กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง ปี 2564 จังหวัดปัตตานี

สนับสนุนการทำแผนสุขภาพ/ทบทวนแผน/แผนการใช้เงิน กองทุนฯอบต.แป้น6 มกราคม 2564
6
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย รอมซี สาและ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้ใช้วิธีการบรรยาย และการแนะนำการบันทึกข้อมูลผ่านระบบเว็บไซต์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรคต่างๆในการดำเนินงาน โดยแบ่งการบรรยายหลักๆ คือชี้แจงวัตถุประสงค์การเยี่ยม เพื่อเสริมพลังกองทุนฯและการ(coaching)ในประเด็นเรื่อง ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่หรือท้องถิ่น พ.ศ.2561 ข้อ 10 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเป็นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมตามที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ (การจัดทำแผนงาน คุณภาพของโครงการที่ควรจะเป็น) และประเด็นในเรื่อง การขับเคลื่อนกองทุนฯโดยใช้โครงการบริหาร 10(4) และการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมบนเว็บไซต์ เช่น รายรับ รายจ่าย รายชื่อกรรมการ อื่นๆ(สามารถปรึกษาเรื่องการบันทึกข้อมูลได้ที่คุณนางสาวรอฮิหม๊ะ จูบิง (อบต.บานา) 0944929804

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีคณะกรรมการกองทุนฯ,อนุกรรมการLTCและผู้รับผิดชอบงานฯเข้าร่วมรับการมาเยี่ยมของพี่เลี้ยง ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี  มีการแนะนำตัวซึ่งกันและกัน
2.มีการบรรยาย อภิปราย แสดงความคิดเห็น และตั้งคำถามเพื่อสอบถามในประเด็นต่างๆ
3.พี่เลี้ยงได้ตอบ อภิปราย ทำความเข้าใจ ชี้แจงเพิ่มเติม และตอบคำถามจากผู้เข้าร่วมประชุม ประกาศฯ มุ่งเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงาน องค์กร กลุ่ม สามารถร่วมจัดบริการสาธารณสุขได้ นิยามความหมายของการจัดบริการสาธารณสุขตามประกาศ ข้อ 4 นิยาม ว่า บริการสาธารณสุข หมายถึง การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ(เน้นการดูแลกลุ่มที่ป่วย หรือผู้สูงอายุ คนพิการให้กลับมาดีเหมือนเดิม) และการรักษาปฐมภูมิเชิงรุก (การจัดบริการทางการแพทย์ที่บ้านหรือชุมชน)และให้รวมถึง กระบวนการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมป้องกันโรค ด้วย
สรุปง่ายๆการขอรับทุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ หรือกองทุนสุขภาพตำบลนั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
        1.ผู้รับทุน หรือผู้เขียนโครงการ ประกาศฯกำหนดให้ทุกหน่วยงาน องค์กร กลุ่มภาคประชาชน สามารถทำโครงการด้านสุขภาพเพื่อขอรับทุนมายังกองทุนฯแตกต่างกัน โดยมีผลต่อเงื่อนไขข้อจำกัดการขอรับทุนโครงการ นิยามของหน่วยงานรับทุนตามประกาศฯ ข้อ 4 กำหนดลักษณะผู้รับทุน ดังนี้
              1.1 สถานบริการ หมายถึง สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาลของผู้ประกอบโรคศิลปะ เช่น คลินิกแพทย์ คลินิกทันตแพทย์ คลินิกพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว เป็นต้น ส่วนกรณี ร้านยา มิใช่สถานบริการตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล แต่จัดเป็นหน่วยงานอื่น
              1.2 หน่วยบริการ หมายถึง สถานบริการตามข้อ 1.1 ที่ขึ้นทะเบียนโดยผ่านการประเมินมาตรฐานกับ สปสช.แล้ว เช่น โรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอ ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 จะเรียกว่า หน่วยบริการประจำที่จัดบริการสาธารณสุขในพื้นที่ /โรงพยาบาลจังหวัด/โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล(รพ.สต.) รวมถึง คลินิกแพทย์เอกชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการกับ สปสช. อาทิ เช่น คลินิกชุมชนอบอุ่น เฮลแคร์คลินิก เป็นต้น
            1.3 หน่วยงานสาธารณสุข หมายถึง หน่วยงานที่มีหน้าที่ด้านสาธารณสุขโดยตรง อาทิเช่น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดที่มีส่วนสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานควบคุมโรค สำนักอนามัย เป็นต้น
            1.4 หน่วยงานอื่น หมายถึง หน่วยงานที่ไม่มีภารกิจด้านสาธารณสุข เช่น วัด โรงเรียน มัสยิด สถานีตำรวจ เป็นต้น
            1.5 กลุ่มองค์กรประชาชน หมายถึง ชมรม มูลนิธิ กลุ่มที่ชาวบ้าน 5 คนรวมตัวกันจัดทำโครงการ(ไม่ต้องจุดทะเบียนเป็นกลุ่มตามระเบียบเงินอุดหนุน กระทรวงมหาดไทย เนื่องจากจุดม่งหมายของการทำงานกองทุน คือ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ไม่ป่วย)
**ประเด็นดังกล่าวข้างต้นเป็นความเข้าใจผิดของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ เสมอว่า กลุ่มประชาชนต้องจดทะเบียนก่อน 1 ปี จึงจะรับทุนได้ เนื่องจากใช้ระเบียบเงินอุดหนุนของกระทรวงมหาดไทย
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจาก ประกาศฯ ฉบับ พ.ศ.2557 คือ ประเภท 10(1) หน่วยบริการสาธารณสุข สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข ไม่จำเป็นต้องมีสำนักงานที่ตั้งใน อปท.นั้น
10(2) กลุ่มหรือองค์กรประชาชน และหน่วยงานอื่น ไม่ต้องสำนักงานที่ตั้งใน อปท.นั้น ขอเพียงทำกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ อปท.นั้น
10(3) เพิ่มให้หน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาผู้สูงอายุ หรือศูนย์พัฒนาคนพิการ เช่น กองการศึกษา หรือ งานสวัสดิการสังคม เป็นต้น จัดเป็นประเภท 3 ด้วยเช่นเดียวกัน
2.ต้องมีร่างโครงการ สปสช.เขต 12 สงขลา แนะนำว่าควรทำเป็นโครงการ ไม่ทำเป็นแผนงาน หรือกิจกรรม เนื่องจากแผนงานจะมีรายละเอียดไม่เพียงพอต่อการ ขาดรายละเอียดสำคัญ ส่วนกิจกรรม มีลักษณะปลีกย่อยมากเกินไป แผนงาน คือ รายละเอียดคร่าวๆว่า พื้นที่มีสถานการณ์อย่างไร การวางเป้าหมาย
โครงการ คือ ที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย รายละเอียดกิจกรรม
3.ต้องผ่านการอนุมัติโดยคณะกรรมการกองทุน คณะกรรมการกองทุนจะมีองค์ประกอบจำนวน 18-19 คน ตามประกาศข้อ 12 จะต้องจัดประชุมและลงมติเห็นชอบด้วยคะแนนเกินกึ่งหนึ่งขององค์ประชุมตามข้อ 15 จดรายงานการประชุมเพื่อประกอบการเบิกเงินด้วยในวาระเพื่อพิจารณา รายละเอียดในการจดรายงานประชุม คือ
ชื่อโครงการ หน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุน จำนวนเงินประมาณ ผลการพิจารณา อนุมัติ ไม่อนุมัติ หรืออนุมัติให้ปรับโครงการตามเงื่อนไขอะไรบ้าง