กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปาล์มพัฒนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขภาพฟันดี ชีวีมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปาล์มพัฒนา

โรงเรียนบ้านป่าพน

โรงเรียนบ้านป่าพน

โรงเรียนบ้านป่าพน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การรักษาสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการ
มีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัว
ปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นโรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไป ก็มีปัจจัยร่วมหลายๆ อย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือจากเชื้อโรคในช่องปาก เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเอง
ที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเอง การอยู่ใน
ครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน
ดังนั้นโรงเรียนบ้านป่าพน ตะหนัก และเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน ผู้ปกครองรวมถึงบุคลากรในโรงเรียน ให้ได้รับการปลูกฝังพฤติกรรมด้านสุขภาพฟัน สุขภาพกายให้ดีตั้งแต่วัยเด็ก อันนำไปสู่การพัฒนาครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป จึงได้จัดให้มีโครงการ/ กิจกรรมสุขภาพฟันดี ชีวีมีสุขในโรงเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพในช่องปาก

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นความสำคัญของสุขภาพในช่องปาก

70.00 0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อให้ความรู้เรื่องทันตอนามัยในเด็ก

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เรื่องทันตอนามัยในเด็ก

80.00 80.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขภาพช่องปาก

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการดูแลสุขภาพในช่องปากที่ดีขึ้น

80.00 80.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อให้นักเรียนรู้จักวิธีการดูแลรักษาฟัน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรู้จักวิธีการดูแลรักษาช่องฟันมากขึ้น

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 83
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการสุขภาพฟันดี ชีวีมีสุข

ชื่อกิจกรรม
โครงการสุขภาพฟันดี ชีวีมีสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ (นักเรียน/ผู้ปกครอง/ครู) จำนวน 143 คน ๆ ละ 25 บาท/ มื้อ จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 7,150 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน คนละ 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,800บาท
  3. ค่าเอกสารความรู้เรื่องการดูแลรักษาฟันประกอบการอบรม จำนวน 143 ชุด ชุดละ 10 บาทเป็นเงิน1,430บาท
  4. ค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการแปรงฟัน(แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้ว)จำนวน 105 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 2,860บาท
  5. ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.20 × 2.40 เมตร ในราคาตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 432 บาท
  6. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นตามโครงการ เช่น สมุด ปากกา กระดาษA4 กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี เป็นต้น เป็นเงิน 2,328 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,000 บาท ( หนึ่งหมื่นหกพันบาทถ้วน)หมายเหตุทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ รวมงบประมาณ (บาท)16,000 บาท (หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้)
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-แนวทางการจัดกิจกรรมที่ชัดเจน -วิทยากรมีความพร้อมในการจัดกิจกรรม -การประชาสัมพันธ์ทั่วถึง - ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพร้อมในการทำกิจกรรมตามกำหนดการโครงการฯ

  • วิทยากรมีความรู้ความสามารถในให้ความรู้เข้าใจในเรื่องการดูแลสุขภาพในช่องฟันได้อย่างถูกต้อง
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความสามารถในการดูแลช่องฟันได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี

  • รายงานผลโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ครู นักเรียน ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพในช่องฟันและเข้าใจวิธีการทำความสะอาดในช่องฟันได้อย่างถูกต้อง


>