กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

การสุขาภิบาล เป็นวิธีการทางสุขอนามัยของการส่งเสริมสุขภาพ โดยผ่านการป้องกันมนุษย์มิให้สัมผัสกับภัย จากปฏิกูล โดยที่ภัยนั้นอาจเป็นทั้งตัวการของโรคทางกายภาพ, ทางจุลินทรีย์ชีวภาพ, ทางชีววิทยาหรือทางเคมี สิ่งปฏิกูลที่สามารถก่อปัญหาสุขภาพได้ ได้แก่ อุจจาระของมนุษย์หรือมูลของสัตว์, ปฏิกูลของแข็ง, น้ำทิ้งจากครัวเรือน (น้ำเสีย, สิ่งโสโครก, ปฏิกูลอุตสาหกรรมและปฏิกูลเกษตรกรรม. วิธีการทางสุขอนามัยในการป้องกันอาจเป็นการใช้วิธีการทางวิศวกรรม (เช่น การบำบัดน้ำเสีย, การบำบัดสิ่งปฏิกูล, การระบายน้ำท่วมจากพายุ, การจัดการปฏิกูลของแข็ง, การจัดการอุจจาระ), เทคโนโลยีเรียบง่าย (เช่น ส้วมหลุม, ส้วมแห้ง, UDDT, และถังเกรอะ) หรือแม้แต่การปฏิบัติสุขลักษณะส่วนตัวง่ายๆ (เช่นการล้างมือด้วยสบู่, การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม) และองค์การอนามัยโลกได้ให้คำนิยาม "การสุขาภิบาลโดยทั่วไป หมายถึง การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและการบริการสำหรับการกำจัดที่ปลอดภัยของปัสสาวะและอุจจาระของมนุษย์. และสาเหตุของการสุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรค การปรับปรุงการสุขาภิบาลจึงมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งในครัวเรือนและในทั้งชุมชน. นอกจากนี้คำว่า 'การสุขาภิบาล' ยังหมายถึงการบำรุงรักษาของสภาพทางสุขอนามัย, ผ่านการบริการเช่นการเก็บขยะและการกำจัดน้ำเสียอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคมีภาวะเจ็บป่วย ด้วยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ร้านประกอบกิจการด้านอาหารจึงต้องคำนึงถึงความสะอาดปลอดภัยมีคุณภาพตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อน ฉะนั้นจึงมีการควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเลือกบริโภคร้านอาหารที่ปลอดภัย ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสุขาภิบาลอาหาร และให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ.๒๕๖๑ กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประกอบการที่ไม่ถูกสุขลักษณะ จึงได้จัดทำโครงการอบรมผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหารตามมาตรฐานหลักสุขาภิบาลในเขตพื้นที่ตำบลตุยง ปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ขึ้น โดยมีกิจกรรมการอบรม ให้ความรู้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหาร กิจกรรมการตรวจสุขลักษณะของร้านอาหารตามแบบตรวจสุขาภิบาลอาหารสำหรับ“สถานที่จำหน่ายอาหาร” และการตรวจสุขลักษณะของแผงลอยของกรมอนามัย เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร รวมถึงผู้ปรุงอาหารในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ให้ผู้บริโภคได้รับการบริการที่มีคุณภาพเกิดความเชื่อมั่นในความสะอาดปลอดภัยต่อสถานบริการ สถานปรุงอาหารในสถานศึกษา และศูนย์เด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง ส่งผลให้ประชาชน เด็ก เยาวชนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการและหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 ของผู้ประกอบการกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการและหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร
30.00 30.00 30.00

 

2 เพื่อให้ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่ได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
30.00 30.00 30.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 30 30
กลุ่มผู้สูงอายุ 0
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรการอบรมผู้ประกอบกิจการและหลักสูตรการอบรมผู้สัมผัสอาหาร (2) เพื่อให้ร้านอาหาร และแผงลอยจำหน่ายอาหารได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) สำรวจร้านอาหารและแผงลอยในพื้นที่รับผิดชอบทั้งตำบล (2) จัดอบรมให้ความรู้หลักสุขาภิบาลอาหาร แก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัส (3) ติดตามเยี่ยมร้านประกอบการ (4) ประเมินผลการดำเนินงานหรือถอดบทเรียน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh