กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการ ควบคุมป้องกัน “วัณโรค” ในชุมชน ปี 2563 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางนุชรี หยังหลัง

ชื่อโครงการ โครงการ ควบคุมป้องกัน “วัณโรค” ในชุมชน ปี 2563

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-01-20 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ ควบคุมป้องกัน “วัณโรค” ในชุมชน ปี 2563 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ ควบคุมป้องกัน “วัณโรค” ในชุมชน ปี 2563



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ ควบคุมป้องกัน “วัณโรค” ในชุมชน ปี 2563 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 63-L6895-01-20 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2563 - 30 กันยายน 2563 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 37,230.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

วัณโรคยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย โดย พ.ศ.2558 องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรงระดับโลก ทั้งวัณโรคทั่วไป วัณโรคและเอดส์ วัณโรคดื้อยาหลายขนาน พบมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 120,000 ราย หรือคิดเป็น 171 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีผู้ป่วยเสียชีวิต 12,000 ราย รวมทั้งมีปัญหาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน  คาดปีละ 2,200 ราย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเพิ่มขึ้น โดยผู้ป่วยวัณโรคเกินกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย (แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ, 2560) ประเทศไทยมีอัตราป่วยวัณโรครายใหม่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลก 1.3 เท่า มีผู้ป่วยที่ตรวจพบและรายงาน ร้อยละ 59 ของที่คาดประมาณเท่านั้น ซึ่งสะท้อนถึงการที่ผู้ป่วยส่วนหนึ่งเข้าถึงการรักษาล่าช้าหรือเข้าไม่ถึง ทำให้แพร่กระจายเชื้อในชุมชน และทำให้แต่ละปีอัตราป่วยคาดประมาณลดลงได้เพียงช้า ๆ เท่านั้น  ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการดำเนินงานในทิศทางใหม่    เพื่อสามารถยุติปัญหาวัณโรคอย่างจริงจัง ก่อนที่สถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมและรักษาด้วย  ยาสูตรพื้นฐานได้ วัณโรคเป็นโรคติดต่อทางเดินหายใจ ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว โดยสถานการณ์วัณโรคของประเทศไทยยังมีแนวโน้มที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และต้องควบคุมตามหลักการควบคุม  วัณโรคโดยเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรคและนำเข้าสู่การดูแลรักษาให้หายและกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษา มากกว่าร้อยละ 90 แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยาต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOTS ( Directly Observed Treatment System)  ซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. หรือ บุคคลในครอบครัว เพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไป ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการการป้องกันและควบคุมโรค  วัณโรค จึงได้จัดทำโครงการควบคุมป้องกัน “วัณโรค” ในชุมชน ปี 2563 ขึ้น เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการคัดกรองโรควัณโรค และสร้างความตระหนักในระดับชุมชนและร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาวัณโรคให้ลดน้อยลง โดยค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ และส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษาและควบคุมวัณโรคอย่างมีคุณภาพ และผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ให้แพร่กระจายและติดต่อผู้อื่นต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการคัดกรองโรควัณโรค
  2. เพื่อควบคุม และป้องกันการระบาดของโรควัณโรค ในชุมชน
  3. เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่
  4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษาและควบคุมวัณโรคอย่างมีคุณภาพ และผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
  2. กิจกรรมรณรงค์คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยง
  3. กิจกรรมติดตาม/เยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 105
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนนำสุขภาพชุมชน มีความรู้และทักษะการคัดกรองวัณโรค
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรคและมีความรู้ในการป้องและสังเกตอาการของโรควัณโรค
  3. ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับการติดตามรักษาจนครบ และได้รับการรักษาทุกราย

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 3 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

อบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพในชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง จำนวน  100  คน  ในวันที่ 3 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30-16.30 น.  ณ  อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง ให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค การค้นหา/คัดกรองผู้ป่วยวัณโรค/การเป็นพี่เลี้ยงกำกับดูแลการกินยา  โดย ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง พร้อมทั้งประเมิน/ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม  โดยประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลังการอบรม
- ก่อนการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 6.06
- หลังการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 8.78

 

105 0

2. กิจกรรมติดตาม/เยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค

วันที่ 7 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน  โดย เจ้าหน้าที่และแกนนำสุขภาพชุมชน เยี่ยมอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรคในชุมชน  โดย เจ้าหน้าที่ และแกนนำสุขภาพชุมชน เยี่ยมอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน  จำนวน 6 คน

 

5 0

3. กิจกรรมรณรงค์คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยง

วันที่ 19 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยง โดย แกนนำสุขภาพชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยง โดย แกนนำสุขภาพชุมชน เพื่อรณรงค์ค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที -  ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑-2563 ทุกราย -  ผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1c มากกว่า 7 ทุกราย -  ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีโรคCOPD หรือโรคไตระยะ 4,5 ทุกราย -  ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยTB -  ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป แกนนำสุขภาพชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง จำนวน  100  คน  ดำเนินการการค้นหา/คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ในเขตครัวเรือนรับผิดชอบ โดยใช้แบบตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงผู้ที่มีอาการสงสัยในวัณโรคปอด ตามกลุ่มเป้าหมาย มีผู้ได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,833 ราย พบผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรค 4 ราย

 

2,000 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. อบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพในชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง จำนวน 100 คน  ในวันที่ 3 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30-16.30 น. ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง ให้ความรู้เกี่ยวกับโรควัณโรค การค้นหา/คัดกรองผู้ป่วยวัณโรค/การเป็นพี่เลี้ยงกำกับดูแลการกินยา โดย ทีมวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง พร้อมทั้งประเมิน/ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม โดยประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลังการอบรม

- ก่อนการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนเฉลี่ย 6.06
- หลังการอบรม ผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 8.78 2. คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยง โดย แกนนำสุขภาพชุมชน เพื่อรณรงค์ค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที - ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑-2563 ทุกราย - ผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่า HbA1c มากกว่า 7 ทุกราย - ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีโรคCOPD หรือโรคไตระยะ 4,5 ทุกราย   - ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยTB   - ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป แกนนำสุขภาพชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองกันตัง จำนวน 100 คน  ดำเนินการการค้นหา/คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ในเขตครัวเรือนรับผิดชอบ โดยใช้แบบตรวจคัดกรองประเมินความเสี่ยงผู้ที่มีอาการสงสัยในวัณโรคปอด ตามกลุ่มเป้าหมาย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการคัดกรองโรควัณโรค
ตัวชี้วัด : แกนนำชุมชนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังรับการอบรม ร้อยละ 70
0.00

 

2 เพื่อควบคุม และป้องกันการระบาดของโรควัณโรค ในชุมชน
ตัวชี้วัด : ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยเป็นวัณโรค ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องร้อยละ 100
0.00

 

3 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่
ตัวชี้วัด : ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค ร้อยละ 80
0.00

 

4 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษาและควบคุมวัณโรคอย่างมีคุณภาพ และผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการป้องกันและสังเกตอาการของวัณโรคร้อยละ 80
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2110
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 105
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการคัดกรองโรควัณโรค (2) เพื่อควบคุม และป้องกันการระบาดของโรควัณโรค ในชุมชน (3) เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ (4) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลรักษาและควบคุมวัณโรคอย่างมีคุณภาพ และผู้ป่วยวัณโรคได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (2) กิจกรรมรณรงค์คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยง (3) กิจกรรมติดตาม/เยี่ยมบ้านผู้ป่วยวัณโรค

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ ควบคุมป้องกัน “วัณโรค” ในชุมชน ปี 2563 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 63-L6895-01-20

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางนุชรี หยังหลัง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด