กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคลินิกลดพุง (DpAC)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

รพ.สต.บ้านนาโหนด

เขตพื้นที่่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านนาโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนอายุมากกว่า 35 ปี ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง รอบเอวเกิน (คน)

 

58.00

ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องโดยเฉพาะโรคอ้วนลงพุง และส่งผลให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสาเหตุมาจากการกินอาหารที่ มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งกินผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ และประชาชนส่วนใหญ่จะทำงานนั่งโต๊ะ เคลื่อนไหวร่างกายน้อย ไม่ค่อยมีเวลาในการออกกำลังกาย และในการลดน้ำหนักของประชาชน ยังมีบางกลุ่มที่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรับประทานอาหารโดยเฉพาะมื้อเช้า ซึ่งบางคนจะงดอาหารมื้อเช้า ซึ่งเป็นความเข้าใจ ที่ไม่ถูกต้อง จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด การคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานในประชากร 35 ขึ้นไป (ปีงบประมาณ 2561 กลุ่มเป้าหมาย 2,374 คน ได้รับการคัดกรอง 2,283 คน ปีงบประมาณ 2562 กลุ่มเป้าหมาย 1,950 คน ได้รับการคัดกรอง 1,826 คน ปีงบประมาณ 2563 กลุ่มเป้าหมาย 1,606 คน ได้รับการคัดกรอง 1,553 คน) กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 35.71, 36.15และ38.47 และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 17.12, 18.26 และ26.79 ตามลำดับและค่าดัชนีมวลกายเกิน ร้อยละ 41.74, 52.75 และ 57.46จำนวนประชากรอ้วนลงพุง จำนวน 45,50,58 คนตามลำดับ จึงจำเป็นต้องดำเนินการตามหลัก 3อ.2ส. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อ 1 ออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 วัน วันละอย่างน้อย 30 นาที อ2การรับประทานผักและผลไม้สด อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปหรือผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง อ3 อารมณ์ เพื่อผ่อนคลายความเครียดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด จึงได้จัดทำโครงการคลินิกลดพุง (DPAC) ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจดูแลสุขภาพ ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการมีน้ำหนักและรอบเอว อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ มีน้ำหนักและรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ผู้หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร และ ผู้ชาย ไม่เกิน 90 (คน)

45.00 36.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเป้าหมายมีรอบเอวและค่าดัชนีมวลกายเกิน 45

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การจัดทำประวัติสุขภาพสมาชิกโครงการ

ชื่อกิจกรรม
การจัดทำประวัติสุขภาพสมาชิกโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ดำเนินการจัดทำประวัติสุขภาพสมาชิกโครงการ โดยการซักประวัติ ตรวจสุขภาพ และบันทึกข้อมูลในสมุดประวัติสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงคือ
1.BMI 30 ขึ้นไป
2.รอบเอวในผู้หญิงมากกว่า 80 ซม. ผู้ชายมากกว่า 90 ซม.
3.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือ ความดันโลหิตสูงรายใหม่
4.มีภาวะ Pre DM ( 100 – 125 mg%) 5.มีภาวะ Pre HT (BPมากกว่า 120/80 – 139/99) 6 ผู้ป่วย NCD ที่ควบคุมโรคไม่ได้โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าสมุดบันทึกการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพจำนวน 45 เล่มๆ ละ 20บาท เป็นเงิน 800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯจำนวน45คน ทุกคนมีสมุดบันทึกสุขภาพประจำตัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

กิจกรรมที่ 2 การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ อบรมให้ความรู้หลัก 3อ.2ส.

ชื่อกิจกรรม
การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ อบรมให้ความรู้หลัก 3อ.2ส.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 3อ 2ส. โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรมสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 45 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
2.ค่าอาหารกลางวันในการอบรมสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 45 คนๆ ละ1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
3.ค่าสมนาคุณวิทยากร เรื่อง หลัก 3อ.2ส. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 45 คนได้รับการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผลลัพธ์
สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ มีภาวะสุขภาพดีขึ้น ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5850.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมการติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

นัดติดตามผล เดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 3 เดือน (ไม่เกิน 6 สัปดาห์/ครั้ง) การประเมินโดยกราฟแสดงน้ำหนัก การลดน้ำหนัก-รอบเอว กับผลลัพธ์ตามเป้าหมายและประเมินผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม มีน้ำหนักและรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 36 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 6,650.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ฯ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม มีน้ำหนักและรอบเอวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 36 คน


>