กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง ปี 2564 จังหวัดนราธิวาส

จัดทำแผนเขียนโครงการ อบต.ลูโบะสาวอ25 มกราคม 2564
25
มกราคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย เสรี เซะ (เปิ้ล)
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. พี่เลี้ยงได้มีการจัดกระบวนการประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะสาวอ
  2. พี่เลี้ยงได้แนะนำวิธีการ ขั้นตอนในการจัดทำแผนสุขภาพตำบล ให้แก่เจ้าหน้าที่กองทุนฯ ดังนี้
    • การจัดกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งการนำเสนอข้อมูลสุขภาพที่สำคัญของพื้นที่ จากหน่วยรับทุนต่าง ๆ
    • จัดทำแผนงานในโปรแกรม เวปไซต์กองทุน www.localfund.happynetwork.org จากข้อมูลสุขภาพที่ได้รับจากหน่วยรับทุนต่าง ๆ
    • การให้หน่วยรับทุนร่วมกันเสนอโครงการที่จะดำเนินการ ให้สอดคล้องกับแผนงาน ในประเด็นสุขภาพที่เกี่ยวข้อง เช่น แผนบริหารจัดการกองทุน, แผนอาหารและโภชนาการ, แผนกิจกรรมทางกาย, แผนบุหรี่, แผนสารเสพติด, แผนแรงงานนอกระบบ, แผนอนามัยแม่และเด็ก, แผนเยาวชนและครอบครัว และแผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟูในสถานการณ์โควิด-19 เป็นต้น
  3. พี่เลี้ยงได้แนะนำวิธีการ ขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ ให้แก่เจ้าหน้าที่ ได้ทราบ และนำกลับไปดำเนินการในพื้นที่ต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เจ้าหน้าที่กองทุน รับทราบวิธีการ ขั้นตอนในการจัดทำแผนสุขภาพ
  2. เกิดแผนสุขภาพกองทุน ในประเด็น แผนงานบริหารจัดการกองทุน, แผนงานอาหารและโภชนาการ, แผนงานกิจกรรมทางกาย, แผนงานบุหรี่, แผนงานสารเสพติด, แผนงานแรงงานนอกระบบ, แผนงานอนามัยแม่และเด็ก, แผนงานเยาวชนและครอบครัว, แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟูในสถานการณ์โควิด-19 ในเบื้องต้น จำนวน 10 แผนงาน
  3. เจ้าหน้าที่กองทุน รับทราบถึงวิธีการในการพัฒนาการเขียนโครงการ และยินดีที่จะนำกลับไปดำเนินการต่อในพื้นที่ โดยการจัดกระบวนการ/ประชุม 4, มีการให้แต่ละกลุ่มเสนอโครงการเพื่อนำเข้าสู่การขอรับเงินจากองทุน จำนวน 8 โครงการ เป็นเงิน 809,635 บาท

ปัญหาและอุปสรรค ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบกับคำสั่งจังหวัดนราธิวาส เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่าง ๆ และการห้ามให้มีการเดินทางข้ามอำเภอและข้ามจังหวัด ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ดังนี้ 1 พี่เลี้ยงกองทุนเอง ไม่สามารถที่ปฏิบัติหน้าที่ในการ Coaching ได้อย่างเต็มที่ 2. เจ้าหน้าที่กองทุน มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ต้องดำเนินการตามนโยบายของทางจังหวัด อำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เช่น การดำเนินการจัดตั้ง LQ และการดำเนินการต่าง ๆ ใน LQ