กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพดี วิถีใหม่ ลดเสี่ยง ลดโรค ประจำปี ๒๕๖๔ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บองอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ที่ออกกำลังกายมากกว่า3ครั้ง/สัปดาห์

 

1,100.00
2 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

 

46.00
3 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน รายใหม่

 

24.00

การส่งเสริมสุขภาพ เป็นมิติหนึ่งทางสุขภาพที่มีความสำคัญมากที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขในการส่งเสริมสุขภาพ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายมิติสุขภาพ เข้าใจหลักและวิธีปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติในการส่งเสริมสุขภาพได้อย่างถูกต้องสถานการณ์ในปัจจุบันพบว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างอาหารที่รับประทานและการออกกำลังกายพบว่าคนไทยกินผักและผลไม้ต่ำกว่ามาตรฐาน ส่วนการกินน้ำตาลและไขมันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆขณะที่การเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายในกลุ่มอายุ 15ปีขึ้นไปลดลง ปัจจุบันพบภาวะอ้วนและลงพุงมากขึ้นเรื่อยๆประมาณว่าประชากรในประเทศไทยที่มีอายุมากกว่า 35 ปีมีเส้นรอบพุงเกินเกณฑ์ที่กำหนดโดยพบว่าผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยลง ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และปัจจุบันปัญหาโรคไม่ติดต่อได้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ จากรายงานของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า โรคที่เป็นปัญหาในชุมชน ๕ อันดับแรก ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงร่าง โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหัวใจและโรคอ้วนลงพุง ผู้ป่วยส่วนใหญ่พบในกลุ่มวัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ จากการสอบถามพบว่าผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายและบริโภคอาหารไม่ถูกต้องก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ซึ่งถ้าประชาชนได้บริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ และมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถลดปัญหาดังกล่าวลงได้
จากความสำคัญดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอจึงเล็งเห็นว่า ควรส่งเสริมให้ประชาชน ในเขตรับผิดชอบตระหนักและเห็นความสำคัญของเลือกรับประทานอาหารและการออกกำลังกายโดยเน้นกิจกรรม ๓อ. อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย การจัดอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพตนเอง หลักการออกกำลังกาย ที่เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนมีความตระหนักตื่นตัว เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย และมีความสนุกสนาน ผ่อนคลาย ไม่จำเจ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แล้วยังเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างความสามัคคี และที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อให้เกิดกลุ่มรักสุขภาพในชุมชน

เกิดกลุ่มรักสุขภาพในชุมชน

60.00 80.00
2 ๒. เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน

ส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน

65.00 85.00
3 ๓. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (๓อ.)

ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (๓อ.) ร้อยละ ๘๐

70.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 279
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑. กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ( ๓ อ. ) ๔ รุ่น

ชื่อกิจกรรม
๑. กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ( ๓ อ. ) ๔ รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ( ๓ อ. ) -ค่าอาหารกลางวัน ๒๐๐ คน x ๕๐ บาท(๔ รุ่น) เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
-ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม ๒๐๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาท X ๔ ครั้ง เป็นเงิน ๑๔,๔๐๐บาท -ค่าป้ายโครงการ ๑ แผ่น เป็นเงิน๗๕๐ บาท รวมเป็น๓๕,๑๕๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค ( ๓ อ. ) ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35150.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. กิจกรรมการออกกำลังกาย ลดพุง ลดโรค

ชื่อกิจกรรม
๒. กิจกรรมการออกกำลังกาย ลดพุง ลดโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการออกกำลังกาย ลดพุง ลดโรค -ค่าตอบแทนผู้นำออกกำลังกาย ๑ ชม.ๆละ ๔๐๐ บาท X ๔ คน X ๑๐ วัน เป็นเงิน ๑๖,๐๐๐บาท รวมเป็น ๑๖,๐๐๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ส่งเสริมการออกกำลังกายในชุมชน  ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 51,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เกิดกลุ่มรักสุขภาพในชุมชน
๒. ประชาชนให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
๓. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (๓อ.)


>