กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

กลุ่มป้องกันควบคุมโรคตำบลบ้านควน

1.นางฮอดีย๊ะ ตะหวัน เบอร์ติดต่อ 090-7122360
2.นางยามีล๊ะ ยะโกบ เบอร์ติดต่อ 083-1838783
3.นายสุทัศน์ หาบยูโซ๊ะ เบอร์ติดต่อ 080-05477120
4.นางภัทรวรรณ ยะโกบ เบอร์ติดต่อ 089-7394147
5.นางสุริยะ สหับดิน เบอร์ติดต่อ 084-6916324
ที่ปรึกษา
1.นางสุภา นวลดุก ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข เบอร์ติดต่อ 089-4088530
2.นางสุกัญญา ลัสมาน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ เบอร์ติดต่อ 086-0810676
3. นายอุหมาด ล่าดี้ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เบอร์ติดต่อ 081-5421514
4.นางสาวเสาวนา หลงจิ ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ เบอรร์ติดต่อ 084-8595089
5.นางสาวนัสนา เต๊ะหมัน ตำแหน่ง ผู้ช่วยนักวิชาการสาธารณสุข เบอร์ติดต่อ 089-4623581

พื้นที่ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อันเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ 2563 ซึ่งขณะนี้พบการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอย่างรวดเร็วและเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบตามมติการประชุมของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COCID-19) ที่ได้ให้ความเห็นชอบให้ดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ข้อ 10 (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้ทันต่อสถานการณ์ได้
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการหน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ร้านค้าชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ เขตในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน (COVID-19) คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ ตำบลบ้านควน เพื่อรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา19 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน

ร้อยละ 80 ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านควน มีความรู้ เกี่ยวกับการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

50.00 80.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ร้อยละ 100 มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

50.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 11,102
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมคณะอำนวยการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลบ้านควน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมคณะอำนวยการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลบ้านควน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะอำนวยการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตำบลบ้านควน เพื่อวางแผนมาตรการกลวิธีในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อและโรคที่เฝ้าระวังในพื้นที่ สนับสนุนแผนงาน กิจกรรมตามโครงการ เน้นการป้องกันควบคุมโรคมิให้แพร่ระบาดกระจายในวงกว้าง ดำเนินการเฝ้าระวังทั้งเชิงรุกและเชิงรับ
อาหารว่างผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 60 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ศูนย์อำนวยการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแผนงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์ อบรม ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านควนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ อบรม ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านควนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายประชาสัมพันธ์ให้ความรู้วิธีการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดำเนินการผลิตสื่อสถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆอบรม ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านควน เพื่อใช้ในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19)
1.1 หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ จำนวน 100 กล่องๆละ 125.-บาท เป็นเงิน 12,500.-บาท
1.2 เจลล้างมือแอลกอฮอล์ จำนวน 50 ขวดๆละ 100.- บาท เป็นเงิน 5,000.- บาท
1.3 เครื่องวัดอุณหภูมิ เทอร์โมมิเตอร์แบบไม่ต้องสัมผัส จำนวน 12 เครื่องๆละ 1,650.- บาท เป็นเงิน 19,800.- บาท
1.4 ที่กดเจลล้างมือแบบเท้าเหยียบ จำนวน 14 อันๆละ 500.-บาท เป็นเงิน 7,000.- บาท
1.5 ค่าเช่าอุปกรณ์เครื่องเสียงในการประชาสัมพันธ์ จำนวน 5 วันๆละ 1,000.- บาท เป็นเงิน 5,000.-บาท
1.6 ป้ายไวนิล สื่อประชาสัมพันธ์ แผ่นผับรณรงค์ สติ๊กเกอร์ เป็นเงิน 5,000.- บาท
1.7 สปอตให้ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเงิน 1,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 26 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
55800.00

กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) โดยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)ตามแนวทางในการสอบสวนโรคและควบคุมโรค ของ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เช่น
2.2 หน้ากาก N95 จำนวน 20 ชิ้นๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
2.3 ชุดน้ำยาทำความสะอาด จำนวน 12 ขวดๆละ 400 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
2.4 โซเดียม ไฮโปคลอไรท์ จำนวน 24 ขวดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
2.5 รองเท้าบู๊ธ จำนวน 10 คู่ๆละ 350 บาท เป็นเงิน 3,500 บาท
2.6 เสื้อกันฝน จำนวน 20 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
2.7 ถังพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อฯลฯ แบบแบตเตอรี่ จำนวน 3 ถังๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
2.8 ถุงมือทางการแพทย์ จำนวน 20 กล่องๆละ 225 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท
2.9 Face Shield จำนวน 20 ชิ้น ชิ้นละ 35 บาท เป็นเงิน 700 บาท
2.10 ค่าจัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์สถานที่กักตัวตามรายละเอียดแนบท้ายหมายเลข 1 เป็นเงิน 19,774 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีวัสดุอุปกรณ์เพียงพอสำหรับการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
40474.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 97,774.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่าย

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้อย่างเพียงพอ ร้อยละ 80
2.การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ
3.มีทรัพยากรเพียงพอในการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคร้อยละ 100


>