กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการลดหวาน ลดน้ำตาลสะสม ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคแทรกซ้อน

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการลดหวาน ลดน้ำตาลสะสม ชุมชนร่วมใจ ห่างไกลโรคแทรกซ้อน
รหัสโครงการ 2563-L1494-1-1
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่ามเหนือ
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2563
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 ตุลาคม 2563
งบประมาณ 16,190.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิสุทธิ์ บุญชัย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ประเด็น
แผนงานโรคเรื้อรัง
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่ามเหนือมีโรงพยาบาลศูนย์ตรังเป็นแม่ข่าย เป็น รพ.สต.ระดับกลาง รับผิดชอบ 7 หมู่บ้าน จำนวน 2,006 หลังคาเรือน ลักษณะเป็นชุมชนกึ่งเมือง พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม นับถือศาสนาพุทธ อาชีพทำการเกษตร รับจ้างเลี้ยงสัตว์ ทำสวน โดยเฉพาะสวนยางพารา สภาพเศรษฐกิจปานกลาง การคมนาคมสะดวก อยู่ห่างจากตัวจังหวัดตตรัง 10 กิโลเมตร ใช้เวลาเดิทางประมาณ 15 นาที มีร้านมินิมาร์ทหลายแห่ง มีตลาดนัดที่จำหน่ายอาหาร และสินค้าอื่น ๆ หลากหลายกระจายอยู่ในหมู่บ้าน โดยเปิดให้บริการหมุนเวียนกัน จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและกำลังในการซื้อสูง จากเดิมวิถีชีวิตเป็นระบบการเกษตรคือปลูกทุกอย่างที่กินได้ เปลี่ยนปลูกทุกอย่างที่ขายได้มีความสามารถในการใช้จ่ายและมีผลไม้ตามฤดูกาลหลายหลายชนิด ในกลุ่มผู้สูอายุ นิยมรับประทานผลไม้ภายหลังรับประทานอาหาร หรือรับประทานผลไม้รสหวานในระหว่างมื้ออาอาหาร เช่น มะม่วงสุก มะขาม สัปปะรด เป็นต้น ส่งผลให้แนวมโน้มโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป จากเดิมจะเป็นการประกอบอาหารโดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่หรือครัวเรือนประกอบอาหารรับประทานเอง ก็เปลี่ยนมาเป็นซื้ออาหารสำเร็จรูปมารับประทาน การกินอาหารจากสภาพตามท้องถิ่น เปลี่ยนมาเป็นซื้ออาหารตามร้านสะดวกซื้อหรือรถเร่แผงลอย การรับประทานเกินความจำเป็น หรือมากกว่า 3 มื่อต่อวัน การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากการทำงานกลางแจ้งต้องใช้แรงงาน เปลี่ยนเป็นทำงานนั่งโต๊ะ ขาดการออกกำลังกาย การใช้ชีวิตประจำวันที่มีแต่ความเครียด การดื่่มน้ำหวานมากเกินความจำเป็น การดื่มกาแฟซองโดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนกลายเป็นโรคเบาหวาน และพบว่าแนวโน้มผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่มีเพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2559 และผลตัวชี้วัดร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ (มากกว่าร้อยละ 40 ) ได้ 10.23% ในปี 2561 ส่งผลให้เกิดความคิดพัฒนาปรับพฤติกรรมคนในชุมชนโดยการจัดทำโครงการให้ความรู้ลดอาหารหวาน เครื่องดื่มหวาน ผลไม้หวาน โดยให้มีความรู้เข้าใจที่ถูกต้อง ส่งเสริม ป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน โดยให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่หมาะสม เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเกิดการดูแลตนเองแบบยั่งยืน

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. 1เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจในการบริโภคอาหารหวาน เครื่องดื่มหวาน และผลไม้หวานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. 2. เพื่อติดตามระดับ HbA1C หลังได้เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อีก 3 เดือนและ 6 เดือน
  3. 3. ผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1C>7% ที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจภาพรวมในระดับดี
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมจัดเตรียมสถานที่พร้อมลงทะเบียนแจกชุดสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม
  2. วิทยากรให้ความรู้ เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
  3. กิจกรรมวิทยากรให้ความรู้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารแลกเปลี่ยนผ่านโมเดลอาหาร
วิธีดำเนินการ

ขั้นเตรียมโครงการ - ประชุมการวางแผนหาแนวทางร่วมกันกับตัวแทน อสม.และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.นาท่ามเหนือ เพื่อกำหนดปัญหาที่ต้องการแก้ไขในชุมชน - ประชุมกับสหาขาวิชาชีพ ได้แก่ พยาบาล รพ.สต.นาท่ามเหนือ อสม.นักโภชนนกร เจ้าหน้าที่ประจำ รพ.สต.นาท่ามเหนือ เพื่อกำหนดบทบาทในการเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรม ชี้แจง ทำความเข้าใจโครงการในกาาแบ่งบทบาทหน้าที่ และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน - จัดเตรียมเอกสาร - แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป - สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้ป่วยที่มีค่า HbA1C>7% โดยจัดทำเป็นแบบสอบถาม - การเก็บข้อมูล FBS,HbA1C - แบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงาน - รวบรวมข้อมูลอาหารที่ผู้ป่วยนิยมบริโภคเตรียมเป็นสื่อในรูปแบบโปสเตอร์ให้อ่านเข้าใจง่าย เกี่ยวกับอาหาร ที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้นำไปปฏิบัติใช้ได้จริง - จัดอบรมให้ความรู้ให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มี HbA1C>7% โดย   - แพทย์ประจำ รพ.สต.นาท่ามเหนือ - นักโภชนาการ รพ.ตรัง - เจาะ FBS, HbA1C ที่ระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือน - ทำแบบประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจ ในการบริโภคอาหารหวาน เครื่องดื่มหวาน และผลไม้ที่มีรสหวานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ย HbA1C ลดลงจากก่อนเข้าร่วมโครงการ
  3. ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการสามารถควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ต่อเนื่องมากขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อน ลดค่าใช้จ่ายจากการรักษา และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มเป้าหมายที่เข่าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับ ไปแนะนำแก่คนในครอบครัวชุมชน ได่้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง