กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) ประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป 16 พ.ค. 2564 16 พ.ค. 2564

 

  1. ประชุมชี้แจง แนวทาง  ขั้นตอน รายละเอียดของการดำเนินงานให้สมาชิกชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) หมู่ที่ 1 บ้านเขาจีน  ตำบลคลองขุด จำนวน 19 คน
  2. คัดกรองด้วยแบบสอบถาม (verbal Screening) ประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไปและให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ แบ่งเป็น 4 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนท่าแม่เงาะ ชุมชนโคกพะยอมเหนือ ชุมชนร่วมพัฒนา และชุมชนร่วมใจสามัคคี
    3.สรุปผลการคัดกรองแยกกลุ่มผู้ที่พบภาวะเสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการอบรมให้ความรู้ เรื่องอารมณ์ อาหาร และการออกกำลังกาย โดยรณรงค์การออกกำลังกายตามความสมัครใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น การปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค เดิน-วิ่ง และการออกกำลังกายอื่น ๆ ที่เหมาะสมตามวัยและสภาพร่างกาย

 

ผลผลิต 1. ประชาชนทั่วไปที่มีอายุ 15-34 ปี ในพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านเขาจีน  จำนวนไม่น้อยกว่า  336 คน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผลลัพธ์ 1. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค 2. ผู้ได้รับการคัดกรองตรวจพบภาวะเสี่ยงได้ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถควบคุมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกาย และสามารถลดการใช้ยาให้น้อยที่สุด

 

คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) โดย อสม.ประจำหมู่บ้าน 13 มิ.ย. 2564 13 มิ.ย. 2564

 

  1. คัดกรองความดันโลหิตที่บ้าน (Home BP) โดย อสม.ประจำหมู่บ้าน แบ่งเป็น 4 ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนท่าแม่เงาะ ชุมชนโคกพะยอมเหนือ ชุมชนร่วมพัฒนา และชุมชนร่วมใจสามัคคี
  2. ติดตามและประเมินผล ทำการติดตามกำกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ต่อสุขภาพ และติดตามอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง หลังจากผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1 เดือน ถ้ายังมีภาวะเสี่ยงส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด
  3. สรุปและประเมินผลหลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือลดลง

 

ผลผลิต 1. ประชาชนที่ผ่านการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 90 ผลลัพธ์ 1. ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วถูกต้องตามสภาวะโรค 2. ผู้ได้รับการคัดกรองตรวจพบภาวะเสี่ยงได้ผ่านกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถควบคุมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกาย และสามารถลดการใช้ยาให้น้อยที่สุด