กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แผนงานบุหรี่ ปี 2564 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า
อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง
ประจำปีงบประมาณ 2564

stars
ข้อมูลแผนงาน
ชื่อแผนงาน แผนงานบุหรี่ ปี 2564 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า
ประเด็นแผนงาน แผนงานยาสูบ
องค์กร กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า
ปีงบประมาณ 2564
stars
สถานการณ์ปัญหา
สถานการณ์ปัญหาแบบสอบถาม
navigate_before 2563 navigate_next
ขนาด
1 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
จำนวนเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 15-25 ปี ในชุมชน ที่มีการสูบยาสูบ
จำนวนเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 15-25 ปี ในชุมชนทั้งหมด
2 ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
จำนวนผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน ที่สูบยาสูบ
จำนวนผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชนทั้งหมด
3 ปริมาณการสูบยาสูบของผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเฉลี่ยต่อวัน

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
ท่านสูบยาสูบวันละกี่มวน
4 ค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสูบของผู้สูบยาสูบเฉลี่ยต่อเดือน

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของท่านในการบริโภคยาสูบทุกชนิด
5 จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ)

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ)
6 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
จำนวนกลุ่มและเครือข่ายเพื่อควบคุมยาสูบในชุมชนของท่าน

 

stars
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ตัวชี้วัดขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

2 เพื่อลดการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

3 เพื่อลดปริมาณการสูบยาสูบของผู้สูบบุหรี่ อายุ 15 ปีขึ้นไปในชุมชน

ปริมาณการสูบยาสูบของผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปเฉลี่ยต่อวัน

4 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสูบของผู้สูบยาสูบเฉลี่ยต่อเดือนในชุมชน

ค่าใช้จ่ายในการซื้อยาสูบของผู้สูบยาสูบเฉลี่ยต่อเดือน

5 เพื่อลดจำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย

จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ)

6 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

stars
แนวทาง/วิธีการสำคัญ
แนวทางวิธีการสำคัญ
1 เพื่อสกัดกั้นนักสูบรายใหม่ในชุมชน

โดยการ: - คัดกรองและปรับพฤติกรรม - พัฒนาศักยภาพแกนนำ - จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังในชุมชน

วิธีการสำคัญ 1. ระบุกลุ่มเป้าหมายที่อาจกลายเป็นผู้สูบรายใหม่ของชุมชน เช่น เด็ก เยาวชน และสตรี ฯลฯ พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน เช่น บ้าน ชุมชน โรงเรียน 2. จัดตั้งทีมปฏิบัติการชุมชน เพื่อสำรวจ และค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน หรือ เสี่ยงที่จะเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบได้โดยง่าย 3. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสูบ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน 4. พัฒนาแกนนำ และเครือข่ายป้องกันระดับเยาวชน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมยาสูบ 5. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 6. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน 7. ส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาของชุมชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยให้มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องการควบคุมยาสูบและการเลิกยาสูบ และสนับสนุนให้มีโครงการสร้างผู้นำนักศึกษาในด้านการควบคุมยาสูบ

2 เพื่อส่งเสริมกลไกในการลดการเข้าถึงยาสูบ
  1. วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการกลไกในการลดการเข้าถึงยาสูบ เช่น ร้านค้าชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียน และตัวแทนชุมชนที่จะร่วมมือกันควบคุมยาสูบในชุมชน
  2. ส่งเสริมร้านค้าชุมชนให้มีการจดทะเบียนและปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ คือ
    • กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
    • ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ
    • ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่ ได้แก่
        (1) วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
        (2) สถานพยาบาลและร้านขายยา
        (3) สถานศึกษาทุกระดับ
        (4) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
    • กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต
    • ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรมซีเอสอาร์  อุปถัมภ์สนับสนุนบุคคล หรือองค์กร ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยาสูบ
    • ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองยาสูบ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น
    • ห้ามแบ่งซองขายยาสูบเป็นรายมวน
    • ให้เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบยาสูบในเขตปลอดยาสูบเป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท
    • กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดยาสูบ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบยาสูบในเขตปลอดยาสูบ  หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ เจ้าของสถานที่มีโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท
3 เพื่อจัดบริการช่วยเลิกหรือส่งเสริมการเลิกยาสูบอย่างเป็นระบบ

บริการช่วยเลิกหรือส่งเสริมการเลิกยาสูบอย่างเป็นระบบ เช่น - กิจกรรมช่วยเลิกเชิงรุก - คลินิกเคลื่อนที่ - คลินิกชุมชน - และการติดตามอย่างต่อเนื่อง

โดยระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น - ในกลุ่มสูบ
- กลุ่มต้องการเลิกสูบ
- และกลุ่มที่พยายามเลิกและยังเลิกไม่สำเร็จ

วิธีการ

  1. การค้นหาและทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชน ผู้สูบที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
  2. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน และการค้นหาผู้สูบที่ต้องการเลิกและการให้บริการช่วยเลิกยาสูบในชุมชน
  3. การพัฒนาบุคลากรในชุมชนมาเป็นเครือข่ายช่วยเลิกยาสูบ หรือ การให้คำปรึกษา เช่น บุคลากรสาธารณสุข อสม. ครู ฯลฯ
  4. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงานด้านการติดตามเยี่ยมเยียน ต่อผู้มารับบริการเลิกยาสูบให้สามารถเลิกได้สำเร็จ
  5. การพัฒนากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเลิกยาสูบในชุมชน
  6. การจัดบริการส่งต่อผู้สูบที่ไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่
  7. การจัดกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การหลีกเลี่ยงการทดลองสูบยาสูบ และการลดและเลิก การสูบยาสูบ และไม่ควรสูบยาสูบในที่สาธารณะ
  8. การกำหนดระยะเวลาในการติดตามความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ชัดเจน เช่น 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน เพื่อประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสถานะของผู้สูบ เช่น ยังสูบอยู่ ลดปริมาณการสูบลง หรือ สามารถเลิกสูบได้แล้ว เป็นต้น
  9. กำหนดวิธีการติดตามความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ชัดเจน เช่น เยี่ยมบ้าน โทรศัพท์ การส่งข้อความทางไลน์ หรือ เฟสบุ๊ค รวมทั้ง การใช้บริการผ่านอสม.เป็นต้น
4 เพื่อพัฒนาทางเลือกในการช่วยเลิกยาสูบตามบริบทชุมชน

(ระบุวิธีช่วยเลิกและกลุ่มเป้าหมาย) - การเพิ่มจำนวนผู้เลิกสูบ - การลดจำนวนผู้กลับมาสูบซ้ำ - การลดปริมาณการสูบสำหรับผู้ที่สูบอยู่

วิธีการ

  1. การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือกเพื่อช่วยเลิกยาสูบแบบอื่นๆ ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. สนับสนุนการสร้างกลุ่มอาชีพเสริมรายได้ครัวเรือนในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกยาสูบในชุมชน
  3. ส่งเสริมการแพทย์แผนไทยให้มีบทบาทในการเลิกสูบยาสูบ เช่น
    • การใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาว ทีถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติปี 2555 โดยมีฤทธิ์ทำให้ลิ้นฝาดและไม่อยากสูบยาสูบ
    • การนวดกดจุดสะท้อนเท้า เน้นกดที่ตำแหน่งจุดสะท้อนไปยังส่วนของสมองเพื่อกระตุ้นให้หลั่งสารเคมีออกมา ทำให้ร่างกายอยากสูบยาสูบลดน้อยลงซึ่งเป็นการช่วยเลิกยาสูบโดยไม่ใช้ยา
5 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายโดยการสร้างและพัฒนามาตรการควบคุมยาสูบในระดับชุมชน สำหรับควบคุมการสูบและการจำหน่าย
  1. กำหนดนโยบายการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดการสูบยาสูบในชุมชน เช่น วัด มัสยิด สถานที่สาธารณะ
  2. มีคณะกรรมการชุมชน ที่ทำหน้าที่กำหนดกฎ กติกา และมาตรการควบคุมยาสูบในชุมชน
  3. การประกาศและการบังคับใช้ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมยาสูบในชุมชน ที่มีเงื่อนไขจากการได้ประโยชน์จากการปฏิบัติตามกฎ และ เสียประโยชน์จากการไม่ปฏิบัติตาม (การให้คุณให้โทษทางสังคม)
  4. การสอดแทรกเรื่องยาสูบในทุกกิจกรรมของชุมชน เช่น การบรรยายทางศาสนา ธรรมเทศนา หรือ การอ่านคุตบะห์ในการละหมาดวันศุกร์
  5. การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมยาสูบของชุมชน
6 เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบยาสูบโดยลดการสัมผัสควันยาสูบมือสอง

โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบในชุมชน
- การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น มีนโยบายห้ามสูบยาสูบในอาคาร สถานที่ทำงาน และยานพาหนะสาธารณะ - การเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคม เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เช่น การเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมต่อการสูบยาสูบ

วิธีการ

  1. การประกาศนโยบายขยายเขตปลอดยาสูบในชุมชนเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบยาสูบในทุกสถานที่ที่มีผู้คนชุมนุมกัน เช่น
    • ตลาดนัดถนนคนเดินปลอดยาสูบ และ ร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศ
    • งานบุญงานประเพณีปลอดยาสูบ
    • นโยบายครัวเรือนปลอดควันยาสูบ (smoke free home)
    • การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของที่ทำงานให้ปราศจากการสูบยาสูบในอาคาร
  2. กำหนดให้สถานที่สาธารณะที่ประกาศงดสูบยาสูบตามกฎหมายจะต้องปลอดการสูบยาสูบ 100% โดยการแสดงเครื่องหมายเขตปลอดยาสูบ และแสดงอัตราโทษกรณีที่มีการละเมิด ได้แก่ 2.1 สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพทุกประเภท     • คลินิก โรงพยาบาล รวมถึงสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล     • คลินิก โรงพยาบาลสัตว์ รวมถึงสถานพยาบาลสัตว์     • สถานีอนามัย สถานบริการสุขภาพทุกประเภท     • ร้านขายยา     • สถานประกอบกิจการนวดแผนไทย หรือแผนโบราณ     • สถานที่ให้บริการอบความร้อน อบไอน้ำ อบสมุนไพร     • สถานประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ กิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือกิจการนวดเพื่อความงาม 2.2 สถานศึกษา     • สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน     • โรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาระดับที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา     • สถานกวดวิชา สถานที่สอนกีฬา ดนตรี ขับร้อง การแสดง ศิลปะป้องกันตัว ศิลปะ ภาษาและอื่นๆ ศิลปะ ภาษาและอื่นๆ     • สถานฝึกอบรมอาชีพ     • อุทยานการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ หรือศูนย์การเรียนรู้ชุมชน     • หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์สถาน หรือสถานที่จัดแสดงศิลปวัฒนธรรม 2.3 สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน     • อัฒจันทร์หรือสถานที่ดูกีฬาทุกประเภท     • สถานที่ออกกำลังกาย ซ้อมกีฬา เล่นกีฬา หรือสนามแข่งขันกีฬาทุกประเภท ทั้งในร่มและกลางแจ้ง     • สระว่ายน้ำ 2.4 ร้านค้า สถานบริการ และสถานบันเทิง     • โรงมหรสพ โรงละคร โรงภาพยนตร์     • สถานที่จัดเลี้ยงทั้งหมด     • สถานบริการตามพระราชบัญญัติสถานบริการ
        • สถานที่ให้บริการคาราโอเกะหรือสถานบันเทิงอื่นๆ     • สถานที่บริการคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต หรือเกมส์     • สถานที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารและเครื่องดื่มที่มีระบบปรับอากาศ     • อาคารร้านค้าประเภทห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า     • สถานที่จำหน่าย แสดง จัดนิทรรศการสินค้าหรือบริการ 2.5 บริเวณโถงพักคอย และบริเวณทางเดินทั้งหมดภายในอาคาร     • โรงแรม รีสอร์ท หรือสถานที่พักตากอากาศ     • ห้องเช่า หอพัก อพาร์ทเมนต์ คอร์ท หรือสถานที่ที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน     • อาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม 2.6 สถานบริการทั่วไป     • อาคารหรือสถานที่ที่ใช้ในการจัดประชุม อบรม สัมมนาหรือ สันทนาการ     • ร้านตัดผม สถานเสริมความงาม ร้านตัดเสื้อผ้า     • ธนาคารหรือสถาบันการเงิน 2.7 สถานที่สาธารณะทั่วไป     • ห้องสมุด     • สุขา     • ตู้โทรศัพท์สาธารณะ หรือบริเวณที่ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ     • ลิฟต์โดยสาร     • สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก     • สนามเด็กเล่น     • ตลาด 2.8 ยานพาหนะสาธารณะ ในขณะให้บริการไม่ว่าจะมีผู้โดยสารหรือไม่ก็ตาม     • รถโดยสารประจำทาง     • รถแท็กซี่     • รถไฟ รถราง     • รถตู้โดยสาร     • รถรับส่งนักเรียนหรือนิสิตนักศึกษาทุกประเภท     • ยานพาหนะโดยสารที่ใช้ในภารกิจที่เป็นลักษณะส่วนกลางของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งของเอกชน     • กระเช้าโดยสาร/เรือโดยสาร/เครื่องบิน     • ยานพาหนะโดยสารอื่นๆ ทั้งประเภทประจำทางและไม่ประจำทา     • สถานีขนส่งสาธารณะ และที่พักผู้โดยสาร
        • ป้ายรถโดยสารประจำทาง และบริเวณที่ใช้รอก่อนหรือหลังการใช้บริการยานพาหนะโดยสารทุกประเภท 2.9 ศาสนสถาน /สถานปฏิบัติธรรมในศาสนาและนิกายต่างๆ เช่น วัด มัสยิด โบสถ์ เป็นต้น
  3. การประเมินติดตามผล และกำหนดมาตรการให้คุณให้โทษแก่ผู้ที่ปฏิบัติตาม หรือต่อผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืน
7 เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารข้อมูลยาสูบในชุมชน

เน้นการตื่นรู้ของชุมชนให้รู้เท่าทันพิษภัยยาสูบและกลยุทธ์อุตสาหกรรมยาสูบ (ระบุ รูปแบบการสร้างกระแส/พัฒนารูปแบบการสื่อสาร/ชุดทดลองอันตรายจากยาสูบ ฯลฯ)

วิธีการ

  1. กิจกรรมการสร้างกระแสรณรงค์ตามช่องทางต่างๆ เช่น เสียงตามสาย รายการวิทยุชุมชน
  2. พัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับการรณรงค์ทางสังคมให้เกิดการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมการไม่สูบยาสูบ
  3. การสร้างสื่อเชิงประจักษ์ เช่น ชุดทดลอง/อุปกรณ์สาธิตอันตรายจากยาสูบ
  4. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านยาสูบและสุขภาพของชุมชน เช่น สถิติการป่วย-การตายของประชากรในชุมชน สถิติอุบัติการณ์ความชุกโรคไม่ติดต่อและพิการ และจัดให้มีการสะท้อนข้อมูลเหล่านี้สู่ชุมชน เพื่อร่วมกันควบคุมแก้ไขปัญหา
  5. ส่งเสริมการผลิตสื่อหรือการละเล่นในชุมชน เช่น หนังตะลุง มโนราห์ ที่เน้นการให้ความรู้ การชี้แนะ (Advocate) ของพิษภัยยาสูบต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
8 เพื่อเพิ่มผู้ขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบในระดับพื้นที่
  1. สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านท้องถิ่น ในระดับตำบล หมู่บ้าน เช่น ในรูปของกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้ไม่สูบยาสูบ ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมปอดสะอาด
  2. ส่งเสริมให้กลุ่ม / ชมรม เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน และกลุ่มอาสาเฝ้าระวังยาสูบในชุมชน
  3. จัดประชุมกลุ่มเพื่อนำเสนอปัญหาและหาทางแก้ไข ประจำสัปดาห์ /เดือน
  4. การเสวนาระดับท้องถิ่น / ชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกัน
  5. จัดโปรแกรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเลิกสูบยาสูบ หรือค่ายเลิกยาสูบโดยชุมชน
  6. ส่งเสริมให้กลุ่ม / ชมรม / สมาคม องค์กรเอกชนต่างๆ ในชุมชน มีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ เช่น เวทีสมัชชาสุขภาพของจังหวัด
  7. ส่งเสริมการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของกลุ่มคนทำงานด้านการควบคุมยาสูบที่ทำงานในระดับพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
9 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยการสร้างพื้นที่และบุคคลต้นแบบด้านการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชนแบบครบวงจร

• ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน     • หอชุมชนแสดงรางวัลเชิดชูเกียรติ (บุคคลต้นแบบ และพื้นที่ต้นแบบ)     • กลุ่มเยาวชนแกนนำในการขับเคลื่อน     • ทำเนียบบุคคลต้นแบบด้านการ ลด ละ เลิกยาสูบ     • แหล่งรวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ

วิธีการ

  1. การกำหนดความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมร่วมกันของชุมชน (mindset) ว่า ยาสูบในชุมชนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้
  2. การสร้างทีมปฏิบัติการชุมชนแบบบูรณาการ ที่ประกอบด้วย ผู้บังคับใช้กฎหมาย เช่น ตำรวจ ผู้นำศาสนา ผู้นำทางศรัทธา เช่น เจ้าอาวาส พระ ปราชญ์ในหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ผู้แทนในระดับท้องถิ่น หน่วยบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการด้านสุขภาพในท้องถิ่น และ ตัวแทนสมาคม ชมรม ต่างๆ ในชุมชน เป็นต้น
  3. การสำรวจทุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบในชุมชน เช่น     • ด้านการบริหารงานโครงการ โดยเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถในการขับเคลื่อนบริหารจัดการโครงการ     • ด้านแกนนำชุมชน เป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือและเป็นผู้ที่มีความสามารถกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนได้     • ด้านผู้นำด้านสุขภาพ เป็นแกนนำในการหาข้อมูลเชิงลึก การลงพื้นที่ การประสานงานโดยตรงกับประชาชน     • ด้านศาสนาเป็นบุคคลที่มีเป็นผู้นำการสั่งสอน ให้รู้ถึงศีลธรรม วัฒนธรรมอันดี เพื่อโน้นน้าวจิตใจของประชาชน โดยมีศาสนาเป็นสื่อนำ     • ด้านการศึกษา โดยเป็นแกนนำที่คอยสนับสนุนและส่งเสริมด้านการศึกษา ให้ความรู้แก่นักเรียนและประชาชนทั่วไปได้     • กลุ่มทางสังคม องค์กรชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ สภาเด็กและเยาวชน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชมรมคนพิการ
  4. การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้ม สภาพปัญหาและความต้องการควบคุมการบริโภคยาสูบของพื้นที่ เพื่อประเมินสภาพชุมชนร่วมกันว่ามีกิจกรรมดำเนินงานเพื่อการจัดการและควบคุมยาสูบในชุมชนหรือไม่ เช่น     • ในชุมชนมีหน่วยบริการสุขภาพที่มีระบบบริการช่วยเลิกยาสูบหรือไม่     • ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่     • ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่     • ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่     • ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่     • ในชุมชนมีการประเมินการบริโภคยาสูบของประชาชนหรือไม่     • ในชุมชนมีการคัดกรอง การประเมินการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่     • ในชุมชนมีการให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับโทษของการบริโภคยาสูบและการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่     • ในชุมชนมีระบบส่งต่อผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรหรือการบริการของชุมชนสำหรับการหยุดบริโภคยาสูบหรือไม่     • ในชุมชนมีบุคคลหรือพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการควบคุมยาสูบหรือไม่
  5. กำหนดทิศทางและแนวทางการจัดการปัญหาการบริโภคยาสูบในเขตของพื้นที่รับผิดชอบ เช่น
        • การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน     • เน้นการศึกษาให้รู้ข้อมูล/ความจริง     • การทำงานเชิงรุกแทนการตั้งรับ     • คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องรอบด้าน     • มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและเป็นระบบ     • ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันดำเนินงาน
  6. การต่อยอดให้เป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบของชุมชน ที่อาศัยทั้ง
    (1) นักบริหาร (2) นักวิชาการชุมชนท้องถิ่น (3) นักจัดการและนักจัดกระบวนการชุมชน
    (4) นักจัดการข้อมูล และ
    (5) นักสื่อสารสุขภาพในชุมชน
  7. ติดตามอย่างต่อเนื่องและเสริมพลังอำนาจของทุกฝ่าย
paid
งบประมาณที่ตั้งไว้ตามแผนงาน (บาท)
50000.00
stars
โครงการที่ควรดำเนินการ
ชื่อโครงการย่อยประเภทผู้รับผิดชอบงบประมาณที่ตั้งไว้ (บาท)
1 โครงการ ลด ละ เลิกบุหรี่ รพ.สต. 50,000.00
stars
โครงการที่ขอการสนับสนุนจากกองทุน
ปีงบประมาณชื่อพัฒนาโครงการประเภทองค์กรรับผิดชอบงบประมาณ (บาท)
1 2564 โครงการ อสม.วัยใสใส่ใจคนสูบบุหรี่ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านศาลามะปราง 21,850.00
รวม 21,850.00
stars
โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อติดตาม
ปีงบประมาณชื่อติดตามโครงการประเภทองค์กรรับผิดชอบงบประมาณ (บาท)
1 2564 โครงการ อสม.วัยใสใส่ใจคนสูบบุหรี่ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านศาลามะปราง 21,850.00
รวม 21,850.00