กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่างิ้ว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่างิ้ว

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่างิ้ว

เทศบาลตำบลท่างิ้ว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ลงวันที่ 13 กันยายน 2561 ได้กำหนดในข้อ 4 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ภายใต้ความเห็นของคณะกรรมการกองทุนมีผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่รับผิดชอบต่อกองทุนโดยตรงมากยิ่งขึ้น (เปลี่ยนแปลงจากประกาศฉบับเดิมซึ่งกำหนดให็เป็นผู้กำกับดูแล) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดการระบบธุรการ การเงิน หรือความเสียหายที่มีต่อกองทุนภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุนและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ รวมทั้งมติคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดระหว่างการดำเนินการและบริหารจัดการกองทุน และที่สำคัญอีกหนึ่งประการ คือ ต้องเป็นการดำเนินงานและบริหารจัดการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนด้วย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้สนับสนุนและกำหนดโดยสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการหรือการพัฒนาศักยภาพและคณะกรรมการหรืออนุกรรมการหรือคณะทำงานอื่นๆ ที่กรรมการกองทุนแต่งตั้งให้มีประสิทธิภาพ รวมการจัดซื้อครุภัณฑ์ที่สนับสนุนการดำเนินงานโดยตรง สำหรับค่าตอบแทนคณะกรรมการ 400 บาท/คน/ครั้ง หรือคณะอนุกรรมการ 300 บาท/คน/ครั้ง หรือคณะทำงานอื่นๆ ที่เข้าร่วมประชุมได้เดือนหนึ่งไม่เกินตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ทั้งนี้งบประมาณประเภทที่ 4 สปสช.ได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้จ่ายประเภทนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของกองทุนในรอบปีงบประมาณ นั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่างิ้วได้จัดทำ "โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลท่างิ้ว" ขึ้นเพื่อบริหารพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตำบลท่างิ้ว รวมทั้งเพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพของเทศบาลตำบลท่างิ้วได้ดำเนินการตามแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้าน ชุมชน หรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนงานหรือโครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนสามารถบริหารจัดการกองทุนได้ตามวัตถุประสงค์
  • มีการประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่อย่างน้อย 2 ครั้ง/ปี
  • ประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณา/ติดตามโครงการหรือกิจกรรมอย่างน้อย 4 ครั้ง/ปี
0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานให้กับคณะกรรมการ คณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพและผู้ที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพได้รับการประชุม/อบรม รวมถึงศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกองทุน

0.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานและเจ้าหน้าที่ประจำกองทุนฯ ให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ

คณะกรรมการบริหารกองทุนมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการกองทุนฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 90

0.00
4 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานและเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนหลักประกันสุขภาพ

กองทุนมีการใช้เงินมากกว่าร้อยละ 60

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 15

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมคณะกรรมการ อนุกรรมการ ที่ปรึกษาและผู้เข้าร่วมประชุม (พี่เลี้ยง) จำนวน 4 ครั้ง มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

- ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ที่ปรึกษาและผู้เข้าร่วมประชุม (พี่เลี้ยง) 20 คนๆละ 400 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 32,000 บาท - ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่/ลูกจ้าง อปท.ที่รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่บริหารกองทุนที่เข้าร่วมประชุม 4 คนๆละ 400 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 6,400 บาท - ค่าตอบแทนบุคคลภายนอกที่เข้าร่วมประชุม 5 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 29 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 2,900 บาท


2. ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสุนนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา (LTC) จำนวน 4 ครั้ง มีค่าใช้จ่าย ดังนี้ - ค่าตอบแทนคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพา (LTC) 10 คนๆละ 300 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 12,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 1,000 บาท


รวมเงิน 54,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
54800.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเพิ่มความรู้ให้แก่คณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเพิ่มความรู้ให้แก่คณะกรรมการกองทุน อนุกรรมการเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฝึกอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานนอกสถานที่ เพื่อพัฒนาความรู้ของคณะกรรมการกองทุนฯ จำนวน 25 คน เป็นเงิน 20,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งคณะกรรมการและอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องประชุม อบรม หรือทัศนศึกษาดูงาน

ชื่อกิจกรรม
ส่งคณะกรรมการและอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องประชุม อบรม หรือทัศนศึกษาดูงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ส่งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และผู้ที่เกี่ยวข้องการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเข้าร่วมอบรม หรือทัศนศึกษาดูงาน รวมถึงกิจกรรมการจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเพื่อเป็นค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าวิทยากร ค่าอาหารว่าง ค่าอาหารกลางวัน เป็นต้น รวมถึงค่าตอบแทนวิทยากรพี่เลี้ยงประจำกองทุนตำบล

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน เพื่อใช้ในการดำเนินการในกองทุนฯ

ชื่อกิจกรรม
ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงาน เพื่อใช้ในการดำเนินการในกองทุนฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุสำนักงาน 5,795 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5795.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 80,595.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการมีความเข้าใจในระเบียบข้อบังคับต่างๆของกองทุนฯ
2. คณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการได้เข้ารับการประชุม/อบรม รวมถึงทัศนศึกษาดูงาน เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานกองทุนฯ
3. แผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรมที่ผ่านการอนุมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
4. การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด


>