กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

รายละเอียดโครงการ
รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการรณรงค์คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
รหัสโครงการ 2563-L1494 -
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านวังโตน หมู่ที่ 13
วันที่อนุมัติ 28 สิงหาคม 2563
ปี 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 14,175.00
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพิมพร สมาธิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ประเด็น
แผนงานโรคเรื้อรัง
สถานการณ์/หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้นอุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก   ดังนั้น ดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโดยใช้เครือข่ายระหว่าง รพ.สต.กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชน จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ ในพื้นที่หมู่ที่ 13 บ้านวังโตน มีประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปจำนวน 324 คน อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 12 คน และเพื่อนแก้ปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านวังโตน หมู่ที่ 13 จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมีพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง

วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
  1. ้เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูง
  2. เพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่ออย่างเป็นระบบ
การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. กิจกรรมให้บริการตรวจคัดกรองแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
วิธีดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ 1. เตรียมกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการตรวจคัดกรอง 2. ประชุมเตรียมชีแจง อสม.ทบทวนความรู้ก่อน ขั้นดำเนินการ 1. ดำเนินการให้บริการตรวจคัดกรองแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 2. ติดตามกลุ่มเสี่ยงเพื่อรับการปรับเปลี่่ยนพฤติกรรม 3. ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ 4. ติดตามเยี่ยมบ้านผลการรักษาภายหลังการส่งต่อ 5. สรุปและประเมินโครงการเมื่อสิ้นโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและสามารถรู้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มป่วย