากคนไข้เหล่านี้ไปตรวจถอดรหัสพันธุกรรมและได้พบว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ในชื่อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ ๗ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยใช้มาตรการต่างๆ ในการคัดกรองประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศ และรณรงค์ให้ประชาชนป้องกันตนเองไม่ให้สัมผัสกับโรค โดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด มีมลภาวะหรือไปในสถานที่ที่มีความเสี่ยงในการระบาดของโรคโดยรัตมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้แนวคิดในการป้องกันโรคฯ คือ “กินร้อน ข้อนกลาง ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัยและออกกำลังกาย” ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาดโรค จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น โดยกำหนดมาตรการในการเฝ้าระวังการระบาดของโรคในระดับชุมชนโดยอาศัยกลไก  แกนนำสุขภาพในชุมชน และคณะกรรมการชุมชน ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในการป้องกัน เฝ้าระวังการแพร่การระบาดของโรค รณรงค์ให้สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดเป็นประจำเวลาอยู่ในสถานที่แออัด เวลาไอจาม และสนับสนุนบทบาทหน้าที่สำคัญของแกนนำสุขภาพในชุมชน ในการทำงานเชิงรุกเข้าถึงประชาชนในพื้นที่  เพื่อให้ความรู้ในการป้องกัน เฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในเขตเทศบาล

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพในชุมชน และคณะกรรมการชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อสนับสนุนบทบาทแกนนำสุขภาพชุมชน ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เคาะประตูบ้านให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อให้ห่างไกลจากการติดเชื้อ
  3. เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนสามารถดูแลตนเองป้องกันจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมประชุมชี้แจง
  2. กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค
  3. กิจกรรมการเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและให้ความรู้แก่ประชาชน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10,560
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนำสุขภาพในชุมชน คณะกรรมการชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้อง
  2. ประชาชนมีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมประชุมชี้แจง

วันที่ 2 เมษายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน/ประเมินความรู้ก่อนการอบรม
  • บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารจัดการสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับชุมชน
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • มาตรการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน
  • บทบาทหน้าที่ และแนวทางของแกนนำสุขภาพชุมชน/กรรมการชุมชนในการจัดการสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ในชุมชน
  • สรุปกิจกรรมการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะกรรมการชุมชนๆละ 2 คน และแกนนำสุขภาพชุมชนๆละ 2 คน ทั้ง 12 ชุมชน จำนวนร 48 คน และตำรวจจากสถานนีตำรวจภูธรกันตัง 4 คน พร้อมทั้งคณะผู้บริหารเทศบาล เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการเคาะประตูบ้าน เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2. ให้ความรู้และแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้ - บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารจัดการสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับชุมชน - มาตรการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน
- ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สถานการณ์การระบาดของโรค บทบาทหน้าที่และแนวทางของแกนนำสุขภาพชุมชน/กรรมการชุมชน ในการจัดการสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในชุมชน 3. ขอความร่วมมือคณะกรรมการชุมชน/แกนนำสุขภาพชุมชน/อสม./เจ้าหน้าที่จากสถานนีตำรวจภูธรกันตัง เข้าร่วมกิจกรรมการเคาะประตูบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อเฝ้าระวัง คัดกรองและให้ความรู้แก่ประชาชน และผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ,ต่างจังหวัด หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง โดยการเอ็กซเรย์พื้นที่ เคาะประตูบ้าน 4. การประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรมก่อน-หลังการระชุม จำนวน 10 ข้อ ผลการประเมินความรู้ ดังนี้ - ก่อนการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 8.38 - หลังการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 9.18

 

48 0

2. กิจกรรมการเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและให้ความรู้แก่ประชาชน

วันที่ 7 เมษายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านในชุมชน 12 ชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านในชุมชน 12 ชุมชน

 

0 0

3. กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค

วันที่ 27 เมษายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  2. รณรงค์คัดกรองสุขภาพและติดตามผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศ ต่างจังหวัด หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง และการกักกันหรือคุมไว้สังเกตอาการในที่พักอาศัย พร้อมติดตามอาการทุกวันจนครบ 14 วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
  2. รณรงค์คัดกรองสุขภาพและติดตามผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศ ต่างจังหวัด หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง และการกักกันหรือคุมไว้สังเกตอาการในที่พักอาศัย พร้อมติดตามอาการทุกวันจนครบ 14 วัน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.การประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่แกนนำสุขภาพชุมชนชุมชนละ 2 คน และคณะกรรมการชุมชนๆ ละ 2 คน ทั้ง 12 ชุมชน รวมจำนวน 48 คน และตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรกันตัง  4 คน พร้อมทั้งคณะผู้บริหารเทศบาล เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2563 เวลา 13.00-16.30 น. ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง ให้ความรู้และแนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันการระบาดของโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้ - บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารจัดการสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับชุมชน  โดย นายอาธร  อุคคติ  ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม - มาตรการเฝ้าระวังป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน โดย ร.ต.ต.ชาญลิขิต  กันตังกุล จากสถานีตำรวจภูธรกันตัง - ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 /สถานการณ์การระบาดของโรค/บทบาทหน้าที่ และแนวทางของแกนนำสุขภาพชุมชน/กรรมการชุมชน ในการจัดการสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในชุมชน โดย นางนุชรี  หยังหลัง  ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง พร้อมทั้งประเมิน/ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม  ซึ่งเป็นคำถามแบบเลือกตอบ จำนวน 10 ข้อๆ ละ 1 คะแนน รวมคะแนนเต็ม 10 คะแนน ผลการประเมินความรู้ ดังนี้ - ก่อนการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 7.38
- หลังการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 9.18 2. กิจกรรมการเคาะประตูบ้าน เอ็กซเรย์พื้นที่ เพื่อคัดกรองและให้ความรู้แก่ประชาชน จำนวน 12 ชุมชน ในระหว่างวันที่ 7-15 เมษายน 2563 โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับแกนนำสุขภาพในชุมชน คณะกรรมการชุมชน และตำรวจจากสถานีตำรวจภูธรกันตัง  เอ็กซเรย์พื้นที่ เคาะประตูบ้าน โดยการสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่เดินทางมาจากนอกพื้นที่ ตรวจคัดกรองสุขภาพ ให้ความรู้การปฏิบัติตัวการป้องกันโรค จำนวน 2,605 หลังคาเรือน/ 8,976 คน 3. กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับแกนนำสุขภาพชุมชน และคณะกรรมการชุมชน เฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ ในการตรวจคัดกรองผู้มีไข้และมีอาการทางเดินหายใจ ผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศ, ต่างจังหวัด หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง (ผู้กักกันแบบ Home Quarantine) เป็นเวลา 14 วัน โดยแจกหน้ากากอนามัย ให้ความรู้เรื่องโรค/การล้างมือ/การป้องกันโรค ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 รวมทั้งหมด 525 ราย - ผู้ที่มาจากต่างประเทศ 33 ราย - ผู้ที่มาจาก จากกรุงเทพและปริมณฑล 176 ราย
- ผู้ที่มาจากต่างจังหวัด 316 ราย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพในชุมชน และคณะกรรมการชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : แกนนำสุขภาพในชุมชน และคณะกรรมการชุมชน มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังรับการอบรม ร้อยละ 80
0.00

 

2 เพื่อสนับสนุนบทบาทแกนนำสุขภาพชุมชน ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เคาะประตูบ้านให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อให้ห่างไกลจากการติดเชื้อ
ตัวชี้วัด : ประชาชนในครัวเรือนได้รับการคัดกรองโรคและมีความรู้ในการป้องกันโรค ร้อยละ 70
0.00

 

3 เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนสามารถดูแลตนเองป้องกันจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10560
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10,560
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำสุขภาพในชุมชน และคณะกรรมการชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และสามารถให้การดูแลแนะนำประชาชนในชุมชนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ (2) เพื่อสนับสนุนบทบาทแกนนำสุขภาพชุมชน ในการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เคาะประตูบ้านให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อให้ห่างไกลจากการติดเชื้อ (3) เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชนสามารถดูแลตนเองป้องกันจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมประชุมชี้แจง (2) กิจกรรมเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค (3) กิจกรรมการเคาะประตูบ้านเพื่อคัดกรองและให้ความรู้แก่ประชาชน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-01-29

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางนุชรี หยังหลัง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด