กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากการดำเนินโครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการมี ๒ กลุ่ม คือกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค และกลุ่มผู้ประกอบการร้านขายของชำ โดยกลุ่ม อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีผู้เข้าร่วมโครงการ ๖๐ คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๕๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๖.๖๗ เป็นเพศชาย จำนวน ๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓.๓๓ ช่วงอายุของผู้เข้าร่วมโครงการมากที่สุดคือช่วงอายุ ๔๑-๕๐ ปี จำนวน ๒๙ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๓๓ รองลงมาคือช่วงอายุ ๕๑-๖๐ ปี จำนวน ๑๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๘.๓๓ ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๓๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๓๓ รองลงมาคือระดับประถมศึกษา จำนวน ๒๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๐๐ การนับถือศาสนาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จำนวน ๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๐.๐๐ รองลงมานับถือศาสนาพุทธ จำนวน ๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๐๐ ด้านรายได้ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง ๒,๕๐๐ – ๕,๐๐๐ บาท/เดือน จำนวน ๓๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๖๗  รองลงมามีรายได้อยู่ระหว่าง ๕,๐๐๑ – ๗,๕๐๐ บาท/เดือน จำนวน ๑๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๑.๖๗ สำหรับกลุ่มผู้ประกอบการร้านขายของชำ มีผู้เข้าร่วมโครงการ ๑๖๐ คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน ๑๐๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๖.๒๕ เป็นเพศชาย จำนวน ๕๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๗๕ ช่วงอายุของผู้เข้าร่วมโครงการมากที่สุดคือช่วงอายุ ๔๑-๕๐ ปี จำนวน ๕๒ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๕๐ รองลงมาคือช่วงอายุ ๓๑-๔๐ ปี จำนวน ๔๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๕๐ ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๗๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๔.๓๘ รองลงมาคือระดับ ปวช./ปวส. หรืออนุปริญญาตรี จำนวน ๕๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๑๒ การนับถือศาสนาส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จำนวน ๑๓๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๑๒ รองลงมานับถือศาสนาพุทธ จำนวน ๒๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๖.๘๘ ผู้ประกอบการร้านขายของชำจำหน่ายสินค้ามากกว่าหนึ่งชนิด จำนวน ๑๔๒ ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๘๘.๗๕ โดยสินค้าที่จำหน่ายในร้านขายของชำส่วนใหญ่ ได้แก่ ยา อาหารสำเร็จรูป เครื่องสำอาง และเครื่องปรุงรส มีเพียง ๑๘ ร้าน ที่จำหน่ายสินค้าเพียงอย่างเดียวคืออาหารแปรรูป จำพวกอาหารจานเดียวและก๋วยเตี๋ยว ด้านรายได้ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง ๗,๕๐๑ – ๑๐,๐๐๐ บาท/เดือน จำนวน ๗๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๘.๑๒  รองลงมามีรายได้อยู่ระหว่าง ๕,๐๐๑ – ๗,๕๐๐ บาท/เดือน จำนวน ๖๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๓๘

๑.๑ การสุ่มตรวจร้านขายของชำในชุมชนโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค       ร้านขายของชำในพื้นที่รับผิดชอบมีทั้งหมด ๑๖๐ ร้าน ได้ดำเนินการสุ่มตรวจร้านขายของชำโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน ๖๘ ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๕๐ ผลการสุ่มตรวจปรากฏผลดังนี้ ๑. ร้านขายของชำในชุมชน     - พบร้านขายของชำที่จำหน่ายยาที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ จำนวน ๕๕ ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๘๐.๘๘     - พบร้านขายของชำที่จำหน่ายยาที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำเพียง ๕ ร้าน คิดเป็น ร้อยละ ๗.๓๖     - พบร้านขายของชำที่ไม่จำหน่ายยา จำนวน ๘ ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๗๖ ๒. เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ     - พบร้านขายของชำที่จำหน่ายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้คุณภาพ จำนวน ๖๖ ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๐๖     - พบร้านขายของชำที่จำหน่ายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพ เพียง  ๒ ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๒.๙๔ ๑.๒ การประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม / การอบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพ อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค       ผลการประเมินพบว่า หลังเข้ารับการอบรม ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๙๐ ซึ่งข้อคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ ข้อคำถามที่ ๓ ผลิตภัณฑ์ยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้จำหน่ายสามารถสังเกตได้จากสัญลักษณ์    เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๓.๓๓ เป็นร้อยละ ๙๒.๓๓ รองลงมาคือข้อคำถามที่ ๑ ยาที่สามารถวางขายได้ในร้านขายของชำคือ ยาแก้ไอน้ำดำ ตราเสือดาว ๖๐ ซีซี และข้อคำถามที่ ๒ การขายยาทรามาดอล (แคปซูลเหลือง –เขียว) หรือยาแก้ไอที่ผสม Diphenhydramine ในร้านขายของชำ ถือเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายมาตรา ๑๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งทั้งสองข้อมีการเปลี่ยนแปลงเท่ากันคือร้อยละ ๘๓.๓๓ และข้อที่ไม่เปลี่ยนแปลงเลย คือข้อที่ก่อนและหลังการอบรมมีคะแนนร้อยละ ๑๐๐ เท่ากัน ได้แก่ข้อคำถามที่ ๔ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการดูแลตนเองคือเมื่อมีอาการท้องเสีย ควรรีบกินผงน้ำตาลเกลือแร่เพื่อชดเชยน้ำและแร่ธาตุทันที ๑.๓ การประเมินความรู้ก่อนและหลังการอบรม / การอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านขายของชำ       ผลการประเมินพบว่า หลังเข้ารับการอบรม ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ ๘๕ ซึ่งข้อคำถามที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ ข้อคำถามที่ ๑๓ ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลเครื่องสำอางได้จาก web site  www.fda.moph.go.th “เลือกเครื่องสำอาง”เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๘.๓๓ เป็นร้อยละ ๘๗.๑๕ รองลงมาคือข้อคำถามที่ ๓ ผลิตภัณฑ์ยาที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้จำหน่ายสามารถสังเกตได้ จากสัญลักษณ์      เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๙.๑๗ เป็นร้อยละ ๘๗.๒๔ และข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดคือข้อคำถามที่ ๔ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการดูแลตนเองคือเมื่อมีอาการท้องเสีย ควรรีบกินผงน้ำตาลเกลือแร่เพื่อชดเชยน้ำและแร่ธาตุทันที เปลี่ยนแปลงเพียงร้อยละ ๑๐.๙๒ ๑.๔ ร้านขายของชำในชุมชนได้รับการตรวจสอบ/ติดตาม และเฝ้าระวัง       ในการดำเนินโครงการได้แบ่งการตรวจสอบ/ติดตาม และเฝ้าระวังออกเป็น ๒ ช่วง คือ     - ช่วงที่ ๑  อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค ได้ทำการสำรวจร้านขายของชำในชุมชน และตรวจสอบในเบื้องต้นว่าร้านขายของชำแต่ละร้านจำหน่ายสินค้าประเภทใดบ้าง โดยได้ทำการสำรวจครบ    ทุกร้าน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐.๐๐     - ช่วงที่ ๒ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกับ อสม. แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินการสุ่มตรวจร้านขายของชำในชุมชน จำนวน ๖๘ ร้าน คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๕๐ ๑.๕ การประเมินความพึงพอใจ       ผลการประเมินความพึงพอใจจากแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ประกอบการร้านขายของชำ จำนวน ๑๖๐ คน พบว่า                 ๑. ด้านการบริการของคณะดำเนินการ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพึงพอใจในเรื่อง การลงทะเบียนมากที่สุด ร้อยละ ๘๑.๓๒ รองลงมาคือการต้อนรับ ร้อยละ ๗๘.๙๔                 ๒. ด้านวิทยากร พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพึงพอใจในเรื่อง การถ่ายทอดความรู้ของวิทยากรมากที่สุด ร้อยละ ๖๓.๔๕ รองลงมาคือ การตอบคำถามของวิทยากร ร้อยละ ๖๑.๔๙                 ๓. ด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพึงพอใจในเรื่อง สถานที่สะอาดและมีความเหมาะสมมากที่สุด ร้อยละ ๘๕.๘๗ รองลงมาคือความเหมาะสมของอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ ๗๐.๒๓                 ๔. ด้านการนำความรู้ไปใช้ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งพึงพอใจในเรื่องสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้ ร้อยละ ๗๔.๕๓ รองลงมาคือ สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่/ถ่ายทอดแก่ชุมชนได้ ร้อยละ ๖๗.๖๐       โดยสรุปพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือระดับมาก

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดจากการจำหน่ายยา ที่ไม่สามารถจำหน่ายในร้านขายของชำ 2. ร้อยละ 80 ของร้านขายของชำในชุมชนปลอดจากการจำหน่ายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ไม่ได้คุณภาพ

 

2 เพื่อให้อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ
ตัวชี้วัด : อาสาสมัครสาธารณสุข แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80

 

3 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ
ตัวชี้วัด : ผู้ประกอบการร้านขายของชำ มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80

 

4 เพื่อเฝ้าระวังการขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพในร้านขายของชำ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของร้านขายของชำได้รับการตรวจสอบ/ติดตาม และเฝ้าระวัง

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ (2) เพื่อให้อสม.แกนนำคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ (3) เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้านมีความรู้เกี่ยวกับอาหาร ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพ (4) เพื่อเฝ้าระวังการขายยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และบริการสุขภาพในร้านขายของชำ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh