กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน รหัส กปท. L5314

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร ปีงบระมาณ 2564
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสน
กลุ่มคน
1. นายคณิต ตุกังหัน
2. ส.ต.ต.สนิท ขาวเชาะ
3. นางคอดีเยาะ ยาหมาย
4. นางสาวฐานิศา สาเบดผู้ประสานงาน คนที่ 1
5. นางสาวรุสนาติงหวัง ผู้ประสานงาน คนที่ 2
3.
หลักการและเหตุผล

วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 80 ของประชากรในประเทศ จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน การแข่งขันให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีกำไรมากที่สุด ใช้ระยะเวลาในการผลิตน้อยลง เกษตรกรจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ รวมทั้งการใช้สารเคมีเพื่อเร่งผลผลิต หรือสารกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลาย หากเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่มีความรู้ในการป้องกันตนเองหรือไม่ได้ใช้อย่างถูกวิธี จะทำให้สารเคมีเข้าไปสะสมในร่างกาย มีผลทำให้ระดับเอนไซน์โคลีนเอสเตอเรสลดลง ร่างกายอาจเกิดภาวะเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ สาเหตุเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มุ่งการเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น โดยคิดว่าการใช้สารเคมีเป็นเพียงทางเดียวที่จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและราคาดี โดยไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสุขภาพ ที่นอกจากอันตรายต่อสุขภาพเกษตรกรผู้ใช้แล้ว ยังมีผลต่อครอบครัว ผู้บริโภค และประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะพัฒนาการของเด็กที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้ และในปี 2562 คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติแบน 3 สารเคมีอันตราย ได้แก่ ไกลโฟเซต (Glyphosate), พาราควอต (Paraguard) และคลอร์ไพรีฟอส (Chlopyrifort) ซึ่งเป็นสารอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ ผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ด้วยกระดาษโคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase reactive paper) ในกลุ่มเกษตรกรพบว่าเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยต่อพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พ.ศ.2554-2558 คิดเป็นร้อยละ 32.47, 30.94, 30.57, 34.02 และ 32.45 ตามลำดับ (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม) จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกัน เพื่อลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร ตำบลแหลมสนเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกแตงโม และพืชผักอื่นๆ เป็นจำนวนมาก โดยฉพาะการปลูกแตงโมซึ่งเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของตำบล แหลมสน เนื่องจากมีรสหวาน กรอบ และพบว่าในการปลูกผลไม้เหล่านี้มีการใช้สารเคมี ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และลดอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร รวมทั้งเพื่อให้ เกษตรกรทุกคนมีผลเลือดปกติ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. ข้อที่ 1. เพื่อให้แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกรมีความรู้/ทักษะ เกี่ยวกับ 1. เทคนิคการเจาะเลือดเกษตร 2. การเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร 3. การตรวจหาสารเคมีตกค้างในผัก 4. การใช้เกษตรอินทรีย์
    ตัวชี้วัด : หลังได้รับการอบรม แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร 1. สามารถเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อหาสารเคมีตกค้างในร่างกายได้ ร้อยละ 80 2. มีความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร และการใช้เกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 80 3. สามารถตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. ข้อที่ 2. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช/เฝ้าระวังอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสามารถดูแลสุขภาพได้
    ตัวชี้วัด : 1. เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสามารถใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างปลอดภัย หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 2. หลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. ข้อที่ 3. ผลการเจาะเลือดเกษตรอยู่ในระดับปลอดภัยมากขึ้น
    ตัวชี้วัด : 1. หลังการเข้าร่วมโครงการ ผลการเจาะเลือดเกษตรกรอยู่ในระดับปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. ข้อที่ 4. ไม่พบการปนเปื้อนสารเคมีในผักของเกษตรกร
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 90 ของผักที่เกษตรกรปลูกไม่พบการปนเปื้อนสารเคมี
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุม/อบรม
    รายละเอียด

    1.1 จัดตั้งแกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร และจัดอบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพแกนนำ (2 วัน)

    เป้าหมาย :
    แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร จำนวน 20 คน

    รายละเอียดกิจกรรม 1.1.1 ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรมและทำแบบทดสอบก่อนการ อบรม 1.1.2 ชี้แจงวัตถุประสงค์และประวัติความเป็นมาของโครงการ


    1.1.3 การอบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะ เกี่ยวกับ       1. เทคนิคการเจาะเลือดเกษตร (2.5 ชั่วโมง)       2. การเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร (3 ชั่วโมง)       3. การตรวจหาสารเคมีตกค้างในผัก (3 ชั่วโมง)       4. การใช้เกษตรอินทรีย์ (3 ชั่วโมง) 1.1.4 อภิปราย ซักถาม และทำแบบทดสอบหลังการอบรม งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับ การอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 25 คน x 70 บาท x 1 มื้อ x 2 วัน เป็นเงิน 3,500 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ ผู้เข้ารับการอบรม และผู้สังเกตการณ์ จำนวน 25 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 2 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท


    1. ค่าตอบแทนวิทยากร
        3.1 วิทยากรในพื้นที่
              จำนวน 2.5 ชั่วโมง x 300 บาท
              เป็นเงิน 750 บาท     3.2 วิทยากรนอกพื้นที่
              จำนวน 9 ชั่วโมง x 600 บาท
              เป็นเงิน 5,400 บาท
    2. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์
          4.1 ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ สำหรับการ อบรม เป็นเงิน 700 บาท       4.2 ค่าชุดเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อหาปริมาณสารเคมีตกค้างในเกษตรกร         1. ชุดอุปกรณ์สำหรับการตรวจหา สารเคมีในเลือดเกษตรกร จำนวน 1 ชุด x 1,800 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท         2. ค่าเข็มเจาะเลือดแบบกด จำนวน 1 กล่อง (200 อัน) x 950 บาท
      เป็นเงิน 950 บาท       4.3 ค่าชุดตรวจหาปริมาณสารตกค้างในผัก จำนวน 2 ชุด (ชุดละ 10 ตัวอย่าง) ชุดละ 730  บาท  เป็นเงิน 1,460 บาท
    3. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5 x 3 เมตร
      x 150 บาท เป็นเงิน 675 บาท
    4. ค่าแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ก่อน และหลังการอบรม จำนวน 20 คน x 2 ชุด x 2 บาท เป็นเงิน 80 บาท รวมเงิน 17,815.- บาท
      (=หนึ่งหมื่นเจ็ดพันแปดร้อยสิบห้าบาทถ้วน=) 1.2  การอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ใช้สารเคมี (จำนวน 1 วัน)

    เป้าหมาย : เกษตรกรในพื้นที่ตำบลแหลมสน จำนวน 90 คน

    รายละเอียดกิจกรรม 1.2.1 ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรมและทำแบบทดสอบก่อนการ อบรม 1.2.2 ชี้แจงวัตถุประสงค์และประวัติความเป็นมาของโครงการ 1.2.3 การอบรมให้ความรู้เรื่อง         1. การป้องกันไม่ให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกาย/การแก้พิษเบื้องต้น             (1 ชั่วโมง)         2. เทคนิค/วิธีการ การลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช           (3 ชั่วโมง)         3. การเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ (3 ชั่วโมง) 1.2.4  อภิปราย ซักถาม และทำแบบทดสอบหลังการอบรม งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการ อบรม และผู้สังเกตการณ์
    จำนวน 95 คน x 70 บาท x 1 มื้อ
    x 1 วัน เป็นเงิน 6,650 บาท
    2.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ ผู้เข้ารับการอบรม และผู้สังเกตการณ์
    จำนวน 95 คน x 25 บาท x 2 มื้อ
    x 2 วันเป็นเงิน 4,750 บาท
    3.  ค่าตอบแทนวิทยากร
        3.1 วิทยากรนอกพื้นที่
            จำนวน 5 ชั่วโมง x 600 บาท
            เป็นเงิน 3,000 บาท 4. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์สำหรับการอบรม
      เป็นเงิน 3,400 บาท 


    5. ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5 x 3 เมตร
    x 150 บาท เป็นเงิน 675 บาท 6. ค่าแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ก่อน และหลังการอบรม
    จำนวน 90 คน x 2 ชุด x 2 บาท
    เป็นเงิน 360  บาท
    7.  ค่าแบบประเมินความพึงพอใจต่อ โครงการ  จำนวน 90 คน x 2 บาท
    เป็นเงิน 180 บาท 8. ค่าแบบประเมินความเสี่ยงของเกษตรกร (นบก.-๑) จำนวน 90 คน x 3 บาท                          เป็นเงิน 270  บาท
    9. ค่าเช่าห้องประชุม
    จำนวน 1 วัน x 1,500 บาท เป็นเงิน  1,500 บาท รวมเงิน 20,785.- บาท
    (=สองหมื่นเจ็ดร้อยแปดสิบห้าบาทถ้วน=) 1.3 ประชุมกลุ่มย่อยแต่ละหมู่บ้านและติดตามประเมินผล
    (4 หมู่บ้านๆ ละ 1 ครั้ง)

    เป้าหมาย:
        1. ตัวแทนเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 90 คน     2. แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร (4 หมู่บ้าน) จำนวน 20 คน     3. คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน       (คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการทั้ง 3 คน จะเข้าร่วม       ประชุมกลุ่มย่อยทั้ง 4 หมู่บ้าน)

    รายละเอียดกิจกรรม 1.3.1 ประชุมกลุ่มย่อยและติดตามผลแต่ละหมู่บ้าน 1.3.2 ซักถามปัญหา งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมกลุ่มย่อยและติดตามการดำเนินงาน จำนวน 122 คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน  3,050 บาท รวมเงิน 3,050.- บาท
    (=สามพันห้าสิบบาทถ้วน=)

    งบประมาณ 41,650.00 บาท
  • 2. การเจาะเลือดเกษตรกร
    รายละเอียด

    1.2  การอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ใช้สารเคมี (จำนวน 1 วัน)

    เป้าหมาย : เกษตรกรในพื้นที่ตำบลแหลมสน จำนวน 90 คน

    รายละเอียดกิจกรรม 1.2.1 ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรมและทำแบบทดสอบก่อนการ อบรม 1.2.2 ชี้แจงวัตถุประสงค์และประวัติความเป็นมาของโครงการ 1.2.3 การอบรมให้ความรู้เรื่อง         1. การป้องกันไม่ให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกาย/การแก้พิษเบื้องต้น             (1 ชั่วโมง)         2. เทคนิค/วิธีการ การลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช           (3 ชั่วโมง)         3. การเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ (3 ชั่วโมง) 1.2.4  อภิปราย ซักถาม และทำแบบทดสอบหลังการอบรม งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการเจาะเลือดเกษตรกร สำหรับเกษตรกร แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร และ      เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ
    จำนวน 122 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 2 ครั้ง เป็นเงิน 6,100 บาท 2. ค่าชุดเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อหาปริมาณสารเคมีตกค้างในร่างกายเกษตรกร
        2.1 ชุดอุปกรณ์สำหรับการตรวจหา สารเคมีในเลือดเกษตรกร จำนวน 1 ชุด x 1,800 บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 3,600 บาท
          2.2 ค่าเข็มเจาะเลือดแบบกด จำนวน 1 กล่อง (200 อัน) x 950 บาท
    เป็นเงิน 950 บาท รวมเงิน 10,650.- บาท
    (=หนึ่งหมื่นหกร้อยห้าสิบบาทถ้วน=)

    งบประมาณ 10,650.00 บาท
  • 3. การสุ่มตรวจผักของเกษตรกร
    รายละเอียด

    3.1 ประชุมกลุ่มย่อย และสุ่มตรวจผักของเกษตรกร เพื่อหาปริมาณสารเคมีตกค้างในผัก (สุ่มตรวจผัก จำนวน 3 ครั้งๆ ละ 20 ตัวอย่าง รวม 60 ตัวอย่าง : แต่ละครั้งห่างกัน 2-3 เดือน)

    เป้าหมาย :
        1. ตัวอย่างผักของเกษตรกรที่ปลูก จำนวน 60 ตัวอย่าง     2. แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร (4 หมู่บ้านๆ ละ 3 คน)       จำนวน 12 คน     3. คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน         (คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการทั้ง 3 คน จะเข้าร่วม       เจาะเลือดเกษตรกรทั้ง 4 หมู่บ้าน)


    รายละเอียดกิจกรรม 3.1.1 ตรวจผักของเกษตรกร เพื่อหาปริมาณสารเคมีตกค้างในผัก         (สุ่มตรวจผัก จำนวน 3 ครั้งๆ ละ 20 ตัวอย่าง รวม 60
            ตัวอย่าง) งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับแกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 15 คน x 70 บาท x 1 มื้อ
    x 3 ครั้ง เป็นเงิน 3,150 บาท
    2.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 15 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 3 ครั้ง เป็นเงิน 2,250 บาท
    3. ค่าชุดตรวจหาปริมาณสารตกค้างในผัก จำนวน 6 ชุด (ชุดละ 10 ตัวอย่าง) ชุดละ 730 บาท เป็นเงิน 4,380 บาท รวมเงิน 9,780.- บาท
    (=เก้าพันเจ็ดร้อยแปดสิบบาทถ้วน=)

    งบประมาณ 9,780.00 บาท
  • 4. จัดทำคู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกร
    รายละเอียด

    4.1 จัดทำคู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกร

    เป้าหมาย :
        คู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกร จำนวน 90 เล่ม

    รายละเอียดกิจกรรม 4.1.1 จัดทำคู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกร
    งบประมาณ 1. ค่าจัดทำคู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกร
    จำนวน 90 เล่ม x 35 บาท
    เป็นเงิน 3,150 บาท
    รวมเงิน 3,150.- บาท
    (=สามพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน=)

    งบประมาณ 3,150.00 บาท
  • 5. ออกเยี่ยมแปลงผักของเกษตรกร (4 หมู่บ้านๆ ละ 1 ครั้ง)
    รายละเอียด

    5.1 ออกเยี่ยมแปลงผักของเกษตรกร

    เป้าหมาย :
        เป้าหมาย:
        1. ตัวแทนแปลงผักของเกษตรกรในพื้นที่ หมู่ละ  5 แปลง       รวม 20 แปลง     2. แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร (4 หมู่บ้าน) จำนวน 20 คน     3. คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน       (คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการทั้ง 3 คน จะเข้าร่วม       ประชุมกลุ่มย่อยทั้ง 4 หมู่บ้าน)
    รายละเอียดกิจกรรม 5.1.1 ออกเยี่ยมแปลงผักของเกษตรกร
    5.1.2. ซักถามปัญหา ไม่ขอใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 6. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    รายละเอียด

    6.1 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    เป้าหมาย :
        จัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน 4 เล่ม
    รายละเอียดกิจกรรม 6.1.1 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 1 ครั้ง 6.1.2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย         2 เล่ม งบประมาณ 1. ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน จำนวน 2 เล่มๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน  600 บาท รวมเงิน 600.- บาท (=หกร้อยบาทถ้วน=)

    งบประมาณ 600.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

ตำบลแหลมสน

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 65,830.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ทราบผลกระทบทางสุขภาพที่ได้รับจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
  2. เกษตรกรสามารถใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้
  3. เกษตรกร ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และหันมาเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน รหัส กปท. L5314

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน รหัส กปท. L5314

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 65,830.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................