กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ตำบลปิยามุมัง ปีงบประมาณ ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง

ตำบลปิยามุมัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม(คน)

 

20.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

 

0.00

โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทย พบมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 8,200 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 6,000 คนทั่วประเทศการทำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่องจะสามารถควบคุมการดำเนินของโรคได้ ซึ่งการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองจะสามารถค้นหาความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว ส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smearมีผลการศึกษาวิจัยทั่วโลกว่าสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ 80 ถ้าทำได้อย่างมีคุณภาพและมีความครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมดได้สูงจากผลการศึกษาในหลายประเทศแสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วยการทำ Pap Smear ให้ครอบคลุมกลุ่มสตรีเป้าหมายทั้งหมด มีความสำคัญต่อการลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่าความถี่ที่ได้รับการตรวจแต่ไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด
ผลการดำเนินงานการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในปี ๒๕๖๓ กลุ่มสตรี ๓๐-๖๐ ปี ในเขตรับผิดชอบ ๕๖๔ คนเป้าหมายร้อยละ ๒๐ (๑๑๓ คน) แต่กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง ๔๓ คน (ร้อยละ๗.๖๒) ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมต้องมีการค้นหา โดย การตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่ อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามทางรพ.สตปิยามุมัง. มีความตระหนักและเห็นถึงปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกขึ้นเพื่อลดอัตราการเกิดโรคโดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-60 ปีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  1. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
0.00 0.00
2 2. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
  1. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 20 ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
0.00
3 3. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง
  1. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 90.สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง
0.00

1. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
3. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 120
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน
    จำนวน ...150.....คน ๆ ละ 50บาท/๑มื้อเป็นเงิน ๗,000.-บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน
    จำนวน ..1๔0......คน ๆ ละ 25บาท/๑มื้อ เป็นเงิน 3,๕00-.บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 90 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม/มะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 70

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10500.00

กิจกรรมที่ 2 การจัดระบบริการแบบใหม่ (ตรวจคัดกรอง)

ชื่อกิจกรรม
การจัดระบบริการแบบใหม่ (ตรวจคัดกรอง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก - ค่าผ้าถุงที่ใช้เปลี่ยนเวลาตรวจ จำนวน 1๔0 ผืน ๆ ละ 1๒0 บาท เป็นเงิน 1๖,๘00.-บาท - ค่า speculum disposablesize M จำนวน80 ชิ้น ชิ้นละ35 บาท เป็นเงิน 2,8๐0.-บาท - ถุงมือปราศจากเชื้อ เบอร์ M จำนวน 2 กล่องๆ ละ 250 บาทเป็นเงิน500.-บาท
- แปรงไม้พาย (Ayres’s spatula) จำนวน 1 กล่องๆละ.187..บาท เป็นเงิน...187.-บาท 3. ค่าไวนิลป้ายโครงการ เป็นเงิน ๗๕0.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-สตรีกลุ่มอายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21037.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,537.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>