กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง ปี 2564 จังหวัดนราธิวาส

Audit กองทุน อบต.เชิงคีรี โดย เสรี/อภินันท์/ซากีนา/สุรียา20 กรกฎาคม 2564
20
กรกฎาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย เสรี เซะ (เปิ้ล)
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานการลงพื้นที่เพื่อการทวนสอบหรือ audit การบริหารกองทุนสุขภาพ อบต.เชิงคีรี ผลงานปี 2563 เพื่อเตรียมเอกสารประกอบการทวนสอบตามแบบฟอร์มใน google form
    1. ลงพื้นที่ เพื่อทวนสอบผลงานกองทุนอบต.เชิงคีรี     3. ใช้โปรแกรมของกองทุนฯ https://localfund.happynetwork.org เพื่อเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการบริหารกองทุนฯระดับ ต้องปรับปรุง
    ประเด็นที่แนะนำ
    1. อบต.เชิงคีรี ควรจัดทำคำสั่ง แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อช่วยในการดำเนินงานกองทุนฯ
    2. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนฯตามประกาศฯ ฉ. 61 กำหนดให้ อบต.ิชิงคีรี แต่งตั้งคณะกรรมการ พบว่า คำสั่ง มีความถูกต้อง โดยมี 2.1 ที่ปรึกษากองทุน ครบ 2.2 องค์ประกอบกรรมการ. ครบ ได้แนะนำเพิ่มเติมหากมีการแก้ไขคณะกรรมการ
    3. การทำแผนการเงิน รับ-จ่ายเงิน พบว่า มีการจัดทำ แต่ไม่ถูกต้อง ได้แนะนำวิธีการที่ถูกต้องให้เจ้าหน้าที่กองทุนได้รับทราบและปฏิบัติต่อไป
    4. เงินคงเหลือในบัญชี กับระบบการเงินออนไลน์ ไม่ตรง เนื่องจากไม่ได้ดำเนินการปรับสมุดให้เป็นปัจจุบัน แนะนำให้มีการปรับสมุดบัญชีอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
    5. สุ่มโครงการแต่ละประเภท 10(1) โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงในเขต อบต.เชิงคีรี พบว่า
        - รายละเอียดโครงการ ไม่สมบูรณ์ ในส่วนของ รายละเอียดกิจกรรม ซึ่งไม่ได้ลงข้อมูลว่าจัดซื้อครุภัณฑ์อะไร   ได้ให้คำแนะนำแล้วว่า กิจกรรมไม่ควรมีแค่กิจกรรมจัดซื้อครุภัณฑ์ เพียงกิจกรรมเดียว และควรจะลงรายละเอียดกิจกรรมให้ครบว่าซื้ออะไรเท่าไหร่
        6. กองทุนมีการบันทึกข้อมูลใน โปรแกรม www.localfund.happynetwork.org ไม่ครบถ้วน
    6. ไม่มีการจัดทำแผนสุขภาพตามประเด็นของ ตำบลในโปรแกรม www.localfund.happynetwork.org/
    7. การจัดทำแผนการเงินรับ-จ่ายประจำปี มี แต่ไม่ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการ
    8. การจัดทำโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประเภท 10(4) มี แต่ไม่สมบูรณ์
    9. มีการแก้ปัญหาโควิด-19 ในพื้นที่ ซึ่งได้ใช้อำนาจของประธานคณะกรรมการกองทุนฯ ตามประกาศ ฉบับที่ 3 วงเงินไม่เกิน 100,000 แต่โครงการไม่สมบูรณ์
    • โครงการส่งแสริมและสนับสนุนการป้องกันการระบาดฯ และเฝ้าระวังในประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูง ได้แนะนำให้ลงรายละเอียดโครงการให้สมบูรณ์
    1. การจัดทำบัญชี-การเงินกองทุน รวมถึงการรายงานการเงินเสนอคณะกรรมการอนุมัติ ไม่เป็นปัจจุบัน

ปัญหาและอุปสรรค ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ที่เพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับคำสั่งจังหวัดนราธิวาส เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ต่าง ๆ และการห้ามให้มีการเดินทางข้ามอำเภอและข้ามจังหวัด ทำให้เกิดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ดังนี้ 1 พี่เลี้ยงกองทุนเอง ไม่สามารถที่ปฏิบัติหน้าที่ในการ Audit ได้เต็มที่ 2. เจ้าหน้าที่กองทุน มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ต้องดำเนินการตามนโยบายของทางจังหวัด อำเภอ ผู้บริหารท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของหน่วยงานตนเอง เช่น การดำเนินการจัดตั้ง LQ และการดำเนินการต่าง ๆ ใน LQ 3. หน่วยรับทุน ที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณแล้ว ไม่สามารถดำเนินการโครงการฯ ได้
4. หน่วยรับทุน มีการขอขยายเวลาในการดำเนินโครงการ ทำให้ไม่มีการประเมินโครงการ 5. เจ้าหน้าที่กองทุน รวมถึงหน่วยรับทุน ไม่สะดวกในการติดต่อสื่อสารผ่านระบบออนไลน์/ZOOM เนื่องจากภาระหน้าที่ ความรับผิดชอบ เงื่อนเวลาที่ไม่ตรงกัน รวมถึงคำสั่ง และประกาศ ต่าง ๆ ของจังหวัดนราธิวาส ในช่วงโควิด-19