กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ ที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออก ไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่ที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรค นอกจากจะเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมียกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออก โดยเฉพาะในช่วงที่มีไข้สูง หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก และในปัจจุบันพบว่ามีอัตราการเกิดโรคกับผู้ใหญ่ และมีจำนวนมากขึ้นทุกปี โรคนี้มักระบาดในช่วงฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือนและโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ จานรองขาตู้กับข้าว เป็นต้น ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จาการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินการป้องกันและควาบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ กลุ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ม.8 บ้านหน้าวัง ได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพประชาชน จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และควบคุมโรคไข้เลือดออกประจำปี 2563 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง และสามารถกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ ไม่เกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80
0.00

 

 

 

2 เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80
0.00

 

 

 

3 เพื่อลดจำวนแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
ตัวชี้วัด : ค่า HI<10 , ค่า CI =0
0.00