โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น (2) 2. เพื่อให้ อสม. มีความรู้สามารถค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย (3) 3. เพื่อสร้างรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายสำหรับใช้ในสถานบริการและพื้นที่ (4) 4. เพื่อให้ประชาชนเข้าใจรับรู้ถึงสัญญาณ เตือนในการฆ่าตัวตายกับคนใกล้ตัวและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้ (5) 5. คัดกรองและประเมินสุขภาพจิตของผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายด้วยคำถาม2Q,9Q และ 8Q ตามรูปแบบและแนวทางในการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายในสถานบริการ (6) 6. ติดตามดูแลให้ผู้ป่วยโรคจิตและผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่อยู่ในระบบการรักษาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1.อบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. จำนวน 41 คนให้เป็น “อสม.เชี่ยวชาญสุขภาพจิต” สามารถดำเนินงานตามคู่มือสุขภาพที่ชุมชนสลับ อสม.ของกรมสุขภาพจิต มีความรู้เรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและเข้าใจในเรื่อง 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตายและหลักธรรมปฐมพยาบาลทางจิตใจ (2) คัดกรองภาวะตัวซึมเศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย ใน (depress and Suicide Screening test : DS8) กลุ่มเป้าหมายโดยคัดกรองโรคซึมเศร้าแล้วตัวเองฆ่าตัวตาย คำถาม 2Q,9Q และ 8Q โดยเจ้าหน้าที่และ อสม. เชียวชาญสุขภาพจิต (ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1,017 คนผู้สูงอายุจำนวน (3) 6. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ 10 สัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย ฟังด้วยหัวใจให้ได้ยิน ในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่ ติดตั้งที่ศูนย์กลางของชุมชนแต่ละหมู่บ้าน
ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1)ควรดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตายในพื้นที่ในระยะยาว (2)อสม.ที่ได้ผ่านดารอบรม อสม.เชี่ยวชาญสุขภาพจิตควรได้รับการฟื้นฟูอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง