กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชาวตำบลทุ่งใหญ่ร่วมใจป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวตำบลทุ่งใหญ่ร่วมใจป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกและชิคุนกุนยา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

รพ.สต.ทุ่งใหญ่

ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

 

325.00

โรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะ ประกอบด้วย โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้ซิกาซึ่งโรคติดต่อนำโดยแมลงนี้ นับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่า ปัญหาโรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะ โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
ในปี พ.ศ.2563 อำเภอหาดใหญ่ พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 205ราย (ณ 19 ตุลาคม 2563)คิดเป็นอัตราป่วย 51.59 ต่อประชากรแสนคน ยังพบรายงานผู้เสียชีวิต 1 รายคิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.49 (รายงาน 506สำนักระบาดวิทยา/ สสจ.สงขลา) ตำบลทุ่งใหญ่ ในปี 2563 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 4 ราย ซึ่งการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะ ที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะ เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะ จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการปัจจุบันในตำบลทุ่งใหญ่ พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยา ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อป้องกันโรคและควบคคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงจากค่ามัธฐานร้อยละ 10

80.00 30.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ที่เป็นพาหะนำโรคติดต่อทั้ง 3 โรค

ค่าดัชนีลูกน้ำ CI และ HI ลดลง

50.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
1.จัดตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดตั้งคณะทำงานด้านการป้องกันและควบคุมโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มีนาคม 2564 ถึง 25 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้คณะทำงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.ประชุมคณะทำงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
2.ประชุมคณะทำงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2564 ถึง 30 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานรับรู้สถานการณ์และแนวทางการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงาน

ชื่อกิจกรรม
3.ประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์โครงการ และประสานงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 เมษายน 2564 ถึง 9 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนรับรู้ข่าวสาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 4.อบรมให้ความรู้โรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะในกลุ่มตัวแทนครัวเรือนและนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
4.อบรมให้ความรู้โรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะในกลุ่มตัวแทนครัวเรือนและนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้โรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะในกลุ่มตัวแทนครัวเรือนและนักเรียน อบรมให้ความรู้โรคติดต่อนำโดยแมลงที่มียุงลายเป็นพาหะ
- ค่าอาหารกลางวัน 60 คนx60 บ. = 3,600 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 60 คนx30 บ.x2มื้อ = 3,600 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากรภาครัฐ 6 ชั่วโมงx600บ.= 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤษภาคม 2564 ถึง 13 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ด้านโรคติดต่อและด่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเป็น0

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10800.00

กิจกรรมที่ 5 5.สุ่มประเมินลูกน้ำยุงลาย กลุ่มเป้าหมาย บ้านเรือน

ชื่อกิจกรรม
5.สุ่มประเมินลูกน้ำยุงลาย กลุ่มเป้าหมาย บ้านเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลาย กลุ่มเป้าหมาย บ้านเรือน เดือนละ 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค่าลูกน้ำยุงลายลดลงจากปีที่ผ่านมา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 6.กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและ รณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
6.กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและ รณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและ รณรงค์การป้องกันโรคไข้เลือดออก - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 150 คนx30 บ. = 4,500 บาท - ค่าป้ายไวนิลรณรงค์ 450บ.x6แผ่น =2,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สภาพแวดล้อมบริเวณบ้านเรือนสะอาด ปราศจากภาชนะที่มีน้ำขัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 7 7.สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
7.สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประกวดบ้านต้นแบบปราศจากลูกน้ำยุงลาย โดยให้เกียรติบัตรพร้อมกรอบ ติดตามผลการดำเนินงาน 1.แบบสอบถามก่อน-หลังอบรม 2.แบบสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลาย 3.สถิติผู้ป่วยในพื้นที่ก่อน-หลังทำกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2564 ถึง 20 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ค่าลูกน้ำยุงลายลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และโรคไข้ซิกา


>