กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดกิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ/อนุกรรมการกองทุนฯ/คณะทำงาน ติดตามประเมินผล/คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองกันตัง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 25 คน โดยมีวิทยากรจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาวง พี่เลี้ยงกองทุนจังหวัดตรัง บรรยายให้ความรู้เรื่อง บทบาทหน้าที่ของกรรมการกองทุนฯ/ แนวทางการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ปี 2564 ซึ่งผลจากการประชุมพัฒนาศักยภาพนั้น ทำให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้รับความรู้ และมีความความเข้าใจในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ มากยิ่งขึ้น
  2. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพชุมชน 12 ชุมชน/ผู้นำชุมชน 12 ชุมชน/ครูอนามัยโรงเรียน/ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก/ตัวแทนชมรมผู้สูงอายุ/ตัวแทนชมรมออกกำลังกาย/ประชาชนทั่วไป/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 60 คน เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง มีผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จำนวน 66 คน ให้ความรู้เรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่และแนวทางการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในปี 2564  ปัญหาสาธารณสุขในเขตเทศบาลเมืองกันตัง แนวทางการจัดทำแผนสุขภาพ และแบ่งกลุ่มจัดทำแผนสุขภาพ พร้อมนำเสนอแผนสุขภาพอันนำสู่การปฏิบัติตามกลุ่มเป้าหมาย 5 กลุ่ม คือ
    1) กลุ่มแม่และเด็ก 0-6 ปี 2) กลุ่มเด็กวัยเรียน 3) กลุ่มวัยทำงาน/ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทั่วไป 4) กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5) กลุ่มผู้พิการ/ผู้สูงอายุ
    โดยทีมวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอกันตัง ผลการประชุมทำให้ได้รับทราบปัญหาสุขภาพที่สำคัญในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ก่อให้เกิดแนวทางการดำเนินงาน/แผนงาน/กิจกรรม/โครงการเพื่อที่จะแก้ไขปัญหา ซึ่งกิจกรรมและแนวทางแก้ไขปัญหาที่ทางภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเสนอมาจะรวบรวมจัดทำเป็นแผนสุขภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เทศบาลเมืองกันตังต่อไป
  3. สรุปค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จำนวน 29,350.- บาท

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาสุขภาพประชาชนแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน องค์กร/หน่วยงาน ชุมชน ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น
ตัวชี้วัด :
0.00

 

2 เพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคีเครือข่ายสุขภาพ และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการจัดทำแผนสุขภาพ
ตัวชี้วัด :
0.00

 

3 เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ตัวชี้วัด :
0.00

 

4 เพื่อให้กองทุนสุขภาพมีแผนสุขภาพ/แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของกองทุน เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพฯ
ตัวชี้วัด :
0.00

 

5 เพื่อเตรียมแผนงาน/แผนสุขภาพกองทุนสุขภาพฯ สำหรับปีงบประมาณ 2564
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 90 91
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 90 91

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาสุขภาพประชาชนแก่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และภาคีเครือข่ายสุขภาพต่างๆ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน องค์กร/หน่วยงาน ชุมชน ชมรมต่าง ๆ เป็นต้น (2) เพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคีเครือข่ายสุขภาพ และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการจัดทำแผนสุขภาพ (3) เพื่อเสริมศักยภาพการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพฯให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล (4) เพื่อให้กองทุนสุขภาพมีแผนสุขภาพ/แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ของกองทุน เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพฯ (5) เพื่อเตรียมแผนงาน/แผนสุขภาพกองทุนสุขภาพฯ สำหรับปีงบประมาณ 2564

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมประชุมพัฒนาศักยภาพ (2) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (3) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกองทุนฯ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh