กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ“พัฒนาทักษะด้านโภชนาการและสร้างนักจัดการแก้ไขปัญหาโภชนาการแบบ Active Learning”

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ“พัฒนาทักษะด้านโภชนาการและสร้างนักจัดการแก้ไขปัญหาโภชนาการแบบ Active Learning”

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตรัง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านบองอ

1.นางแวตีเมาะ กอและ 2.นางสาอีดะห์ แวหะมะ 3.นางแวซง มะมิง 4.นางอาแอเสาะ วาแม็ง 5.นายอับดุลเล๊าะ เเจ๊ะโซ๊ะ

ม.1 ตำบลตรัง อ.มายอ จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

 

20.00
2 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

 

20.00

ภาวะโภชนาการที่ดีตั้งแต่วัยเด็กเป็นรากฐานสำคัญทำให้เด็กเจริญเติบโตและมีสุขภาพดีไปตลอดชีวิต นอกจากนี้การได้รับสารอาหารที่หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย ยังส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา ภาวะทุพโภชนาการตามเกณฑ์น้ำหนักเทียบกับส่วนสูงที่มีภาวะผอม ปี 2563 ของตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี คิดเป็นร้อยละ 57 ตาม ซึ่งยังอยู่ในระดับที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด (ข้อมูลจาก Health Data Center Pattani ณ วันที่.18 เดือน มกราคม พ.ศ. 2564) การดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการที่ผ่านมา พบว่าจะเน้นการจัดอบรมให้ความรู้เพราะเข้าใจว่ามีสาเหตุมาจากผู้ปกครองขาดความรู้เรื่องโภชนาการ อีกทั้งขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ และกระบวนการติดตามการเจริญเติบโตของเด็กในพื้นที่ยังไม่มีความชัดเจน
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านบองอจึงมีความสนใจที่จะค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาแต่ละครอบครัวและพัฒนาทักษะของผู้ดูแลเด็ก และผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กในชุมชน ตระหนักและมีทักษะด้านโภชนาการของเด็กแต่ละช่วงอายุ เป็นนักจัดการแก้ไขภาวะโภชนาการในครอบครัว ให้สามารถวางแผนเมนูอาหารตามมาตรฐาน สัดส่วน ปริมาณอาหาร มีคุณภาพต่อเด็ก ในแต่ละช่วงวัย อีกทั้งมีความเข้าใจวิธีการสร้างพฤติกรรมการกินของเด็กที่เหมาะสม เพื่อสร้างสร้างเด็กปัตตานีสูงดีสมส่วน ในพื้นที่ตำบลตรังอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

20.00 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

20.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทักษะการดูแลส่งเสริมการจัดหาอาหารของผู้ปกครองตามประเภทของเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาทักษะการดูแลส่งเสริมการจัดหาอาหารของผู้ปกครองตามประเภทของเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการจัดหาอาหารของผู้ปกครองตามประเภทของเด็กที่มีภาวะทุพโภชนการ ซึ่งจะมีการ อบรมประกอบด้วย เนื่อหา ดังนี้
-1 ความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดอาหารของผู้ปกครอง - ตั้งประเด็นคำถาม 11ข้อ ให้ตอบว่า ใช่ หรือไม่ใช่ - ถามเหตุผลว่าทำไมจึงเลือกคำตอบนั้น
- สรุปประเด็นสำคัญ
2 แนวคิดอาหารและโภชนาการ - บรรยายอาหารหลัก 5 หมู่ แหล่งที่มาของสารอาหาร - เล่นเกม เพื่อทบทวนสิ่งที่ได้รับรู้ - สรุปประเด็นสำคัญ

-งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 20 คน ๆ ละ 50บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน1000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 20 คน ๆ ละ 25บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 1000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600บาท จำนวน 1 วันเป็นเงิน 3600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการปกติ สูงดีสมส่วน       
  2. ครอบครัว ชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 2 การติดตามภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
การติดตามภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง โดย เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ตรัง
  • กิจกรรม ติดตามโภชนาการเด็ก “สูงดีสมส่วน” ให้ฝึกคำนวณอายุ และจุดกราฟ -เครื่องชั่งน้ำหนักเด็กแรกเกิด แบบ ดิจิตอล จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 4500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลสถานการณ์ ภาวะโภชนการในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กปฐมวัยมีภาวะโภชนาการปกติ สูงดีสมส่วน
2. ครอบครัว ชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการดูแลเด็ก


>