กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านจันนา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา

หมู่ 7และหมู่ 8ตำบลชะมวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง ร้อยละ 90

 

30.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้สภาพปัญหาทางสุขภาพเปลี่ยนไปด้วย ปัจจุบันแนวโน้มปัญหาสุขภาพที่เพิ่มสูงขึ้นจากสาเหตุโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดโรคเหล่านี้เป็นปัญหาที่สำคัญระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นสถานการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานของจังหวัดพัทลุงพบว่า อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงย้อนหลัง ปี พ.ศ.๒๕61 อัตราป่วย ๑,0691.67 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.๒๕62 อัตราป่วย ๑,0981.60 ต่อแสนประชากร และปี พ.ศ.๒๕63 อัตราป่วย 11405.83 ต่อแสนประชากร สำหรับอัตราป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง ปี2561 อัตราป่วย1207.76 ต่อแสนประชากร 2562 อัตราป่วย1077.94 ต่อแสนประชากร ปี2563 อัตราป่วย964.25 ต่อแสนประชากร และสถิติอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ปี พ.ศ.๒๕61 อัตราป่วย 4469.41 ต่อแสนประชากร ปี ๒๕62 อัตราป่วย 4635.56 ต่อแสนประชากร ปี ๒๕63 อัตราป่วย 4883.75 ต่อแสนประชากร และอัตราป่วยรายใหม่โรคเบาหวาน 2561 อัตราป่วย 515.76 ต่อแสนประชากรปี2562 อัตราป่วย 488.46 ต่อแสนประชากร ปี2563459.17ต่อแสนประชากรตามลำดับ
อำเภอควนขนุน อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงย้อนหลัง ปี พ.ศ.๒๕61 อัตราป่วย 12775.76 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.๒๕62 อัตราป่วย 13238.78 ต่อแสนประชากร และปี พ.ศ.๒๕63 อัตราป่วย 13528.88 ต่อแสนประชากรสำหรับอัตราป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง ปี2561 อัตราป่วน1062.18 ต่อแสนประชากร ปี2562 อัตราป่วย1152.64 ต่อแสนประชากรปี2563 อัตราป่วย 1013.69 ต่อแสนประชากร และสถิติอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน ปี พ.ศ.๒๕61 คิดเป็นอัตราป่วย 5486.15 ต่อแสนประชากร ปี ๒๕62 อัตราป่วย 582013ต่อแสนประชากร ปี ๒๕63 คิดเป็นอัตราป่วย 5841.50 ต่อแสนประชากรสำหรับอัตราป่วยรายใหม่โรคเบาหวาน ปี2561 อัตราป่วย 498.53 ต่อแสนประชากรปี2562 อัตราป่วย536 ต่อแสนประชากรปี2563 อัตราป่วย 370.34ต่อแสนประชากร ตามลำดับ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา มีจำนวนสถิติและอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงย้อนหลัง ปี พ.ศ.๒๕๖1 มีจำนวนผู้ป่วย .286 คน คิดเป็นอัตราป่วย 9,216.88 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.2562 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 305 คนคิดเป็นอัตรา 9,713.37 ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.๒๕๖2 จำนวนผู้ป่วย 326คน อัตราป่วย 11214 ต่อแสนประชากร จำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานย้อนหลังปี พ.ศ.๒๕๖1 มีจำนวนผู้ป่วย 134. คน คิดเป็นอัตราป่วย 4,318. ต่อแสนประชากรปี พ.ศ.2562 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 153คน คิดเป็นอัตรา 4,872.61.ต่อแสนประชากร ปี พ.ศ.๒๕๖3 มีจำนวนผู้ป่วย 164 อัตราป่วย 5641 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ จากสถิติดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามีผู้ป่วยแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วยแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนาและเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลดอนทรายและกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลชะมวงดำเนินการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพป้องกันควบคุมโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖4

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1เพื่อคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป

คัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไปอย่างน้อย ร้อยละ 90

30.00 60.00
2 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ.๒ส. ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคจากการคัดกรอง

กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคจากการคัดกรองได้รับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓อ.๒ส. อย่างน้อย ร้อยละ 50

20.00 10.00
3 ๓.เพื่อติดตามกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX ≥ ๑๐๐ mg/dl ) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  1. กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX ≥ ๑๐๐ mg/dl ) มารับการเจาะ FBS หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 50
20.00 10.00
4 ๔.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ รพ.สต.ได้รับบริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ

ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่ รพ.สต.ได้รับบริการตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทางปฏิบัติ ร้อยละ 95

20.00 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 388
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม คัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 388 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม คัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชากรกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 388 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็มเจาะ จำนวน 4 กล่อง  (กล่องละ 2 ขวดๆละ 50 ชิ้น) ราคากล่องละ 960 บาท  เป็นเงิน   3,840  บาท -.ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบบันทึกการตรวจความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  จำนวน  400 แผ่น ๆ ละ 1  บาท เป็นเงินจำนวน 400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้รับบริการ ตรวจคัดกรอง มากกว่า ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4240.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมย่อย จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและ 3อ.2ส.ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรค จำนวน 2 หมู่บ้าน ๆละ จำนวน 20 คน รวม 40 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อย จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและ 3อ.2ส.ในกลุ่มเสี่ยงเป็นโรค จำนวน 2 หมู่บ้าน ๆละ จำนวน 20 คน รวม 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้ ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมย่อย กิจกรรมเจาะ FBSกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน (ค่า DTX ≥ ๑๐๐ mg/dl )หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อย กิจกรรมเจาะ FBSกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน (ค่า DTX ≥ ๑๐๐ mg/dl )หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้เจาะน้ำตาลในเลือด มากกว่า ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมย่อย กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทาง ผู้ป่วยเบาหวานปฏิบัติ ผู้ป่วยเบาหวาน 40 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมย่อย กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพเท้าตามแนวทาง ผู้ป่วยเบาหวานปฏิบัติ ผู้ป่วยเบาหวาน 40 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจสุขภาพเท้า  ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
๒. ลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยง
3. กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคจากการคัดกรองได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก ๓ อ.๒ ส.
๔. กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน(ค่า DTX ≥ ๑๐๐ mg/dl ) ได้รับการเจาะ FBSซ้ำเพื่อติดตามผล
๕. ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความเสี่ยงสงสัยเป็นโรคลดลง
๖. ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการตรวจเท้าตามเกณฑ์มาตรฐานได้รับการส่งต่อในรายที่พบความผิดปกติ


>