กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อย 80 (ในระยะเวลา 5 ปี) 2.สตรีอายุ 30-70ปีได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80 3.ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 .สตรีอายุ 30-60ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อย 80 (ในระยะเวลา 5 ปี)
1.00 0.00

 

2 สตรีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : สตรีอายุ 30-70ปีได้รับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80
1.00

 

3 ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม
ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่อยู่ในระยะลุกลามลดลง
1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 74
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 74
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

จากรายงานข้อมูลข่าวสารสุขภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ การเสียชีวิตของคนไทยนั้น เกิดจากโรคมะเร็งสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง โดยในปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้ชายไทยเป็นมะเร็งตับมากที่สุด ส่วนผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด รองลงมาคือมะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด ตามลำดับ สาเหตุที่ทำให้สตรีเป็นโรคมะเร็งมีหลายสาเหตุด้วยกันไม่ว่าจะเป็น กรรมพันธุ์ วิถีชีวิต การบริโภค ผู้ป่วยที่มารับการรักษาพยาบาลส่วนใหญ่มักจะมาเมื่ออยู่ในระยะที่เป็นมากแล้ว ทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง ซึ่งวิธีการป้องกันที่สำคัญที่สุด คือการค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการ เพื่อรับการรักษาก่อนจะลุกลาม โดยให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ ถ้าได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง การฝึกทักษะในการสังเกต และการตรวจคัดกรองด้วยตนเอง เพื่อค้นหาความผิดปกติ ทำให้สามารถได้รับการดูแล รักษาได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ในขณะเดียวกัน กลุ่มสตรีสามารถดูแล และป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทุก ๆ 5 ปี กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการลดปัญหาสุขภาพ ได้แก่ สตรีอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพหามะเร็งปากมดลูกไม่น้อยกว่า ร้อยละ80 ซึ่งการดำเนินงานโครงการมะเร็งปากมดลูกดังกล่าว ยังไม่บรรลุเป้าหมายเนื่องจากการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่ทั่วถึง กลุ่มเป้าหมายยังไม่ตระหนักถึงภัยของโรคมะเร็งปากมดลูก และยังไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเท่าที่ควร
        ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับสตรี จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าว เพื่อรณรงค์เร่งรัดให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม จัดให้มีการอบรมและสอนการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และติดตามกลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายประชาชนมีสุขภาพดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) .สตรีอายุ 30-60ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น (2) สตรีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง (3) ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1.ประชาสัมพันธ์ และรณรงค์โครงการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งปากมดลูก (2) 2.อบรมให้ความรู้ สตรีอายุ 30 – 70ปี เรื่องมะเร็งปากมดลูก และการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (3) 3.ติดตามสตรีกลุ่มเป้าหมายเพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง (4) 4.ประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh