กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลเกาะขนุน

ออกกำลังกายในผู้สูงอายุ (ชมรมผู้สูงอายุเกาะขนุน)19 มิถุนายน 2563
19
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เกาะขนุน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

๑. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเกาะขนุน ๒. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเพิ่ม ๓. ประสานงานกับทีมวิทยากรที่เกี่ยวข้อง ๔. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการตรวจฟันผู้สูงอายุ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ การใช้ยาสำหรับผู้สูงอายุ การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ การนวดคลายเครียด โรคตาต้อกระจก โรคข้อเข่าเสื่อม และโรคสองเสื่อม และ การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย ๕. ให้ความรู้เรื่องการตรวจประเมินสุขภาพผู้สูงอายุตามแบบฟอร์มกระทรวงสาธารณสุขตามด้านต่างๆ การลงบันทึกผลการ  การใช้สมุดคู่มือการดูแลสุขภาพให้ผู้สูงอายุ พร้อมทั้งคำแนะนำตามคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ๖. ให้แกนนำสุขภาพดำเนินการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ๗. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพและด้าน อื่นๆ เดือนละ ๑ ครั้ง
๘. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ/ กิจกรรมสาธารณประโยชน์ในผู้สูงอายุ ๙. จัดกิจกรรมเยี่ยมให้กำลังใจผู้สูงอายุที่บ้านในกรณีที่ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมได้              หมู่บ้านละ ๑ ครั้ง/เดือน ๑๐. ติดตามผลการตรวจคัดกรองพร้อมทั้งแยกกลุ่มผู้สูงอายุโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มดี  กลุ่มเสี่ยง  กลุ่มป่วย พร้อมทำทะเบียนผลการตรวจคัดกรองสุขภาพ ๑๑. เชื่อมโยงเครือข่ายชมรมผู้สูงอายุระดับอำเภอ ๑๒. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน หัวข้อการในอบรม ๑. การดูแลรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
๒. ๑๐ อ. กับกิจกรรมของผู้สูงอายุ
๓. การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง
๔. โภชนาการในผู้สูงอายุ
๕. อยู่อย่างสุขใจวัยสูงอายุ
๖. ออกกำลังกายเหมาะสมวัย
๗. โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ร้อยละ 70ของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
  2. ร้อยละ 70ของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
  3. ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำกระบวนการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดีตลอดไป