กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง


“ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สู่สุขภาวะที่ดี ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ปี 2564 ”

ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

หัวหน้าโครงการ
นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สู่สุขภาวะที่ดี ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ปี 2564

ที่อยู่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 64-L6895-01-13 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สู่สุขภาวะที่ดี ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ปี 2564 จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สู่สุขภาวะที่ดี ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ปี 2564



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สู่สุขภาวะที่ดี ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ปี 2564 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 64-L6895-01-13 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 28,400.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองกันตัง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing Society) ตั้งแต่ ปี 2548 คือ มีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10 และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2563 โดยมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจาก 10.3 ล้านคน (ร้อยละ 16.2) ในปี 2558 เป็น 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ในปี 2583 เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่างกว้างขวา ง  โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากร  วัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น  โดยที่ยังมิได้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูซึ่งสูงขึ้นตามอายุ  ขณะที่อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นวัยบั้นปลายของชีวิต เป็นวัยที่ต้องพึ่งพาบุตรหลาน และพึ่งพาตนเองได้น้อยลง เพราะมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเสื่อมของร่างกาย และเจ็บป่วยได้ง่าย รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและสังคม
จากข้อมูลประชากรกลางปีงานทะเบียนราษฎร์ของสำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองกันตัง ณ เดือนตุลาคม 2563 มีผู้สูงอายุจำนวน 1,964  คน คิดเป็นร้อยละ 16.55 ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมร้อยละ 16.35 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงคิดเป็นร้อยละ 0.20 ดังนั้นทางศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับผู้สูงอายุ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สู่สุขภาวะที่ดี ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
  2. เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่มและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
  2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้านกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณและมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
  2. ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน
  • เปิดการประชุม/บอกเล่าเก้าสิบ...เรื่องราว/กิจกรรมสวดมนต์
  • บรรยายเรื่อง โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายเรื่อง การบำบัดชะลอโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย
  • สรุปและอภิปรายผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กิิจกรรมบรรยายให้ความรู้เรื่อง โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และการบำบัดชะลอโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย พร้อมสาธิตการบำบัดเข่าเสื่อมด้วยการพอกน้ำมันงาและน้ำมันไพล การพอกยาด้วยสมุนไพรและปูนแดง  โดยวิทยากรแพทย์แผนไทย รพ.กันตัง เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 2564 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง
  2. ประเมินระดับความรุนแรงของโรคเข่าเสื่อม มีผู้สมัครใจเข้ารับการประเมิน จำนวน 57 ราย จำแนกได้ดังนี้

- กลุ่มที่ 1 เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมระดับรุนแรง  จำนวน  0  ราย - กลุ่มที่ 2 มีอาการข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลาง  จำนวน 2 ราย - กลุ่มที่ 3 เริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม จำนวน 29 ราย - กลุ่มที่ 4 ยังไม่พบอาการผิดปกติ  จำนวน 26 ราย

 

80 0

2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

วันที่ 17 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน
  • เปิดการประชุม/อกเล่าเก้าสิบ...เรื่องราว/กิจกรรมสวดมนต์/นันทนาการ
  • บรรยายเรื่อง  ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพช่องปากและวิธีการดูแลป้องกันรักษาสุขภาพช่องปากและฟันในผู้สูงอายุ
  • พักรับประทานอาหารว่าง
  • บรรยายและสาธิต เรื่อง  การแปรงฟันที่ถูกวิธีและการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก
  • กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในผู้สูงอายุ
  • ตอบข้อซักถาม/สรุปผลการเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กิจกรรมบรรยายให้ความรู้เรื่อง ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพช่องปากและวิธีการดูแลป้องกันรักษาสุขภาพช่องปากและฟันในผู้สูงอายุ  และบรรยายพร้อมสาธิต  การแปรงฟันที่ถูกวิธีและการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก  โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง  เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 25654 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง
  2. กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุสมัครใจเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน 24 ราย และทางโรงพยาบาลกันตังได้แจ้งผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันให้ไปรับบริการต่อที่โรงพยาบาลกันตัง จำนวน 8 ราย

 

80 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และ/หรือกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ แก่ผู้สูงอายุติดสังคมเทศบาลเมืองกันตัง เดือนละ ๑ ครั้ง จำนวน 80 คน เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตแบบองค์รวม  เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค อีกทั้งผู้สูงอายุสามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน และเป็นการสร้างคุณค่าให้ตนเอง ทุกวันพุธที่ 3 ของเดือน ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง หรือ ที่ทำการชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองกันตัง ครั้งที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ 2564 1.กิจกรรมบรรยายให้ความรู้เรื่อง โรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และการบำบัดชะลอโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย พร้อมสาธิตการบำบัดเข่าเสื่อมด้วยการพอกน้ำมันงาและน้ำมันไพล การพอกยาด้วยสมุนไพรและปูนแดง โดยวิทยากรแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลกันตัง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง 2. ประเมินระดับความรุนแรงของโรคเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) มีผู้สมัครใจเข้ารับการประเมิน จำนวน 57 ราย จำแนกได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมระดับรุนแรง จำนวน  0    ราย กลุ่มที่ 2 มีอาการข้อเข่าเสื่อมระดับปานกลาง จำนวน  2  ราย กลุ่มที่ 3 เริ่มมีอาการข้อเข่าเสื่อม จำนวน  29  ราย กลุ่มที่ 4 ยังไม่พบอาการผิดปกติ จำนวน  26  ราย ครั้งที่ 2 เดือนมีนาคม 2564 1. กิจกรรมบรรยายให้ความรู้เรื่อง ผู้สูงอายุกับปัญหาสุขภาพช่องปาก และวิธีการดูแลป้องกันรักษาสุขภาพในช่องปากและฟันในผู้สูงอายุ และบรรยายพร้อมสาธิต การแปรงฟันที่ถูกวิธีและการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดช่องปาก โดยวิทยากรจากโรงพยาบาลกันตัง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ณ อาคารคอซิมบี๊ เทศบาลเมืองกันตัง 2. กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุสมัครใจเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน 24 ราย และทางโรงพยาบาลกันตังได้แจ้งผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันให้ไปรับบริการต่อที่โรงพยาบาลกันตัง จำนวน 8 ราย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สามารถดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมเข้าร่วมกิจกรรมโครงการประจำเดือน ได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม
0.00

 

2 เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่มและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมที่เข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ไม่ก่อให้ เป็นผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม  สามารถดูแลตนเอง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ (2) เพื่อให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีการรวมกลุ่มและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (2) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย สู่สุขภาวะที่ดี ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย ปี 2564 จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 64-L6895-01-13

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสุพรรณนิกา ลีลาสำราญ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด