กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
พัฒนาศักยภาพ อสม.เชี่ยวชาญด้านอนามัยแม่และเด็ก 1 ม.ค. 2564 12 มี.ค. 2564

 

1.คัดเลือก อสม.เข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 คน 2.ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรมในโครงการ 3. จัดเตรียมเอกสารหลักสูตร แบบประเมินความรู้ก่อน - หลังการอบรม 4. จัดเตรียมสถานที่และประสานวิทยากร 5. จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสม.เชียวชาญ แม่และเด็ก 6. สรุปและประเมินผลกิจกรรม

 

จัดประชุมชี้แจงโครงการฯ แกนนำอสม. ตัวแทน หมู่บ้านละ 3 - 4 คน  กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 25 คน  เข้าร่วมกิจกรรมครบ ร้อยละ 100 โดยมีการแจ้งสถานการณ์งานแม่และเด็ก ตัวชี้วัดแม่ตายและปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงาน ปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบทบาท อสม. ในการติดตาม ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ การดูแล/ติดตามเยี่ยมมารดาหลังคลอดครรภ์เสี่ยงในชุมชน ครรภ์เสี่ยง 7 โรค ที่ต้องเฝ้าระวังในหญิงตั้งครรภ์  การให้ความรู้เรื่องความสำคัญของยาเม็ดโฟลิก และการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์  เกณฑ์การคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์  โดยจากการประเมินกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ร้อยละ 85 มีการเฝ้าระวังตนเอง และสามารถเฝ้าระวังกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ที่วางแผน การตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบของตนเองได้

 

รู้ทัน ภัยเสี่ยง เตรียมพร้อมตั้งครรภ์ 1 ก.พ. 2564 17 มี.ค. 2564

 

1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2.ประสานงานกับ อสม.ในการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และจัดเตรียมเอกสารการอบรมให้ความรู้ 3.ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ หญิงตั้งครรภ์หรือสามีหรือญาติหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 18 - 35 ปี และหญิงหลังคลอด ในหัวข้อดังนี้ บทบาทของพ่อแม่ และการใช้สมุดสีชมพู การดูแลสุขภาพของแม่ขณะตั้งครรภ์ โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ อันตราย ของครรภ์เสี่ยง7 โรค อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ทันที 4.ประเมินภาวะเสี่ยงแก่กลุ่มเป้าหมาย ที่วางแผนการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งคัดกรองเบาหวาน 5.สรุปและประเมินผลกิจกรรม

 

( จัดกิจกรรม จำนวน 3 รุ่น  รุ่นละ 50 คน ) กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 150 คน จัดกิจกรรม ณ ห้องประชุมโรงเรียน อสม.                      โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน  มีการประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้เกณฑ์ ดังนี้ - หญิงตั้งครรภ์หรือสามีหรือญาติ - หญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 18 - 35 ปี
- มารดาหลังคลอดบุตรแรกเกิด – 2 ปี โดยได้เชิญวิทยากรจาก รพ.ควนโดน คือ คุณอาซีกิน ถิ่นสตูล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และ รพ.สต.ย่านซื่อ คุณมาเรียม หมาดดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ได้มาบรรยายให้ความรู้ เรื่องโฟเลตสำคัญช่วยป้องกันลูกพิการ บทบาทของพ่อแม่  การดูแลสุขภาพของแม่ขณะตั้งครรภ์  โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์  อันตรายของครรภ์เสี่ยง 7 โรค อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ทันที  และมีการประเมินภาวะเสี่ยงแก่กลุ่มเป้าหมาย ที่วางแผนการตั้งครรภ์  พร้อมทั้งคัดกรองเบาหวาน
จากผลการคัดกรองเบาหวาน 50 กรัม ในกลุ่มเป้าหมาย 3 รุ่น (รุ่นละ 2 คน)  ผลการตรวจเลือด ค่าน้ำตาล สูงกว่าเกณฑ์ปกติทั้ง 6 ราย ( ค่าปกติ ไม่เกิน 140 mg% ) จึงสามารถวิเคราะห์เบื้องต้นได้ว่า ประชากร กลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ในพื้นที่ตำบลควนโดนที่วางแผนการตั้งครรภ์ในอนาคต มีแนวโน้มที่จะต้องเฝ้าระวัง ครรภ์เสี่ยงและต้องติดตาม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเคร่งครัดก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่ตามมา ที่สำคัญคือป้องกันสาเหตุมารดาเสียชีวิตขณะตั้งครรภ์
กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือ ในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี มีความตั้งใจและมาตรงตามเวลาที่ได้นัดหมาย ซักถามข้อสงสัย กลุ่มเป้าหมายทุกคน ได้รับรับยาเม็ดโฟลิกขนาด 400 ไมโครกรัม ไปรับประทานต่อเนื่องทุกวัน จนครบ 6 เดือน และมีการเตรียมพร้อมในการวางแผนการตั้งครรภ์ในอนาคตต่อไป

 

คืนข้อมูลและประชุมเชิงปฏิบ้ติการ การป้องกันครรภ์เสี่่ยงในชุมชน 1 ก.ค. 2564 25 มี.ค. 2564

 

  1. จัดทำสรุป ข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอดประจำปี 2564
  2. วิเคราะห์ข้อมูล และวางแผนร่วมกับ อสม.ในชุมชน
  3. ร่วมวิเคราะห์ แก้ปัญหาเชิงลึก ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หญิงวัยเจริญพันธ์ เพื่อเตรียมพร้อมการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ
    4.ดำเนินกิจกรรมคืนข้อมูล

 

จัดกิจกรรมคืนข้อมูลแก่ แกนนำอสม. ตัวแทน หมู่บ้านละ 3 - 4 คน  กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ                จำนวน 24 คน  เข้าร่วมกิจกรรมครบ ร้อยละ 100  โดยมีการประชุมชี้แจง รายละเอียด มารดาครรภ์เสี่ยง                    ที่ยังไม่คลอด เพื่อติดตามเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด ร่วมวิเคราะห์ข้อมูล หาสาเหตุ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น ของหญิงตั้งครรภ์รายหมู่บ้าน และวางแผนติดตาม เฝ้าระวัง พฤติกรรมเสี่ยงในชุมชน