กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

อาสาสมัครสาธารณสุข ชุมชนบ้านละหาร์

1.นางกริหม๊ะ อาแวดราแม
2.นางปัทมาวดี บินกาเจ
3.น.ส. เจ๊ะรอเมาะ อาแวบือซา
4.นายมะนาเซ็๋ง เจ๊ะโกะ
5.น.ส.นูรีซา เจ๊ะอูเซ็ง

เขตพื้นที่เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 เป็นต้นมา จนสถานการณ์ถึงขั้นวิกฤตในช่วงก่อนปลายเดือนมีนาคม 2563 ที่มีผู้ป่วยวิกฤตโควิด-19 สะสมเพิ่มขึ้นจำนวนมาก แต่หลังจากที่ภาครัฐออกมาตรการที่เข้มงวด และประชาชนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ของรัฐอย่างเข้มแข็ง ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยค่อยๆ ลดจำนวนลงจนอยู่ในระดับที่ถือว่าควบคุมการระบาดได้ดี จนรัฐบาลได้ผ่อนปรนมาตรการทางกฎหมายและทางสังคมแต่เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2563 สถานการณ์โควิดในประเทศไทยทำให้หลายคนเกิดความกังวลใจอีกครั้ง หลังจากมีเคสผู้ติดเชื้อจากประเทศเมียนมาข้ามฝั่งเข้ามายังประเทศไทย ณ จังหวัดเชียงราย แล้วเกิดการแพร่เชื้อไปยังคนที่สัมผัสใกล้ชิด ส่งผลให้เคสการติดเชื้อภายในประเทศที่เป็นศูนย์มาหลายเดือนเพิ่มขึ้นมาอีกครั้ง ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทยเพิ่งเริ่มระลอกใหม่ แต่สถานการณ์โดยรวมทั่วโลกยังอยู่ในช่วงขาขึ้นและน่าเป็นกังวล มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 4-6 แสนคนมาอย่างต่อเนื่อง
จากสถานการณ์ดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านละหาร์ จึงเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ให้มีความต่อเนื่องเนื่องจากพื้นที่บูเก๊ะตามีอาณาเขตติดพรหมแดนมาเลเซีย แม้ว่าทางการจะเข้มงวดในการตรวจทั้งทางไทยและมาเลเซียก็ตาม แต่ยังมีประชาชนบางส่วนที่ยังใช้เส้นทางธรรมชาติในการลักลอบข้ามไปมาระหว่างฝั่งไทยและฝั่งมาเลเซียโดยที่ไม่มีใครรู้หรือจับได้ ซึ่งสร้างความวิตกกังวลให้คนในพื้นที่เป็นอย่างมาก ในการนี้ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านละหาร์ จึงจัดโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขึ้น เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ของบูเก๊ะตา เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ โดยการให้ อสม. เป็นแกนนำในการเฝ้าระวังในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1

 

0.00

1. เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่บูเก๊ะตา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ประชาชนในพื้นที่รู้วิธีการป้องกันโรคระบาด ร้อยละ 90
2. เพื่อให้มีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน
อย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัดความสำเร็จ :ประชาชนในพื้นที่ไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด ร้อยละ 100
3.เพื่อให้ อสม. เป็นแกนนำหลักในการเฝ้าระวังเชิงรุกในชุมชน ตัวชี้วัดร้อยละ 50 ของ อสม. สามารถปฏิบัติงานเฝ้าระวังได้อย่างครอบลุม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 02/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมติดป้ายประชาสัมพันธ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตามชุมชน 8 ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1. กิจกรรมติดป้ายประชาสัมพันธ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตามชุมชน 8 ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ เป็นเงิน 4,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 2 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2. แจกแผ่นพับเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2. แจกแผ่นพับเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าแผ่นพับรณรงค์  (จำนวน 2500 แผ่นละ 1 )            เป็นเงิน   2,500.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 2 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3.กิจกรรมเฝ้าระวังและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3.กิจกรรมเฝ้าระวังและคัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ (รองเท้าบู๊ท,ถุงมือยางใช้แล้วทิ้ง,หน้ากากอนามัย,เจลแอลกอล์ฮอลฺฯ) เป็นเงิน 4,700.-.บาท
  • ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิเป็นเงิน 8,800.-.บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 2 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้มีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน อย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมให้ความรุ้ คำแนะนำ รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน แจ้งการติดตามเฝ้าระวังฯ ทางเสียงตามสายในชุมชนเกี่ยวกับโรดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรุ้ คำแนะนำ รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน แจ้งการติดตามเฝ้าระวังฯ ทางเสียงตามสายในชุมชนเกี่ยวกับโรดติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร(10 ชั่วโมงๆละ 500 บาท) เป็นเงิน 5,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 1 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้มีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชนได้ อย่างต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทำให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)
2.ทำให้มีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน
อย่างต่อเนื่่อง


>