กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กปฐมวัย ยิ้มสดใส ใส่ใจสุขภาพฟัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชะเอาะ

นางสาวยามีล๊ะห์ ดาราแม

1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านชะเอาะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีปัญหาฟันผุ

 

100.00

ฟันน้ำนมในเด็กเล็กมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือ ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร ซึ่งหากเด็กฟันผุจะส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหารของเด็ก ซึ่งส่งผลกับสุขภาพและพัฒนาการเด็กโดยตรง จะเห็นได้จากงานวิจัยของพนิตเทพ ทัพพะรังสี และคณะ รายงานว่าเด็กที่มีฟันผุน้อยมีพัฒนาการสมวัยมากกกว่าเด็กที่มีฟันผุมากกว่า เพราะโรคฟันผุที่ลุกลามจะทำให้เด็กมีอาการปวด นอนอมไม่หลับ เคี้ยวอาหารยาก ส่งผลต่อโภชนาการของเด็กในระยะยาว และประการที่สอง ฟันกรามน้ำนมมีหน้าที่เก็บที่ไว้ให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทน ในผู้ใหญ่เราทราบดีว่า เวลาฟันผุจนต้องถูกถอนฟันไปแล้วนั้น ฟันที่อยู่ข้างๆช่องที่ถูกถอน ก็จะล้มเอียงเข้ามา ในฟันน้ำนมก็เช่นกัน นอกจากฟันข้างๆจะล้มเอียงแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือ ฟันทีล้มก็จะล้มมาหรือเลื่อนมาจนไม่เหลือที่ให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาตรงช่องนั้นขึ้นมาได้ ทำให้ฟันแท้บิดเกซ้อนไปมา ต้องรับการแก้ไขอย่างอื่น ๆ ต่ออีก

จากรายงานของโรงพยาบาลสุขภาพตำบล ในโครงการแก้ไขปัญหาเด็กมะนังยง Smart Kids ได้รายงานผลการตรวจพัฒนาการและสุขภาพเด็กปฐมวัยในตำบลมะนังยง พบว่าเด็กมีฟันผุร้อยละ 83.26 ซึ่งข้อมูลประจำปีการศึกษา 2563 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยงทั้งสองแห่งมีจำนวนเด็กฟันผุถึงขนาดร้อยละ 100 ซึ่งสาเหตุฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาและคนในครอบครัวในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง

ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง จึงเห็นควรจัดบริการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลช่องปากให้กับเด็กเล็กและผู้ปกครอง รวมถึงการบริการทางทันตกรรมให้กับเด็กเล็ก พร้อมทั้งประเมินติดตามผลเพื่อให้เด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี และส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยและมีฟันที่ดีในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีปัญหาสุขภาพฟันรายเดิมไม่ให้มีปัญหาสุขภาพฟันเพิ่มขึ้น

ลดลงจากร้อยละ 100 เป็นร้อยละ 80

100.00 80.00
2 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี

ร้อยละ 80 ของเด็กทั้งหมดที่ผ่านการทดสอบความรู้ในการดูแลฃ่องปาก

100.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยอย่างถูกวิธี

ร้อยละ 80 ของเด็กทั้งหมดที่ที่ผ่านการทดสอบความรู้ในการดูแลฃ่องปาก

100.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 68
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็กเล็ก 68

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจคัดกรองเด็กเล็กที่มีฟันผุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองเด็กเล็กที่มีฟันผุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คุณครูตรวจฟันเด็กเล็กว่ามีเด็กที่มีฟันผุกี่คนและซี่ใดบ้าง

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 26 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนเด็กที่มีฟันผุและลักษณะการผุของฟันเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลช่องปาก (ศพด.มัสยิดบ้านดาลอ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลช่องปาก (ศพด.มัสยิดบ้านดาลอ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1. วิทยากรให้ความรู้เรื่องการดูแลฟัน 2. สอนการแปรงฟันให้ถูกวิธีโดยใช้กิจกรรมผู้ปกครองร่วมกันสอนแปรงฟันเด็กและประเมินผลเป็นรายบุคคล 3. ตรวจฟันให้คำปรึกษา 4. เคลือบฟลูออไรด์ 5. ประสานงานโรงพยาบาลสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลยะหริ่งเพื่อจองคิวทำฟัน

ค่าใช้จ่าย 1. ค่าอาหารว่าง 27 คน 35 บาทต่อคน 1 มื้อต่อวันเป็นเงิน 945 บาท 2. ค่าป้ายไวนิล 1 ผืน ขนาด 1.25 x 2.4 เมตร เป็นเงิน 750 บาท 3. ค่าวิทยากร 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท 4. แปรงสีฟันเด็ก 26 คน x ราคา 30 บาท เป็นเงิน 780 บาท 5. ยาสีฟันเด็ก 26 คน x ราคา 25 บาท เป็นเงิน 650 บาท 6. อุปกรณ์ในการสอนแปรงฟัน เช่น ฟันปลอม 2,000 บาท 7. ค่าวัสดุสำหรับเคลือบฟลูออไรด์ 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2564 ถึง 17 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
  2. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยอย่างถูกวิธี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7325.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลช่องปาก (ศพด.บ้านชะเอาะ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลช่องปาก (ศพด.บ้านชะเอาะ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1. วิทยากรให้ความรู้เรื่องการดูแลฟัน 2. สอนการแปรงฟันให้ถูกวิธีโดยใช้กิจกรรมผู้ปกครองร่วมกันสอนแปรงฟันเด็กและประเมินผลเป็นรายบุคคล 3. ตรวจฟันให้คำปรึกษา 4. เคลือบฟลูออไรด์ 5. ประสานงานโรงพยาบาลสุขภาพตำบลหรือโรงพยาบาลยะหริ่งเพื่อจองคิวทำฟัน

ค่าใช้จ่าย 1. ค่าอาหารว่าง 41 คน 35 บาทต่อคน 1 มื้อต่อวันเป็นเงิน 1,435 บาท 2. ค่าป้ายไวนิล 1 ผืน ขนาด 1.25 x 2.4 เมตร เป็นเงิน 750 บาท 3. ค่าวิทยากร 600 บาท x 2 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,200 บาท 4. แปรงสีฟันเด็ก 41 คน x ราคา 30 บ่าท เป็นเงิน 1,230 บาท 5. ยาสีฟันเด็ก 41 คน x ราคา 25 บาท เป็นเงิน 1,025 บาท 6. อุปกรณ์ในการสอนแปรงฟัน เช่น ฟันปลอม 2,000 บาท 7. ค่าวัสดุสำหรับเคลือบฟลูออไรด์ 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มีนาคม 2564 ถึง 18 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
  2. เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยอย่างถูกวิธี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9640.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนในการดูแลช่องปากโดยครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมผู้เรียนในการดูแลช่องปากโดยครูของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำสื่อเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 2 ศูนย์ ๆ ละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  2. ครูเด็กเล็กบรรจุหน่วยการสอน เรื่องการแปรงฟันลงใน ลงในแผนการสอน เช่น พฤติกรรมที่ทำให้ฟันผุ อาหารที่ทำให้ฟันผุ ฯลฯ
  3. ครูจัดทำกิจกรรมแปรงฟันทุกตอนเที่ยง
  4. ครูติดตามผลการรักษาฟันของเด็กที่มีปัญหาฟันผุ
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ทุกศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีสื่อการสอนและกิจกรมการสอนเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
  2. เด็กเล็กทุกคนเข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเคลือบฟันและประเมินผลสุขภาพฟัน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเคลือบฟันและประเมินผลสุขภาพฟัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประเมินสุขภาพฟันเด็กและเคลือบฟันเด็ก ไตรมาสละ 1 ครั้ง รวม 2 ครั้ง ในเดือนวันที่ 1 มิถุนายน 2564 และ 1 กันยายน 2564 มีค่าใช้จ่ายดังนี้ 1. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการเคลือบฟัน 4 หลอด 2 ครั้ง ราคาหลอดละ 1,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท 2. ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท 2 คน (ศพด.ละ 1 คน) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 ศูนย์ เป็นเงิน 2,400 บาท (ให้ความรู้การดูแลฟันเพิ่มเติมสำหรับเด็กที่ยังมีปัญหาสุขภาพฟัน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 1 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ลดจำนวนเด็กที่มีปัญหาสุขภาพฟันรายเดิมไม่ให้มีปัญหาสุขภาพฟันเพิ่มขึ้น
  2. เด็กที่มีสุขภาพฟันดีไม่มีปัญหาสุขภาพฟันเพิ่มขึ้น
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,365.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละของเด็กเล็กที่มีฟันผุรายใหม่ลดลง
2. ร้อยละของเด็กเล็กที่มีฟันผุรายเดิมไม่มีฟันผุเพิ่มขึ้น
3. ผู้ปกครองและเด็กเล็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น


>