กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กวัยเรียน (ตาดีกา) บ้านกูตง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) บ้านกูตง

1.นายอัมรัน เด็ง 2.นางสาวลีซ้าม มะดาโอ๊ะ 3.นางสาวรอซีด๊ะ นอ 4.นางสาวฟาตีเมาะห์ โต๊ะนิ 5.นางสาวนูรไฮนา หะมะ

บ้านกูตง ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสะอาดคือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อสุขภาวะอนามัยที่ดี การที่เด็กนักเรียนมีสุขภาวะที่ดี ย่อมมีผลดีต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสติปัญญา ในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) บ้านกูตง เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ยังมีสุขภาวะของร่างกายที่ไม่ค่อยดีมากหนัก ไม่ว่าจะเป็น โรคทางผิวหนัง หนังศีรษะ และความสะอาดของทางด้านร่างกายที่มีเด็กที่เป็นโรคทางผิวหนัง เช่น เกลื้อน เมื่อมีการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น โรคชนิดนี้ก็อาจจะติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้โดยง่าย เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีของนักเรียนต่อการดูแลสุขภาวะของร่างกายตัวเอง จึงจำเป็นจะต้องมีแบบอย่างที่ดี ซึ่งได้แก่ผู้ปกครองที่ควรมีการอบรมและมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลความสะอาดของร่างกายบุตรหลานของตนเอง ดังนั้นทางศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) บ้านกูตง จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ปกครองและบุตรหลาน ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาวะอนามัยความสะอาดของร่างกาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลความสะอาดร่างกายของบุตร

รัอยละของผู้ปกครองที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลความสะอาดร่างกายของบุตร

0.00
2 2.เพื่อฝึกจิตสำนึกให้เป็นนิสัยของนักเรียนในการรักษาความสะอาดส่วนต่างๆของร่างกายตัวเอง

ร้อยละของนักเรียนมีนินัยที่ดีในการรักษาความสะอาดส่วนต่างๆของร่างกายตัวเอง

0.00
3 3.เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาวะอนามัยที่ดี

ร้อยละของนักเรียนมีสุขภาวะอนามัยที่ดี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/06/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การดำเนินงาน 1.จ้ดทำโครงการ เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.กำหนดจัดโครงการ 4.จัดอบรมให้ความรู้เด็กตาดีกา ครูผู้สอนและผู้ปกครอง 5.ประเมินผลโครงการ สรุปผลการประเมิน 6.จัดทำแผนการรายละเอียดงบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวัน 200 คน x 50 บาท x 1 มื้อ รวมเป็นเงิน 10,000 บาท 2.ค่าอาหารว่าง 200 คน x 25 บาท x 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 10,000 บาท 3.ค่าวิทยากร 600 x 6 ชั่วโมง x 4 วัน รวมเป็นเงิน 14,400 บาท 4.ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1x3 เมตร รวมเป็นเงิน 750 บาท 5.ค่าวัสดุอุปกรณ์ 200 x 50 บาท รวมเป็นเงิน 10,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45150.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการเกิดความสนใจในการดูแลความสะอาดของร่างกาย
2.นักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลความสะอาดร่างกายของตัวเองและบุตร
3.นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีการดูแลความสะอาดของร่างกายที่ดีขึ้น


>