กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า (AED)

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า (AED)
รหัสโครงการ 2563-L1494-2-24
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่ามเหนือ
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2563
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มีนาคม 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 18,486.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิสุทธิ์ บุญชัย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ประเด็น
แผนงานโรคเรื้อรัง
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เกิดจากโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิต และอุบัติเหตุ/การจมน้ำ ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้อาจมีอาการที่ปิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือบางรายอาจมีภาวะการหยุดหายใจกะทันหัน ถ้าปล่อยไว้นานเกิน 4 นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้ ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวรทำให้มีความพิการร่างได้   ดังน้ัน การอบรมหลักสูตรปฐมพยาบาล การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า ที่ถูกต้อง ถูกวิธี ทันท่วงทีจึงเป็นที่สำคัญซึ่งจะทำให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการช่วยเหลือถูกต้อง จะทำให้ผู้รับบาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตก่อนนำส่งโรงพยาบาลและกลับคืนมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้ รพ.สต.นาท่ามเหนือ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว โดยประชาชนจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะในการประเมิน การช่วยเหลือเบื้องต้นและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้า ได้เข้าใจถูกต้อง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นภายใต้ความร่วมมือจากทีมผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลตรังสนับสนุนให้ความรู้ในครั้งนี้

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้า
  2. เพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการอบรมสามารถประเมินและมีทักษะใน 9 ให้การปฐมพยาบาลเยบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพได้ถูกต้อง
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดเตรียมสถานที่พร้อมลงทะเบียนเอกสารแก่ผู้เข้าอบรม
  2. วิทยากรให้ความรู้เรื่องช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้า
  3. วิทยากรแบ่งฐานย่อย 2 กลุ่ม ฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้า
วิธีดำเนินการ
  1. จัดทำโครงการเสนอเพื่อของบประมาณจากกองทุนฯ
  2. ขั้นดำเนินการ
  3. จัดอบรมให้ความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้า จำนวน 51 คน
  4. แบ่งกลุ่มเข้าฐานฝึกทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้า จำนวน 51 คน
  5. รายงานและประเมินผล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพ เบื้องต้น และการใช้เครื่องมือกระตุกไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง
  2. กลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินคนไข้และมีทักษะในการช่วยเหลือกฟื้นคืนชีพ (เบื้องต้น) และการใช้เครื่องมือกระตุกไฟฟ้าได้ถูกต้อง