กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L6895-01-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 สิงหาคม 2564
งบประมาณ 10,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ น.ส. พิชชานันท์ สุขเกษม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสมใจ เป้าทอง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกันตัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.41,99.519place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 และกำลังจะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2565 ในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ผู้สูงอายุไทยได้เพิ่มจำนวนขึ้นเกือบ 7 เท่าตัว ในปี 2513 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเพียง 1.7 ล้านคน และเพิ่มจำนวนเป็น 4 ล้านคนในปี 2533 และในปี 2561 ประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด (ไม่รวมแรงงานข้ามชาติ) ประมาณ 66 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 12 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมด เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 11 ล้านคน วัยแรงงานอายุ 15-59 ปี จำนวน 43 ล้านคน และในปี 2581 ประชากรสูงอายุไทยจะเพิ่มจำนวนขึ้นอีกเกือบเท่าตัว คือ เป็น 20 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด ขณะที่จำนวนเด็กจะลดลงเหลือเพียง 9 ล้านคน และวัยแรงงานอายุ 15-59 ปี จะลดลงเหลือ 37 ล้านคน ขณะนี้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุของประชากรไทยได้ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายๆด้าน ต่อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย และนับจากวันนี้เป็นต้นไปผลกระทบเหล่านี้ก็จะยิ่งทวีความรุนแรงและเห็นได้ชัดเจนขึ้น กล่าวคือ ประชากรวัยเด็กลดลง ส่งผลต่อการยุบและควบรวมของโรงเรียนที่มีเด็กนักเรียนน้อยลง ประชากรวัยทำงานลดลง ส่งผลให้ต้องมุ่งเน้นคุณภาพแรงงาน เช่น การพัฒนาทักษะ ฝีมือแรงงาน การใช้เทคโนโลยี เครื่องจักรกล การนำเข้าแรงงานบางประเภท และการขยายอายุการทำงาน ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการจัดระบบสวัสดิการ และการประกันสังคมแก่ผู้สูงอายุ การบริการทางด้านสุขภาพอนามัยและการดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น จากข้อมูลงานผู้สูงอายุของศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง ในปีงบประมาณ 2563 พบว่า มีผู้สูงอายุ จำนวน 1,964 ราย การดูแลสุขภาพที่บ้านยังเป็นบทบาทหลักของทีมสุขภาพ และยังขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลของชุมชน ตลอดจนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด และเป็นเครือข่ายสุขภาพในระดับชุนชนที่มีความรู้และมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน  มีบทบาทหน้าที่กระจายความรู้ทางด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ความสามารถในการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย หรือเมื่อมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้นก็สามารถรักษาเบื้องต้น ป้องกันและฟื้นฟูสภาพไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความพิการได้ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองกันตัง เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน จึงจัดทำโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) ใส่ใจดูแลผู้สูงวัย ปี 2564 ขึ้น เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครดังกล่าวได้ร่วมกันดูแล ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแก่อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.)

ร้อยละ 100 ของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ได้รับความรู้และได้รับการพัฒนาทักษะการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ และได้รับการเยี่ยมบ้านพร้อมดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ

ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองกันตัง ได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ และได้รับการเยี่ยมบ้านพร้อมดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ

0.00
3 เพื่อสร้างเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
20 พ.ค. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 80 10,600.00 10,600.00
รวม 80 10,600.00 1 10,600.00
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 สำรวจข้อมูลและจัดทำทะเบียนจำแนกประเภทผู้สูงอายุในชุมชน 1.2 ประสานและขอความร่วมมือชุมชนในการคัดเลือกอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ 1.3 เสนอแผนงานให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและเสนอแผนงาน/โครงการต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อขออนุมัติงบประมาณ 1.4 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ในเรื่องการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในชุมชน ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ผู้สูงอายุ บทบาทความสำคัญของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ และหลักการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น พร้อมแบ่งกลุ่มเรียนรู้และประเมินทักษะ 4 ฐาน ดังนี้ การประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ (Barthel ADL Index) การประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ/การดูแลสภาพแวดล้อมในบ้าน การออกกำลังกาย/การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายของผู้สูงอายุ และอาหาร/โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
    2.2 ติดตามเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) พร้อมประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
  3. ขั้นสรุปและรายงานผล 3.1 สรุปผล/รายงานผลการดำเนินโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) มีทักษะการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม
  2. ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองกันตังได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ และได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ
  3. มีเครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2563 14:30 น.