โครงการยิ้มสดใสเด็กเล็กฟันแข็งแรง
ขั้นเตรียมการ
1. ดำเนินการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
2. ประชุมให้ความรู้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน และกรรมการสถานศึกษา โดยวิทยากรเรื่องสุขภาพช่องปาก
3. จัดเตรียมความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการดำเนินโครงการ
ขั้นดำเนินการ
1. กิจกรรมการให้ความรู้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง นักเรียน เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในช่องปากของนักเรียน โดยวิทยากรเรื่องสุขภาพช่องปาก
1.1 ประชุมครูผู้ดูแลเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครอง คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ
1.2 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น โมเดลฟันผุ โมเดลฟันสวย แปรงสีฟัน แก้วน้ำ ยาสีฟัน ภาพเด็กฟันผุเนื่องจากดูแลสุขภาพช่องปากไม่ถูกวิธี เป็นต้น
1.3 จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนโดยวิทยากร 1 คน
2. กิจกรรมการแปรงฟัน
2.1 วิทยากรนำอุปกรณ์ในการแปรงฟันขึ้นมาแนะนำชื่ออุปกรณ์ประกอบด้วย แปรงสีฟัน 1 ด้าม ยาสีฟันผสม ฟลูออไรด์ 1 หลอด โมเดลฟันปลอม 1 ชุด แก้วน้ำ 1 ใบ น้ำสะอาด 1 แก้ว
2.2 วิทยากรนำยาสีฟันขึ้นมาโดยให้นักเรียนสังเกตว่ายาสีฟันที่ใช้ต้องผสมฟลูออไรด์ด้วย ยาสีฟันควรเลือกที่มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์เหมาะสมกับช่วงวัยของผู้ใช้ สังเกตได้บนบรรจุภัณฑ์ของยาสี
2. กิจกรรมการแปรงฟัน (ต่อ)
ฟันแต่ละยี่ห้อ โดยช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรใช้ยาสีฟันในปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยใช้ส่วนของหัวแปรงสีฟันป้ายยาสีฟันบางๆ ทั้งนี้ ไม่ควรให้เด็กเลียหรือกินยาสีฟันเล่นเด็ดขาด เด็กอายุ 2 -5 ปี ใช้ยาสีฟันที่มีปริมาณฟลูออไรด์ 1,350 ส่วนในล้านส่วนได้ แต่ควรใช้ในปริมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียวเท่านั้น หากเด็กไม่มีฟันผุ ก็สามารถใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าได้ จากนั้นวิทยากรบีบยาสีฟันใส่แปรงสีฟันขนาดเมล็ดถั่วเขียวโดยแปรงที่ใช้เป็นแปรงขนนุ่มไม่แข็งจนเกินไปขนาดพอดีกับช่องปากเด็กเล็ก นำแปรงจุ่มน้ำในแก้ว แล้วนำแปรงถูโมเดลฟันตามขั้นตอนการแปรงฟันที่ถูกวิธีคือ โดยเริ่มแปรงตามขั้นตอนดังนี้
ทำความสะอาดด้านนอกของฟันบนจากนั้นต่อด้วยฟันล่าง
ทำความสะอาดด้านในของฟันบนจากนั้นต่อด้วยฟันล่าง
ทำความสะอาดบริเวณที่ใช้บดเขี้ยวอาหาร
เพื่อให้มีลมหายใจที่สดชื่น อย่าลืมทำความสะอาดลิ้นด้วย
4. กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปาก
ครูประจำชั้นประเมินสุขภาพช่องปากหลังแปรงฟันของนักเรียนแต่ละคน โดยประเมินสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ลงในแบบบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร นักเรียนคนใดมีฟันผุต้องติดต่อผู้ปกครองให้พาบุตรหลานไปดูแลรักษาฟันที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้เคียงกับที่นักเรียนอาศัย
ขั้นประเมินผล
ติดตามการดำเนินโครงการ
สรุปโครงการ
1.เด็กอายุ 2-5 ปี ลดการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 75 2.เด็กได้แปรงฟัน ร้อยละ 100 3.เด็กได้ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ร้อยละ 100