กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง ปี 2564 จังหวัดปัตตานี

สนับสนุนการเขียนโครงการ กองทุนฯอบต.บาราเฮาะ11 กุมภาพันธ์ 2564
11
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย รอมซี สาและ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้ใช้วิธีการบรรยาย ขั้นตอนการจัดทำโครงการ  การนำโครงการที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติแล้วมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน และการแนะนำการบันทึกข้อมูลผ่านระบบเว็บไซต์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรคต่างๆในการดำเนินงาน คือชี้แจงวัตถุประสงค์การเยี่ยม เพื่อสนับสนุนการเขียนโครงการ ตามข้อ 10 เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ ตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเป็นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมตามที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ (การจัดทำแผนงาน คุณภาพของโครงการที่ควรจะเป็น)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนเข้าร่วมรับการมาเยี่ยมของพี่เลี้ยง ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี  มีการแนะนำตัวซึ่งกันและกัน  การพูดคุย สัมภาษณ์ ตรวจสอบเอกสารบางอย่าง และตั้งคำถามเพื่อสอบถามในประเด็นต่างๆ และมีการบรรยายเพิ่มเติมดังนี้         ประกาศฯ มุ่งเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงาน องค์กร กลุ่ม สามารถร่วมจัดบริการสาธารณสุขได้ นิยามความหมายของการจัดบริการสาธารณสุขตามประกาศ ข้อ 4 นิยาม ว่า บริการสาธารณสุข หมายถึง การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ(เน้นการดูแลกลุ่มที่ป่วย หรือผู้สูงอายุ คนพิการให้กลับมาดีเหมือนเดิม) และการรักษาปฐมภูมิเชิงรุก (การจัดบริการทางการแพทย์ที่บ้านหรือชุมชน)และให้รวมถึง กระบวนการหรือกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างเสริมป้องกันโรค ด้วย สรุปง่ายๆการขอรับทุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ หรือกองทุนสุขภาพตำบลนั้น จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้
ข้อควรพิจารณาในการพัฒนาโครงการ                 1.ควรเป็นโครงการที่ตอบสนองหรือแก้ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของชุมชน ไม่ควรทำโครงการเดิมแต่เปลี่ยนปี พ.ศ.มาขอรับทุนใหม่ และเน้นโครงการที่มีการบรรจุในแผนสุขภาพเป็นอันดับแรก แต่กรณีไม่มีในแผนให้ปรับแผนสุขภาพเพื่อรับทุนฯในวาระก่อนมีการพิจารณาโครงการครั้งนั้น ห้ามอ้างว่าไม่มีโครงการ บรรจุในแผนสุขภาพ จึงไม่ให้การสนับสนุน มีการแสดงสถานการณปัญหาสุขภาพที่ชัดเจนของตำบลหรือในหมู่บ้านหรือหน่วยงานที่ทำ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลสถานการณ์แบบกว้างๆ ทั่วไป เช่น ข้อมูลของโลกหรือประเทศ แทนที่จะมุ่งเน้นข้อมูลของพื้นที่เป็นสำคัญ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในตำบล มีพฤติกรรมกินอาหารเค็มหรือบริโภคหวาน ร้อยละเท่ากับ 30 หรือ จำนวนมัสยิด วัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 0 แห่ง เป็นต้น               3.โครงการที่จะขอรับทุนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์กองทุนสุขภาพตำบล (เน้นการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพ ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาเชิงรุกและการฟื้นฟูสมรรถภาพ) และซ้ำซ้อนงบปกติของหน่วยงานหรือเป็นภาระกับกองทุนตอบสนองปัญหาสุขภาพของชุมชน ตัวอย่าง การตั้งวัตถุประสงค์โครงการไม่สอดคล้องกับประกาศฯ เช่น
                  3.1 เพื่อเพิ่มทักษะกีฬาสู่ความเป็นเลิศ เช่น เพิ่มทักษะกีฬามวยไทย ตะกร้อ ฟุตบอล
                  3.2 เพื่อสร้างรายได้
                  3.3 เพื่อสืบสานศาสนา ประเพณี วันสำคัญ
                  3.4 เพื่อตอบสนองนโยบายของเทศบาลหรือหน่วยงานอื่น เป็นต้น
สิ่งที่ควรทำ คือ ตั้งวัตถุประสงค์โครงการ ไม่ควรเกิน 2 ข้อ เน้นการแสดงหรือมีคำสำคัญ(keyword) คือ เพื่อแก้ไขปัญหา......หรือเพื่อเพิ่ม........หรือเพื่อลด.......
ตัวอย่างการตั้งวัตถุประสงค์ที่ดี
1) เพื่อแก้ปัญหาการฝากครรภ์ล่าช้าของหญิงตั้งครรภ์รายใหม่
2) เพื่อแก้ปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น
3) เพื่อเพิ่มสถานที่ราชการที่ประกาศเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่
4) เพื่อลดพฤติกรรมการบริโภคเค็มและหวานของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นต้น
มีบางโครงการผู้รับผิดชอบมักเขียนวัตถุประสงค์ที่คลุมเครือ หรือ วัดยาก เช่น
1) เพื่อสร้างความรักสามัคคีกับประชาชนในชุมชน
2) เพื่อให้ประชาชนได้บำเพ็ญประโยชน์ เป็นต้น
                4.ต้องระบุเงื่อนเวลาการทำโครงการ ควรระบุห้วงเวลาที่จะทำโครงการสอดคล้องกับความเป็นจริง และไม่ห้ามว่าต้องทำโครงการให้เสร็จภายใน ปีงบประมาณเท่านั้น เช่น หากมีผู้รับทุนจะดำเนินโครงการช่วง ตุลาคม-กุมภาพันธ์ (ปลายปีและต้นปีงบประมาณ) คณะกรรมการสามารถพิจารณาอนุมัติได้ เพราะเมื่อพิจารณาอนุมัติ ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำใบเบิกเงินและโอนเงินงวดเดียว 100 % ให้ผู้รับทุนเพื่อดำเนินโครงการ และตัดขาดออกจากบัญชีกองทุนสุขภาพตำบล
นอกจากนี้ กรณี โครงการที่เขียนขอรับทุนส่งมาให้คณะกรรมการพิจารณา ในโครงการระบุเงื่อนเวลาล่วงเลยมาแล้ว แต่ยังไม่ประชุมพิจารณาสักที เนื่องจากสาเหตุการบริหารจัดการไม่สามารถจัดประชุมคณะกรรมการตามแผนที่วางไว้ คณะกรรมการกองทุน สามารถพิจารณาปรับห้วงเวลาที่เหมาะสมให้กับผู้รับทุนก็ได้
เมื่อผู้รับทุนดำเนินโครงการไปแล้วสักระยะหนึ่ง ปรากฏว่า โครงการไม่เสร็จ ก็สามารถทำหนังสือขอขยายเวลาดำเนินโครงการ ส่งไปยังคณะกรรมการกองทุน เพื่อพิจารณา ซึ่งคณะกรรมการกองทุนมีอำนาจพิจารณาการขอขยายเวลาได้ตามประกาศฯข้อ 10 วรรคหนึ่งเช่นเดียวกัน
การดำเนินโครงการก่อนการอนุมัติโครงการ มีผลให้การทำโครงการที่ดำเนินการมาก่อนแล้ว เป็นโมฆะ ดังนั้น ต้องระวังเพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องกับเงื่อนไข
                  5.รายละเอียดกิจกรรมและค่าใช้จ่าย ผู้รับทุนต้องออกแบบกิจกรรมอย่างเป็นขั้นตอนและชัดเจน และต้องเขียนรายละเอียดค่าใช้จ่ายตามประเภทตามความเป็นจริงสอดคล้องที่จะทำ กรณีศึกษา ลักษณะกิจกรรมไม่ควร ดังนี้
                    5.1 อบรมให้ความรู้เพียงอย่างเดียว เช่น อบรมอาสาสมัครสาธารณสุขระดับหมู่บ้าน(อสม.) เนื่องจากหน่วยงานสาธารณสุขมีงบปกติอยู่แล้ว ยกเว้น หากจะพัฒนาความรู้และทักษะพิเศษที่เฉพาะ อสม.ด้วยการมีหลักสูตรเฉพาะ ภายหลังนำเอา อสม.เป็นกลไกช่วยทำงานด้านสุขภาพในพื้นที่ ย่อมทำได้
ชอบแย่งงานหรือภารกิจของหน่วยงานอื่นมาทำผ่านกองทุนสุขภาพตำบล เช่น การอบรมกู้ชีพกู้ภัย หรือฟื้นคืนชีพ ซึ่งเป็นขอบเขตของ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2552 อบรมงานฉีดวัคซีนแก่สัตว์ สุนัข แมว วัว แพะแกะ ซึ่งเป็นภารกิจของปศุสัตว์ เป็นต้น
                    5.2 การแข่งขันกีฬา เช่น แข่งขันกีฬาโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์ผู้สูงอายุ เป็นต้น นำมาเป็นค่าจัดการแข่งขันกีฬา ค่าน้ำดื่ม ค่าตอบแทนกรรมการตัดสิน ค่าซุ้มเชียร์ ค่ารถเดินทางไปแข่งขัน ค่าอุปกรณ์ เป็นต้น ด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่เข้าใจว่า หากมีการแข่งขันกีฬาจะเป็นสัญลักษณ์ว่ามีสุขภาพดี แต่ความเป็นจริงแล้ว ส่วนใหญ่เป็นงานสร้างกระแส(event) มากกว่าเป็นการสร้างเสริมสุขภาพที่แท้จริง หากจะแข่งขันกีฬาต้องใช้งบประมาณของงานกีฬาและสันทนาการ ผ่านข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                    5.3 ซื้อของอย่างเดียว เช่น โครงการซื้อเครื่องช่วยฟื้นคืนชีพ (AED) โครงการซื้อกระเช้ามอบผู้ป่วยหาเสียง โครงการซื้อเครื่องพ่นหมอกควันยุงลาย โครงการซื้อเตียงผู้ป่วย รถเข็น เครื่องเล่นกลางแจ้งเด็ก เป็นต้น มีบางชื่อโครงการเขียนดีสอดคล้องกับวัตถุประสงค์กองทุน แต่ออกแบบเพียงการซื้อของอย่างเดียวไม่เห็นขั้นตอนการทำงานด้านสุขภาพ เช่น โครงการเศรษฐกิจพอเพียงต้านภัยยาเสพติด ค่าใช้จ่ายมีการซื้อเมล็ดพันธุ์ผักแจกแก่ชาวบ้านเพียงอย่างเดียวในวงเงินที่สูงมาก
ส่วนใหญ่ผู้รับทุนมีความปรารถนาดีในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน แต่ด้วยข้อจำกัดในการเขียนและออกแบบกิจกรรมส่งผลให้พลังเผลอในการเขียนโครงการในลักษณะต้องห้ามผิดวัตถุประสงค์
                  5.4 แจกของรางวัลถ้วนหน้า เช่น แจกข้าวสาร พัดลม ตู้เย็น โดยไม่มีเหตุผลที่มาที่ไป การกระตุ้นหรือเชิดชูบุคคลต้นแบบ(Role model) เป็นกลวิธีหนึ่งของการสร้างเสริมสุขภาพ การมอบรางวัล เช่นโล่รางวัล หรือประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติ เป็นต้น ย่อมทำได้แต่ต้องมีเงื่อนไขของการดำเนินกิจกรรมบรรลุผลตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ก่อน กรณีศึกษาที่ 1 อบต.แห่งหนึ่งจัดโครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเชิงรุก เพื่อส่งเสริมให้เข้าถึงการคัดกรอง นำเงินกองทุน มาแจกทองคำ พัดลม ข้าวสาร แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ถือเป็นการใช้จ่ายไม่ตรงตามวัตถุประสงค์หรือฟุ่มเฟือย กรณีศึกษาที่ 2 กลุ่มชาวบ้านปราญช์ชุมชน ขอรับทุนโครงการสืบสานวิถีพอเพียงจากกองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง มีกิจกรรมอบรมความรู้และฝึกปฏิบัติการ ได้แจกร่มกันแดดแก่ผู้เข้าร่วม ค่าใช้จ่ายเป็นรางวัล เช่น พัดลม ตู้เย็น และเครื่องสูบน้ำ เป็นเงินจำนวนเกือบหนึ่งแสนบาท
                  5.5 สร้างสิ่งก่อสร้าง เช่น ก่อสร้างที่ล้างมือสำหรับแปรงฟัน ห้องน้ำที่สะอาด ก่อสร้างป้ายไฟประชาสัมพันธ์ คอกสัตว์หรือเล้า กรง สำหรับฉีดวัคซีนสัตว์ เป็นต้น กรณีศึกษา รพ.แห่งหนึ่งจังหวัดสวรรค์แดนใต้ มีโครงการลอกตาต้อกระจกแก่ผู้สูงอายุ จึงทำโครงการปรับปรุงห้องผ่าตัดใหม่ โดยขอเงินซื้อเครื่องปรับอากาศ จำนวน 5 เครื่อง รวมวงเงิน 200,000 บาท
                  5.6 จัดกิจกรรมสร้างกระแสครั้งเดียวจบ เช่น แรลลี่จักรยาน วิ่งมาลาทอน เดินรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออกวันเดียวจบ เป็นต้น ลักษณะกิจกรรมแบบนี้
กรณีศึกษา ชมรมจักรยานจัดกิจกรรมแรลลี่จักรยานในวันเสาร์และอาทิตย์ จึงขอรับทุนจากกองทุน แต่ในเวลาจัดกิจกรรมมีบุคคลนอกพื้นที่มาร่วมจำนวนมาก ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ไม่ได้รับประโยชน์หรือการทำครั้งเดียววันเดียวไม่เป็นการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นแค่การสร้างกระแสมากกว่า เป็นต้น
                5.7 ค่าจ้างลูกจ้างประจำโครงการ การจ่ายเป็นค่าตอบแทนนอกเวลาแก่บุคคลที่ทำโครงการสามารถเขียนได้ แต่ไม่ใช่เป็นค่าจ้างเจ้าหน้าที่ เพราะหน่วยงานที่รับทุนต้องจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนเอง
                5.8 ศึกษาดูงานอย่างเดียวไม่มีกระบวนการทำงานต่อ การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานหรือผู้เข้าร่วมโครงการโดยกลวิธีการดูงานหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการทำโครงการ และไม่เป็นภาระกับกองทุน มีการทำกิจกรรมอื่นที่ต่อเนื่องจากการดูงานย่อมทำได้
กรณีศึกษาที่ 1 รพ.สต.แห่งหนึ่งทำโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม.4.0 โดยมีกิจกรรมเพียงการไปดูงานอย่างเดียวและพักผ่อนในรีสอร์ทในต่างจังหวัด งบประมาณ 400,000 บาท ผิดวัตถุประสงค์กองทุน กรณีศึกษาที่ 2 โรงเรียนทำโครงการโรงเรียนขยะฐานศูนย์ปลอดโรค ออกแบบกิจกรรม ประกอบด้วย การศึกษาดูงานของคณะทำงานด้านจัดการขยะจำนวน 15 คน ณ โรงเรียนต้นแบบด้านการจัดการขยะซึ่งอยู่อีกอำเภอไกลมากนัก เช่ารถตู้ไป 2 คน มีกิจกรรมการฝึกอบรมการแยกขยะโดยผู้ประกอบการด้านขยะเพื่อสังคม การเปิดธนาคารขยะทองคำรับฝากขยะ การคืนข้อมูลผลการดำเนินงาน เป็นต้น การออกแบบลักษณะแบบนี้ ย่อมสามารถขอรับทุนจากกองทุนฯได้
          6.เงื่อนไขตามประเภทของผู้รับทุน ตามประกาศฯ ฉ.61 ได้ลดเงื่อนไขหลายเรื่องเกี่ยวกับผู้รับทุน หากในโครงการจำเป็นต้องมีครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการทำกิจกรรมให้พิจารณาสอดคล้องตามประกาศ ดังนี้
              6.1 ประเภท 10(1) หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการทำกิจกรรมไม่จำกัด
              6.2 ประเภท 10(2) ชมรม กลุ่ม องค์กรประชาชนและหน่วยงานอื่น วงเงินโครงการขอรับกี่บาทก็ได้ แต่วัสดุที่มีลักษณะครุภัณฑ์(อายุเกิน 1 ปี) รวมถึงครุภัณฑ์ ไม่เกิน 10,000 บาท/โครงการ เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนด 5,000 บาท/โครงการ
              6.3 ประเภท 10(3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือชื่ออื่น หรือหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาผู้สูงอายุและคนพิการ หรือชื่ออื่น หรือหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบงานศูนย์ฯ ครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการไม่จำกัด               6.4 ประเภท 10(4) การบริหารกองทุน หากต้องซื้อครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานกองทุน สามารถซื้อได้ไม่จำกัดวงเงินและรายการ แต่ต้องใช้ทำกิจกรรมที่จำเป็นต่อการทำดำเนินงานกองทุนอย่างอื่นก่อน เช่น ประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน เป็นต้น
              6.5 ประเภท 10(5) การแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นกรณีเกิดภัยพิบัติหรือโรคระบาด ครุภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการทำกิจกรรม ไม่จำกัดวงเงิน