กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากการดำเนินโครงการ พบว่า การดำเนินงานพ่นหมอกควันในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าแพ กรณีมีรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จะมีกิจกรรมดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน ได้แก่ การสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย การพ่นหมอกครัวในบ้านผู้ป่วยและบริใกล้เคียง รัศมี 100 เมตร ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มบ้านเรือนใกล้เคียง การดำเนินกิจกรรม 5 ป 1 ข แจกยาทาโลชั่นกันยุง ซึ่งผลการดำเนินงานทีผ่านมาในปีงบประมาณ 2564 พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น จำนวน 22 ราย และพบว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลท่าแพในปี 2565 เริ่มมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกตั้งแต่เดือน พฤษภาคม พบว่ามีการระบาดสูงสุดในเดือน กรกฎาคม ซึ่งเมื่อเทียบข้อข้อมูลมัธยฐานย้อนหลังพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยต่ำกว่า
  * กิจกรรมการพ่นหมอกควันเพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออกในสถานศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน
    ดำเนินการได้ครบทั้ง 12 แห่ง ได้แก่ การดำเนินกิจกรรมพ่นหมอกควันในโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 8 แห่ง มัธยม จำนวน 1 แห่ง โรงเรียนฮาฟิส จำนวน 1 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง โดยดำเนินการช่วงก่อนเปิดภาคการศึกษาที่ 1 ในช่วงประมาณเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม โดยไดรับความร่วมมือจากทางผู้บริหารของโรงเรียนเป็นอย่างดี
- ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ
  กิจกรรมที่ 1 การพ่นหมอกควันในชุมชน
  - กรณีได้รับรายงานพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน นอกเวลาราชการหรือตรงกับวันหยุดราชการ ทำให้ไม่สามารถออกดำเนินการพ่นหมอกควันภายใน 24 ชั่วโมงตามเกณฑ์ที่ำหนดได้
  - จากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายส่วนใหญ่เป็นภาชนะที่อยู่นอกบ้านของผู้ป่วย ดังนั้นการพ่นหมอกควันภายในบ้านจะกำจัดเฉพาะยุงตัวแก่เท่านั้น แต่ลูกน้ำยุงลายที่อยู่นอกบ้านยังไม่ตาย ทำให้เจริญเป็นยุงตัวแก่ต่อไป ซึ่งเจ้าของบ้านต้องรับผิดชอบดำเนินการทำลายด้วยตัวเอง มิใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรืออาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน
  กิจกรรมที่ 2 การพ่นหมอกควันในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กล็ก   - มีการจัดทำแผนการออกพ่นหมอกควันและประสานครูผู้รับผิดชอบของแต่ละสถานศึกษา ซึ่งบางสถานศึกษาเปลี่ยนผู้รับผิดชอบงาน ทำให้วันที่ออกดำเนินการพ่นไม่ได้รับความสะดวก และบางสถานศึกษาขอเปลี่ยนกำหนดการพ่นหมอกควันจากที่ได้กำหนดไว้ ส่งผลให้การดำเนินงานต้องล่าช้า
ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน
  1. เน้นนักเรียนในเรื่องของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
  2. มีการจัดทำโรงเรียนต้นแบบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก
  3. เน้นการจัดสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนให้มีความสะอาด ปลอดโปร่ง และมีการกำจัดขยะและสิ่งของไม่ได้ใช้งานอย่างสม่ำเสมา
  4. ให้ประชาชนตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนเองในการดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลาย ซึ่งถ้าไม่มีการกำจัดก็จะกลายเป็นแหล่งรังโรคไข้เลือดออกต่อไป
  5. ส่งเสริมให้คนในชุมชนเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพโดยตนเอง เพื่อการดำเนินกิจกรรมอย่างยั่งยืน
  6. ส่งเสริมให้ประชาชนใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก เช่น ยาทากันยุง สเปรย์ไล่ยุง
  7. สร้างหมู่บ้านต้นแบบในการป้องกันและควบคุมโข้เลือดออกอย่างยั่งยืน
  8. เน้นการทำลายแหล่งเพาะพันธู์ลุกน้ำยุงลายในครัวเรือนของตนเอง โดยใช้หลัก 5 ป 1 ข
  9. จัดทีมพ่นหมอกควันโดยกำหนดเป็นโซนพื้นที่ในการรับผิดชอบ เพื่อให้สามารถดำเนินโรคไข้เลือดออกไ้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดยค่า HI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 และค่า CI เท่ากับ 10
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลท่าแพ มีค่าดัชนีลุกน้ำยุงลายในชุมชน โดยค่า HI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 และค่า CI เท่ากับ 10
70.00 0.00

 

2 2. เพื่อป้องกันแลพลกปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 80 ของบ้านที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสามารถดำเนินกิจกรรมควบคุมโรคอย่างทันเวลา - ร้อยละ 100 ของโรงเรียนในพื้นที่ตำบลท่าแพ ได้รับการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกก่อนเปิดภาคการศึกษา
80.00

 

3 3. เพื่อป้องกันควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิด Second Generation
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของหมู่บ้านในพื้นที่ตำบลท่าแพ ไม่เกิด Second Generation ด้วยโรคไข้เลือดออก
70.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน โดยค่า HI  น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 และค่า CI  เท่ากับ 10 (2) 2. เพื่อป้องกันแลพลกปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ (3) 3. เพื่อป้องกันควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิด Second Generation

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน และโรงเรียน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh